เค้าลางความสงบ

จ่าบ้าน

สถานการณ์เดินหน้าสองแนวทางของทั้งสองฝ่าย หลังจากเหตุการณ์เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2547 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 เมื่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้บุกเข้าโจมตีค่ายทหารที่เจาะไอร้อง และสามารถปล้นปืนทหารไปได้จำนวนมาก กระทั่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบบุกเข้าโจมตีค่ายทหารนาวิกโยธิน แต่ถูกสกัดจนฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบต้องสูญเสียกำลังพลไปถึง 16 ศพ



ก่อนหน้านั้นเพียงสองสามวันมีการพูดถึงการประกาศเคอร์ฟิว (ห้ามออกนอกบ้านยามวิกาล) ในบางพื้นที่ แต่ที่สุดทางรัฐบาลก็ยังไม่ตัดสินใจ ทั้งยังมีการกล่าวถึงการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับครอบครัวของผู่ก่อเหตุที่เสียชีวิต แม้ได้รับการท้วงติงจากบางคน แต่ได้รับความเห็นชอบจากหลายคน 



เมื่อผู้รับผิดชอบด้านรัฐบาลเห็นว่าถึงเวลาที่จะต้องเร่งรัดให้เกิดความสงบขึ้นในลักษณะนโยบายการเมืองนำการทหารด้วยการนำมาตรา 21 ในพระราชบัญญัติความมั่นคงมาใช้เยี่ยงเดียวกับครั้งที่นำประกาศฉบับที่ 66/23 มาใช้ในลักษณะเดียวกันคือให้ผู้หลงผิดเข้ามอบตัวเพื่อพิจารณาความผิดที่กระทำ 



หากรัฐบาลนำมาตรการ "สำนึกผิด" ในส่วนที่ก่อการร้ายเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่และประชาชนต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บมาใช้ก็น่าเป็นเหตุให้สถาน การณ์ที่เกิดขึ้นกลับคืนสู่ความสงบสันติได้ในไม่ช้าไม่นาน



เหตุที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการทางความคิด หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิป ไตย ที่ประชาชนคนไทยยังเข้าไม่ถึงความเป็นประชาธิปไตยในความหมายที่แท้จริง หรือในความเป็นจริง ซึ่งน่าจะเกิดจากระบบการศึกษาที่คนไทยยังได้รับการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันในเบื้องต้นบนพื้นฐานที่ควรจะเป็น



ประกอบกับอุดมการณ์ความเชื่อในบางรูปแบบยังเป็นเหตุให้กลุ่มคนบางกลุ่มยังติดยึดจึงปลุกเร้าให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงทางใดทางหนึ่งขึ้น



แต่การจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางใดทางหนึ่งควรจะเกิดจากฐานของประชาธิปไตย เกิดจากแนวทางความคิดของคนหมู่ใหญ่ที่รับฟังคนหมู่น้อย น่าจะดีกว่าการก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงจากความรุนแรง ซึ่งไม่เป็นผลดี ทั้งยังสร้างความเจ็บปวด อาฆาตพยาบาทจนก่อให้เกิดสงครามขึ้นดังปรากฏให้เห็นอยู่แล้ว 

26 ก.พ. 56 เวลา 10:02 6,868 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...