ย้อนรอย "300" : ประวัติศาสตร์ชาตินักรบ

 

ประมาณปีพ.ศ.63 (480ปีก่อนค.ศ.) กองทัพเปอร์เซียของกษัตริย์เซอร์ซิสที่1 ได้นำกองทัพขนาดมหาศาลจำนวน500,000คน (ทัพบก250,000 ทัพเรือ250,000)เข้าตีดินแดนกรีกทางเขตมาซีโดเนีย เพื่อเป็นการล้างแค้นแทนพระบิดาของตน(กษัตริย์ดาริอุส) ที่เคยพ่ายแพ้สงครามแก่พันธมิตรแห่งกรีกในสงครามเปอร์เซียครั้งแรก(พ่ายแพ้การยุทธที่มาราธอน) และเป็นการเปิดฉากสงครามเปอร์เซียครั้งที่ 2 

ด้วยความเข้มแข็งของทัพเปอร์เซียและแผนของแม่ทัพกรีกที่จะถ่วงเวลาเพื่อรวบรวมกำลัง กรีกจึงต้องยอมเสียเมืองเล็กเมืองน้อยให้ฝ่ายเปอร์เซียยึดไล่มาเรื่อยจนทัพเปอร์เซียมาถึงบริเวณช่องเขาแห่งหนึ่งคือ "เธอร์โมไพลาย"(Thermopylae) ซึ่งเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนจะถึงนครเอเธนส์ ช่องเขานี้เองจะกลายเป็นสมรภูมิที่นองเลือดที่สุดแห่งหนึ่งในสงครามครั้งนั้น 


ด้วยสภาพภูมิประเทศของคาบสมุทรกรีก นี่คือที่ที่กองทัพผู้รุกรานจะต้องเดินทัพผ่าน เทอร์โมพิลลาย คือ ยุทธศาสตร์ ที่สำคัญมากสำหรับกองทัพเปอร์เซียที่จะต้องผ่านไปให้ได้ เทอร์โมพิลลาย ในภาษากรีกแปลว่า ประตูร้อน (ภาพจำลองกราฟิก ของช่องเขาเทอร์โมพิลลาย)
ชาวกรีกส่งทหาร7000นาย ไปป้องกันพื้นที่ยุทธศาสตร์นี้ทันที
พร้อมกับ ทหารสปาทานอีก 300 นาย
(ภาพแสดงการบุกของทัพเปอร์เซีย)



 

ตอนนี้ทัพเปอร์เซียต้องมาเจอกับกองกำลังผสมของทหารเอเธนส์-สปาร์ตา-นครพันธมิตร จำนวน7,000นายซึ่งนำมาโดยกษัตริย์ "เลโอนิดาส" แห่งสปาร์ตาผู้เจนศึก แต่จำนวนทหารสปาร์ตาที่เชี่ยวชาญสงครามนั้นมีจำนวนแค่น้อยนิด เพราะว่าเวลานั้นเป็นช่วงเทศกาล"คาร์เนี่ยน"ที่ชาวสปาร์ตาเขาถือกันว่าไม่ควรออกทำศึก ทหารสปาร์ตาที่มาจึงเป็นกองกำลังเล็กๆ ของเลโอนิดาสที่คัดเลือกมานั่นเอง

(เทศกาล"คาร์เนี่ยน"จัดขึ้นในสปาร์ตายุคโบราณเพื่อบูชาเทพเจ้าอะพอลโล่ โดยเมื่อถึงเวลาชาวสปาร์ตาจะเก็บตัวและจัดงานฉลองอยู่ในบ้านเมืองตนเองเท่านั้น และห้ามทหารออกรบรึเข้าร่วมศึกสงครามใดๆ ทั้งสิ้น) 


เมื่อกว่า2500ปีมาแล้ว กรีกไม่ได้รวมเป็นอาณาจักร แต่เป็นรัฐอิสระจำนวนมาก เช่น เอเธนส์ โครินธ์ และสปาทาซึ่งต่างก็มีกฎหมายและระบบการปกครองเป็นของตนเอง 
ชาวกรีกอยู่ภายใต้ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งมีอาณาเขตตั้งแต่ ตรุกี อียิปต์ตอนเหนือ 

แถมเกร็ดนิดหน่อยสมัยนั้นกรีกมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีนครรัฐหลายแห่งมารวมตัวกัน ซึ่งนครเอเธนส์กะนครสปาร์ตานี้จะเป็นคู่กัดกันตลอด เพราะเอเธนส์เน้นการปกครองประชาธิปไตยกับการพัฒนาวัฒนธรรมมีกองทัพเรือที่แข็งแกร่งสุดส่วนสปาร์ตาเน้นด้านเผด็จการทหารมีกองทัพบกที่แกร่งสุด 2 นครนี้จึงต่างแย่งกันจะเป็นผู้นำของกรีก 

รวมถึงจากการที่สปาร์ตาทอดทิ้งเอเธนส์ในสงครามเปอร์เซียครั้งแรก (ย้อนกับไปอ่านด้านบน) เมื่อพลนำสารเอเธนส์วิ่งทรหดจากหาดมาราธอนเพื่อไปขอความช่วยเหลือจากกองทัพสปาร์ตาจนเป็นตำนานอันลือลั่น (ตำนานการวิ่งมาราธอน) แต่สปาร์ตาไม่ส่งกำลังมาช่วยเพราะอ้างว่าอาณาจักรของตนกำลังมีเทศกาล"คาร์เนี่ยน"อยู่ และเหตุการณ์ดันพลิกผันเมื่อเอเธนส์สามารถเอาชนะเปอร์เซียตอนนั้นได้ด้วยกำลังตนเอง และได้รับการยกย่องจากนครรัฐต่างๆ ของกรีกให้เป็นผู้นำ นครสปาร์ตาซึ่งอยากเป็นใหญ่จึงเริ่มมีอคติกับเอเธนส์มากขึ้น

 


480ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์เซอร์ซิส เดินทางข้ามเทลปอน เข้าสู่ประเทศกรีกทางตอนเหนือ
โดยมีทัพเรือของพระองค์เลียบมาตามชายฝั่ง ตีหัวเมืองแตกมาตลอดเส้นทาง
เซอร์ซิสเป็นกษัตริย์ที่ดุร้าย พระองค์ไม่ทรงหยุดจนกว่าจะได้สิ่งที่พระองค์ทรงปรารถนาเอาไว้ พระองค์เดินหน้าต่อไป แต่เป้าหมายของพระองค์ คือเอเธนส์ 

ชาวกรีกต้องต้านทานอย่างสุดฤทธิ์ ต่อการศึกที่จะเกิดขึ้น ณ เทอร์โมพิลลาย มิฉะนั้นระองค์จะทรง ยาตราทัพเข้าสู่เอเธนส์ได้อย่างง่ายดาย
ภาพกษัตริย์เลโอนิดาส"คนกลาง"กับทหารสปาร์ตาที่ช่องเขาเธอร์โมไพลาย

 

 

 


สภาพสังคมของชาวกรีก กับสปาทา ก็แตกต่างกัน คือชาวกรีกจะเป็นสังคมแบบเปิด ส่วนสปาทันจะ เป็นสังคมแบบปิด 

เพราะว่าพวกสปาทันเกิดมาเพื่อเป็นทหารเพียงอย่างเดียว พวกเขาได้รับการฝึกอบรมให้เป็นทหาร ตั้งแต่อายุได้7ปี(ประถม2เอง)กองทัพคือชีวิตจิตใจ
แม้จะแต่งงานแล้วก็ตามพวกเขาก็ยังคงอาศัยอยู่ในค่ายทหาร... พวกเขาทำอาชีพอื่นไม่เป็นเช่น การค้า ธุรกิจ ส่วนงานอื่นๆ ก็ล้วนทำด้วยพวกทาส



กลับมาที่เทอโมไพลาย กษัตริย์เลโอนิดาสคะเนจากชัยภูมิแล้วจึงให้วางกำลังทหารส่วนหนึ่งไว้บนที่สูงและบริเวณปากช่องเขา พอทหารเปอร์เซียเดินทัพเข้ามาทางหุบเขาที่เป็นบริเวณแคบอยู่แล้วก็ถูกกำลังของเลโอนิดาสซุ่มโจมตีจนต้องสูญเสียไพร่พลไปจำนวนมาก 

สองวันแรกของการรบนั้นสถาณการณ์อยู่ข้างฝ่ายกรีก ตอนแรกฝ่ายเปอร์เซียส่งทหารชาวเมเดส(Medes)เข้าเป็นหน่วยแนวหน้า แต่เมื่อชาวเมเดสอันเหี้ยมหาญต้องมาเจอกับยุทธวิธีแบบ"ฟาแลงซ์"(phalanx)ของชาวกรีกเข้าก็ต้องสิ้นท่าครับตายกันเกลื่อนบริเวณ แม้ต่อมาเซอร์ซิสได้ส่งทหารหน่วยอมตะ(Immortal)จำนวน 10,000นายซึงเป็นทหารหน่วยที่เยี่ยมที่สุดเข้าต่อกรแต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างกัน การรบช่วงแรกชัยชนะจึงตกเป็นของกรีก


กองทหาร อิมเมอร์เทิล (Immortal) เป็นกองทหารที่ดีที่สุดของเปอร์เซีย ซึ่งเป็นคำดังกล่าวเป็นภาษากรีกที่เรียกหน่วยทหารนี้ 

ทหารชาวเมเดส(Medes) เป็นทหารแนวหน้าที่เข้าต่อสู้
(เสริมหน่อยครับยุทธวิธีแบบ"ฟาแลงซ์"เป็นการรบของทหารกรีกโบราณ คือการให้ทหารแต่ละคนจัดขบวนให้ชิดกันเอาโล่ห์ประจำกายมาตั้งเรียงซ้อนกันและรุกไปข้างหน้าพร้อมหอกยาวในมือ เป็นการป้องกันลูกธนูกับหอกซัดพร้อมกับตีโต้ไปในตัวได้ดี ถ้านึกไม่ออกให้ไปดูเรื่อง"ทรอย"ตอนแบรดพิตต์ยกพลทหารขึ้นบกแล้วให้ทหารเอาโล่ห์มาต่อกันนั้นแหละ)
หัวหน้ากองจะให้สัญญานเดินหน้า ทหารแถวหลังจะเริ่มออกเดิน แล้วใช้โล่ห์ของตนรุนหลังทหารในแถวหน้า เพื่อทำการผลักทหารของฝ่ายตรงข้าม ให้หลุดออกจากสมรภูมิ พวกเขาใช้วิธีการนี้ที่ถูกฝึกมาชั่วชีวิต 

ขบวนรบแบบฟาลังค์นี้ประกอบไปด้วยทหาร 18แถว แต่ละแถวมี 64คน โล่ห์ของพวกเขาก็จะซ้อนกัน เหมือนเกล็ดงู มันทำให้แทบไม่มีอะไรเจาะทะลุไปได้
ทหารสปาทัน ก็บาดเจ็บล้มตายไปมากเช่นกัน ซึ่งพวกชาวสปาทันมีวิธีจำเพาะในการจำแนกศพผู้ตาย ซึ่งบางคราวอยู่ในสภาพที่จำไม่ได้ 

พวกเขาจะนำกิ่งไม้เล็กๆ มาทำสัญญลักษณ์ที่ปลายทั้งสอง แล้วก็หักออกเป็น2ท่อน ส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้ในชาม อีกส่วนหนึ่งจะใส่ไว้กับข้อมือของทหาร นี่คือลักษณะเดียวกับป้ายชื่อคล้องคอในปัจจุบัน (Dogtag)
(Dogtag)
เมื่อการรบมาถึง วันที่2 พวกเปอร์เซียรุกคืบหน้าไม่ได้เลย พวกเขาไม่เคยทำการรบในลักษณะนี้ พวก เขาคุ้นกับการรบในที่กว้าง ที่ทหารม้า รถศึก และทหารอาวุธเบา มีความสำคัญอย่างมาก
กษัตริย์เซอร์ซิส ทรงตัดสินใจใช้ไพ่ตายก็คือ หน่วยอิมเมอร์เทิล พวกนี้เป็นหน่วยทหารชั้นเยี่ยมที่มีทั้งธนู หอก และกริดสั้น เป็นอาวุธ แต่หน่วยอิมเมอร์เทิล ก็ล้มตายลงเป็นทิวแถว เพราะทหารอาวุธเบาไม่สามารถทะลวงเกราะของทหาร อาวุธหนักได้ แต่ทหารกรีก กลับทะลวงฟันทหารเปอร์เซียได้ตามใจชอบ และนอกจากนี้พวกกรีกยัง ถูกฝึกมาให้สู้ในระยะประชิดตัวอีกด้วย



ระหว่างที่คิดหาทางจะโจมตีทัพกรีกอยู่นั้นก็เหมือนสวรรค์เข้าข้างเปอร์เซีย มีชาวกรีกทรยศชื่อ"เอพิเทส"(Ephialtes)ได้มาเสนอว่าจะพาเซอร์ซิสไปชมพื้นที่ของช่องเขาแห่งนี้โดยแลกกับรางวัล  เอพิเทสพากษัตริย์เปอร์เซียไปชมช่องเขารอบๆ และเส้นทางแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่รกไปด้วยพุ่มไม้หนามแต่ว่าสามารถไปทะลุที่หลังค่ายชาวกรีกได้ 

(ต่อมาชื่อ"เอพิเทส"นี้ได้ถูกนำมาต่อท้ายกลายมาเป็นคำว่า"Ephialtes the tratiors" หรือเอพิเทสคนขายชาติ โดยชื่อของเขาได้กลายมาเป็นคำศัพท์ในภาษากรีกซึ่งถ้าแปลเป็นอังกฤษจะหมายความว่า"nightmare" ฝันร้ายนั่นเอง)

 


เมื่อทหารกรีกเริ่มล้า กษัตริย์ลีโอนีดัสได้ส่งทหารสปาทันเข้ารบ ซึ่งก็เดินทัพแบบฟาลังค์เข้าไป ในขณะที่พวกกรีก ถอยทัพ  ทหารสปาทัน ซึ่งได้รับการฝึกมาอย่างดีได้สังหารข้าศึกข้างหน้าจนสิ้นซาก
ภาพกราฟิกมุมสูงเผยให้เห็นการวางกำลังของฝ่ายกรีก
พื้นที่จำกัดของหุบเขา ทำให้พวกเปอร์เซียไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทหารจำนวนมากของตนได้ พวกเขาส่งทหารเข้าสมรภูมิไม่พอเพียง ที่จะต่อสู้กับเครื่องจักรสังหารสปาทัน ทหารของกษัตริย์เซอร์ซิส ล้มตายระลอกแล้วระลอกเล่า จากการพยายามฝ่าแนวป้องกันของสปาทัน
"เอพิเทส" (Ephialtes



ในวันที่สามตอนรุ่งสางแม่ทัพเปอร์เซียได้นำทหารหน่วยอมตะจำนวนหนึ่งไปตามเส้นทางลับนี้และเจอกองทหารชาว"โพเชี่ยน"1,000นาย ซึ่งเลโอนิดาสให้มาเฝ้าเส้นทางไว้ ฝ่ายเปอร์เซียได้ทำการยิงห่าฝนธนูจำนวนมากไปยังทหารโพเชี่ยนที่ส่วนใหญ่ยังหลับอยู่ ก่อนเข้าประจัญบานจนทหารโพเชี่ยนแตกกระบวนถอยหนีไปหมด ทำให้เปอร์เซียสามารถตียึดเส้นทางนี้ได้อย่างง่ายดาย 
 


เมื่อความมืดปกคลุม ทหารเปอร์เซีย เดินทัพไปตามทางลับ ในเช้าของวันที่สาม กองทัพเปอร์เซีย ก็ปรากฎตัวทางด้านหลังของกองทัพสปาทัน
กษัตริย์ลีโอนีดัส ทรงถูกล้อม ทรงทราบพระทัยดีว่า นี่คือการศึกครั้งสุดท้ายของพระองค์ เพื่อให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายน้อยที่สุด ทรงให้ทหาร กรีกเดินทัพกลับไป ส่วนพระองค์และทหารสปาทัน จะยืนหยัดสู้จนตาย 



เมื่อตะวันขึ้นเลโอนิดาสจึงทราบว่ากองทัพของตนตอนนี้ถูกล้อมกรอบเสียแล้วเขาจึงทำการเรียกประชุมแม่ทัพนายกองทั้งหมด โดยขุนศึกของเอเธนส์และนครกรีกอื่นๆ เสนอว่าควรถอยทัพกลับไปขณะที่ยังมีโอกาส หลังการประชุมกษัตริย์เลโอนิดาสจึงออกคำสั่งที่กล้าหาญเยี่ยงวีรบุรุษ

คำสั่งคือให้ทัพจากนครกรีกอื่นๆ ถอยทัพไปรวมพลกับกองทัพพันธมิตรที่ตั้งค่ายรออยู่ ส่วนตนเองพร้อมทหารสปาร์ตา "300" นายจะคอยยันถ่วงเวลาทหารเปอร์เซียไว้เพื่อให้ทัพกรีกหนีไปอย่างปลอดภัย โดยที่มีทหารจากนคร"เทปเซียน"(Thepsians)จำนวน700นายซึ่งนำโดยแม่ทัพ"เดโมฟิลัส" ตัดสินใจที่จะอยู่ช่วยสปาร์ตาอีกแรงหนึ่งด้วย 

โดยในวันนั้นเลโอนิดาสได้จัดการแจกจ่ายเสบียงให้ทหารของตนกินกันให้เต็มที่พร้อมทั้งกล่าวปลุกใจทหารของตนว่า(Tonight we will dine in Hell) "คืนนี้เราจะฉลองมื้อค่ำกันในนรกภูมิ" โดยหลังจากนั้นเมื่อทหารกรีกอื่นๆ เริ่มทยอยหนีจากค่ายไปแล้วทหารสปาร์ตา300นายและทหารเทปเซียนได้เดินทัพออกมาจากค่ายและได้เข้าประจัญบานกับทัพเปอร์เซียในที่โล่ง


 


ทหารกรีกคนหนึ่งเตือนว่า พวกเปอร์เซียมีธนูจำนวนมาก จนสามารถที่จะบดบังแสงอาทิตย์ได้ ไดแอนนิธิส แห่งสปาทันกล่าวว่า "ดีเราจะได้สู้ในร่ม" 

นี่เป็นความชาญฉลาดของพวกสปาทัน พวกเขาใช้เสียงหัวเราะขับไล่ความกลัว แต่กษัตริย์ลีโอนีดัสทรงเคร่งขรึม พระองค์ให้เหล่าทหารของพระองค์กินอาหารเช้า แล้วตรัสว่า "จะทรงกินอาหารเย็นในนรก"
เมื่อการต่อสู้เริ่มขึ้นอีกครั้ง ทหารเปอร์เซียตีโอบล้อมทหารสปาทันจำนวนหยิบมือ จากทั้งสองด้าน พวกสปาทัน ต่อสู้ราวกับปีศาจบ้าคลั่ง เปอร์เซียสูญเสียทหารเป็นจำนวนมาก แต่กษัตริย์ลีโอนีดัสก็ไม่อาจต้านทานกำลังที่มากกว่าหลายเท่าตัวได้

 

ทหารหลายคนโดนธนูยิงตายตั้งแต่ยังไม่ตะลุมบอน ที่รอดจากคมธนูต่างต่อสู้อย่างถวายชีวิตด้วยรู้ว่าตนจะไม่มีโอกาสรอดกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนแล้ว ทั้งหอกและดาบสั้นถูกนำมาใช้ประมือกันในระยะใกล้อย่างเหี้ยมโหด ถึงแม้ทหารสปาร์ตาแต่ละคนจะเป็นเผ่าพันธุ์นักรบและได้รับการฝึกมาอย่างดี แต่ด้วยจำนวนเพียงน้อยนิดจึงทำให้ตกเป็นรองและถูกฝ่ายเปอร์เซียฆ่าล้างบางจนเกลี้ยง  

หนึ่งในจำนวนนี้ยังรวมถึงกษัตริย์เลโอนิดาสซึ่งได้ทรงสิ้นพระชนม์ในที่รบนั้นด้วย จากนั้นทัพเปอร์เซียได้ทำการล้อมค่ายของชาวกรีกที่ตอนนี้เหลือทหารเทปเซียนและธีบานส์อยู่ไม่มาก ทหารกรีกที่เหลือในค่ายตอนนี้ต่างเข้าทำการรบครั้งสุดท้ายอย่างไว้ลายด้วยอาวุธทุกอย่างที่พอจะหามาได้

ส่วนทหารธีบานส์ภายใต้การคุมของแม่ทัพ"เลออนไธเดส"ได้แสดงความขี้ขลาดออกมาโดยได้ยกมือทิ้งอาวุธยอมจำนนทันที แต่ชาวเปอร์เซียซึ่งไม่ฟังเสียงก็ได้ทำการล้อมค่ายแล้วยิงธนูเป็นห่าฝนเข้าสังหารทหารในค่ายที่เหลือจนเกือบหมด

เมื่อเสร็จศึกบริเวณช่องเขากษัตริย์เซอร์ซิสได้ทำการตัดหัวของเลโอนิดาสจากร่างอันสิ้นลมของเขาและนำร่างที่เหลือไปตรึงกับแผ่นไม้ แต่ภายหลังกษัตริย์เซอร์ซิสรู้สึกว่าตนลบหลู่เกียรติของกษัตริย์เลโอนิดาสผู้ห้าวหาญจึงได้สำนึกเสียใจขึ้นมา 

พระองค์จึงสั่งให้บรรจุศพของเลโอนิดาสไปฝังอย่างสมเกียรติและทำแท่นหินรูปสิงโตปักไว้เหนือหลุมในบริเวณช่องเขาเธอร์ไมโพลีนั่นเอง 40ปีต่อมาพระศพของเลโอนิดาสจึงถูกส่งคืนกลับสปาร์ตา


จากเหตุการณ์นี้ทำให้เปอร์เซียสูญกำลังรบหลักไปหลายหมื่นนายด้วยน้ำมือของทหารสปาร์ตาแค่ไม่กี่หยิบมือ กษัตริย์เซอร์ซิสจึงเร่งเดินทัพไปจนถึงกรุงเอเธนส์และทำการเผาเมืองจนวอดวายไปหมดด้วยความแค้น แต่ทว่าชาวเมืองไหวตัวทันก่อนและได้ชิงหลบหนีไปหมดแล้วจึงเป็นการเผาเมืองเปล่าๆ

ส่วนทหารพันธมิตรนั้นได้ย้ายกองทัพไปซ่อนที่เมืองชายฝั่งบนเกาะแห่งหนึ่งชื่อ"ซาลามิส"เพื่อรอรับการโมตีจากเปอร์เซีย เมื่อกองเรือเปอร์เซียตามมาทันแม่ทัพกรีก"เธมิสโตคลิส"จึงสั่งให้ทัพเรือเอเธนส์ระดมยิงลูกไฟจากเรือ เพื่อทำการโจมตีแบบไม่ให้เปอร์เซียตั้งตัวและทำการหันหัวเรือเข้าชนเรือเปอร์เซียจนเสียหายไปมากถึง 200กว่าลำ (เรือกรีกสมัยนั้นนิยมทำหัวให้แหลมและติดเหล็กยาวปลายแหลมที่ทำเป็นรูปต่างๆไว้เพื่อสะดวกเวลาพุ่งชนเรือข้าศึกให้จมลง)

ทัพเรือเปอร์เซียทนความสูญเสียไม่ไหวจึงต้องถอนทัพกลับ ส่วนทัพบกนั้นได้เข้าตะลุมบอนกับทัพพันธมิตรกรีก ซึ่งตอนนี้ได้ระดมพลมาได้จำนวนมาก (รวมทั้งจากนครสปาร์ตาที่ตอนนี้หมดหน้าเทศกาลคาร์เนี่ยนแล้ว) ทัพกรีกเวลานี้มีการเตรียมตัวมาอย่างดีและก็เป็นกรีกที่ชนะได้เกือบจะทุกสมรภูมิ จนการรบไปจบลงที่สมรภูมิสุดท้ายบริเวณเมือง"พลาเทีย"ซึ่งหลังจากนั้นแม่ทัพกรีกได้มีการตั้งฆ่าหัวของเอพิเทสที่ทรยศชาวกรีกไว้ด้วย ต่อมาชายชื่อ"อาเธนาเดส"ได้เป็นผู้สังหารเอพิเทสผู้ทรยศ



เมื่อกองทัพเปอร์เซียต่างพากันพ่ายแพ้อย่างหมดรูปกษัตริย์เซอร์ซิสจึงต้องจำใจยกทัพที่เหลือกลับอาณาจักรเป็นการปิดฉากสงครามเปอร์เซียลงอย่างสิ้นเชิง (เพราะหลังจากนั้นอาณาจักรเปอร์เซียเริ่มอ่อนแอลงและไม่มีกำลังพอจะก่อสงครามใหญ่ๆ ขนาดนี้ได้อีก จนปีพ.ศ.209 "อเล็กซานเดอร์มหาราช" ได้เป็นผู้นำกองทัพชาวกรีกไปบดขยี้ชาวเปอร์เซียถึงถิ่น จนชนชาติเปอร์เซียต้องดับสูญลงอย่างถาวร

Credit: Dominic
28 ก.พ. 56 เวลา 11:31 3,759 1 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...