"กาแฟขี้ชะมด" หรือ Kopi Luwak โคปิ ลูแว็ค เป็นกาแฟโรบัสต้าชนิดหนึ่ง และเป็นกาแฟแพงที่สุดในโลก เนื่องจากขบวนการผลิตอันยุ่งยาก แปลกประหลาด มีออกสู่ต้องตลาดประมาณปีละ 500 ปอนด์ต่อปี ทำให้มันมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 41,000 บาท และสามารถผลิตได้เพียงไม่กี่แห่งบนโลกนี้
ในศตวรรษที่ 18 เมื่อชาวดัทช์ยึดเกาะสุมาตรา และเกาะชวา เป็นอาณานิคม เรียกว่า Dutch East Indies พวกเขาได้ยึดเรือกสวนไร่นาเพื่อทำการเกษตรกรรมบนเกาะ ในช่วงราวปี ค.ศ. 1830-1870 หนึ่งในการ เกษตรบนเกาะก็คือไร่กาแฟ ซึ่งชาวดัทช์ได้ห้ามชาวนาและชาวพื้นเมืองเด็ดผลกาแฟสุกจากต้นไปใช้เอง แต่ชาวพื้นเมืองก็มีความต้องการที่จะดื่มกาแฟสด จึงได้พยายามหาวิธีลักลอบเด็ดผลกาแฟ
(ที่มา : coffeedd.com)
จนกระทั่งต่อมา ชาวพื้นเมืองพบว่าสัตว์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ลูวะ" กินผลกาแฟและถ่ายมูลออกมาเป็นเมล็ดกาแฟเต็มเมล็ดโดยไม่ได้ย่อยสลาย พวกเขาจึงเก็บมูลเหล่านั้น ทำความสะอาด คั่ว และบดเพื่อนำมาทำเป็นกาแฟ และพบว่ามีรสชาติแปลกใหม่ ไม่มีความขม จึงเป็นที่นิยมในหมู่ชาวพื้นเมืองอย่างมาก ต่อมาชื่อเสียงของกาแฟชนิดนี้ก็ได้แพร่กระจายไปจนกระทั่งชาวดัทช์เองเสนอให้ราคาแก่ผู้ที่เก็บขี้ชะมดได้สูงมาก นั่นเป็นที่มาของกาแฟขี้ชะมด จะเห็นว่าด้วยความหายากและการผลิตที่ยากลำบาก "กาแฟขี้ชะมด" จึงมีราคาแพงมาก แม้แต่ในสมัยยุคล่าอาณานิคม และในปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งประเทศที่ผลิตได้ก็มีดังต่อไปนี้
ประเทศอินโดนีเซีย ที่เกาะสุมาตรา (Sumatra) , เกาะจาวา ( Java ) เกาะสุลาเวสี ( Sulawesi )
ประเทศฟิลิปปินส์ ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า Kape Alamid )
ประเทศทิมอร์ ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า kafé-laku )
ประเทศเวียดนาม ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า weasel coffee )
ขบวนการผลิต โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak )
1. ปลูกกาแฟในที่ที่มีสัตว์ที่เรียกว่า ชะมดสายพันธ์เอเซีย (Asia Palm Civet)แต่ชาวพื้นเมืองจะเรียกชะมด ชนิดนี้ว่า "ลูแว็ค"
2. เม็ดกาแฟสุกชะมดมากิน เม็ดกาแฟที่สุก
3. เมื่อชะมดกินเม็ดกาแฟเข้าไป กรดและเอนไซม์ในกระเพาะอาหารของชะมดทำปฏิกิริยาทางเคมี คล้ายกับการหมัก(Fermentation)
4. รอชะมดถ่ายมูลออกมา แล้วตามเก็บ แต่สามารถรวบรวมได้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากชะมดมีนิสัยขับถ่ายในสถานที่เดิมๆ เสมอ
5. นำมูลที่ได้มาเลือกเฉพาะเม็ดกาแฟ
6. นำเม็ดกาแฟที่ได้ไปตากให้แห้ง
7. นำเม็ดกาแฟที่ตากแห้งดีแล้วมาคั่วจนแห้งสนิด เป็นอันจบขบวนการผลิต โคปิ ลูแว็ค
แมสสิโม มาร์โคเน ยังค้นพบว่า กระบวนการย่อยอาหารของชะมด ต้องผ่านแบคทีเรียและ เอนไซม์ในท้องของชะมด เป็นกรรมวิธีเดียวกับการหมักกาแฟแบบหนึ่งที่เรียกว่า "การหมักเปียก" และยังใช้แบคทีเรียชนิดเดียวกันด้วย คือ แบคทีเรียแล็กติกเอซิด มาร์โคเนมั่นใจว่าการหมักกาแฟเปียกน่าจะให้ผลใกล้เคียงกับกาแฟที่ผ่านการย่อยในท้องของชะมดแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองความพยายามเลียนแบบ โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak )
แมสสิโม มาร์โคเน นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา ใช้เวลาสืบเสาะอยู่นานกว่าจะพบว่า ในป่าแห่งหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย มีชะมดกัดกินกาแฟ แต่จากการทดสอบรสชาติก็ยังด้อยกว่าของอินโดนิเซีย เนื่องจากเป็นชะมดต่างพันธุ์กัน
ทำไมกาแฟ โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak ) จึงอร่อย ??
1. ขบวนการย่อยอาหารของชะมด ทำให้โปรตีนในเมล็ดกาแฟแตกตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก เวลานำเมล็ดกาแฟชนิดนี้ไปคั่วบดจะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ
2. ขบวนการย่อยอาหารของชะมด ทำให้โปรตีนบางชนิดในเม็ดกาแฟ ถูกสกัดออกเมื่อนำไปคั่วแล้ว กาแฟจะมีรสชาติขมน้อยลงนิดหน่อย
3. มันผลิตจากอึของชะมด
แต่สำหรับใครที่ชื่นชอบกาแฟ แล้วอยากลิ้มลองรสชาติของเจ้ากาแฟขี้ชะมด เจนัวร์ ขอกระซิบว่า ..เมืองไทยมีขายแล้วนะคร้า.. ที่ร้าน กาแฟดอยช้าง ถึงแม้ราคาค่อนข้างจะสูงสักนิด ขอบอกว่ารสชาติคุ้มค่ากับราคามาก ๆ เจนัวร์ คอนเฟิร์ม!!
(ที่ม