นักดาราศาสตร์ไทย ถ่ายดาวหางแพนสตาร์ ได้ครั้งแรก

นักดาราศาสตร์ไทยถ่ายดาวหางแพนสตาร์ได้ (ไอเอ็นเอ็น)
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

          นักดาราศาสตร์ชาวไทย สามารถบันทึกภาพดาวหาง แพนสตาร์ ได้แล้ว เมื่อ เวลา 18.57 น. เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ที่ดอยปุย จ.เชียงใหม่ เป็นภาพดาวหางดวงแรกโดยคนไทย
      
          วันนี้ (11 มีนาคม) นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ที่ปรึกษาสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า นักดาราศาสตร์ชาวไทย สามารถบันทึกภาพดาวหาง "แพนสตาร์" ได้แล้ว ผู้บันทึกภาพโดย นายรณภพ ตันวุฒิบัณฑิต ทีมงานสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ บันทึกเมื่อเวลา 18.57 น. วันที่ 9 มีนาคม 2556 สถานที่ ดอยปุย จ.เชียงใหม่ เป็นภาพดาวหางดวงแรกโดยคนไทย คือ C/2011 L4 PANSTARRS ค้นพบเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2011 ค้นพบโดยการถ่ายภาพด้วยกล้องขนาด 1.8 เมตร Panstarrs 1 เป็นกล้องแบบ Ritchey-chretien

          "การสังเกตดาวหางดวงนี้ ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ถึง 15 มีนาคม สามารถเห็นได้ด้วยกล้องสองตา โดยอยู่ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศเหนือ 13 องศา สูงจากขอบฟ้า 13 องศา โดยรวมความสว่างของดาวหางประมาณ 2.8 พร้อมกันนี้ นักดาราศาสตร์ กำลังเร่งติดตามบันทึกภาพ / นำเสนอความเคลื่อนไหวดาวหางดวงที่ 2 ที่เหลืออีกดวงหนึ่ง คือ C/2012 F6 Lemmon ค้นพบเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2012 ค้นพบโดยทีมงาน Lemmon survey ที่ยอดเขา Lemmon in the catalina Mountains Nortn of Tucson Arizona USA สามารถเริ่มสังเกตได้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถึงวันที่ 15 มีนาคม เห็นได้ด้วยกล้องสองตาบนท้องฟ้า ช่วงหัวค่ำ ขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มตกดินเช่นกัน" นายวรวิทย์ กล่าว 

          ที่ปรึกษาสมาคมดาราศาสตร์ไทย ยังกล่าวอีกว่า หลังจากวันที่ 15 มีนาคม 2556 แล้ว จะไม่สามารถสังเกตดาวหางทั้ง 2 ดวงนี้ได้ เนื่องจากดาวหางอยู่ระนาบเดียวกับดวงอาทิตย์ จะสังเกตได้อีกครั้งหลังวันที่ 15 เมษายนเป็นต้นไป ทางท้องฟ้าแต่เป็นช่วงเช้ามืด ความสว่างของดาวหางจะลดลง ต้องใช้กล้องดูดาวเท่านั้นจึงจะสังเกตดาวหางได้ เนื่องจากดาวหางทั้ง 2 ดวง อยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก

 















 


Credit: http://hilight.kapook.com/view/83137
11 มี.ค. 56 เวลา 12:27 627 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...