ใครที่ชอบทานส้มตำคง คุ้นตาดีกับภาพแม่ค้าขายส้มตำปรุงรสด้วยน้ำมะนาวสีเขียว ใสๆ ที่บรรจุอยู่ในขวดแก้ว (อันที่จริงก็ไม่ถึงกับทุกร้านหรอกนะครับ) น้ำมะนาวที่เห็นนั้นเรียกว่าน้ำมะนาวเทียมหรือเกร็ดมะนาว ให้มีรสเปรี้ยวแหลม ราคาถูก อีกทั้งยังมีสีสันคล้ายคลึงกันกับน้ำมะนาวจริงเกือบทุกประการ
สิ่งที่ต้องระวังสำหรับผู้ที่ทานน้ำมะนาวเทียมเป็นประจำก็คือ เครื่องปรุงรสดังกล่าวผลิตมาจากกรด “ซิตริก” ซึ่งถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มีความบริสุทธิ์น้อยและมีสารปนเปื้อนที่สำคัญสามารถย่อยสลายสิ่งต่างๆได้ ไม่เว้นแม้แต่อวัยวะภายในระบบทางเดินอาหารของผู้บริโภค ผู้ที่ชื่นชอบอาหารรสแซบทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นต้มยำ ส้มตำ หรือแม้แต่น้ำหวานหรือไอศกรีมรสมะนาวต้องคอยสังเกตวัตถุดิบที่พ่อค้า – แม่ค้าใช้ดูให้ดี
นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างส่วนหนึ่งของอาหารที่มีสารปนเปื้อนในความเป็นจริงแล้ว อาหารต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม และมุ่งหวังผลประโยชน์การค้าเป็น สำคัญล้วนมีสารพิษชนิดใดชนิดหนึ่งที่เจือปนอยู่ทั้งนั้น นับเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างยิ่งของมนุษย์ยุคปัจจุบันที่ไม่อาจสืบทราบ ที่มา ตลอดจนเส้นทางการเดินทางของอาหารที่ตนทานได้
หนทางป้องก้น จึงควรที่จะหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อน หรือใช้วิธีการบริโภคอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน หรือใช้วิธีการรับประทานอาหารเหล่านี้หมุนเนียนสับเปลี่ยนทานอาหารให้ได้ หลากหลายประเภทโดยไม่ซ้ำหน้ากันก็จะช่วยลดความเสี่ยงสะสมในการรับและสะสมสารพิษภายในร่างกายลงได้
ส่วนการรณรงค์ให้ผู้ประกอบการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีนั้น เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลายาวนาน