เชอร์โนบิล..โลงศพใบใหม่ในหลุมศพเก่า !!
------------------------------------------------------------------------
ความเป็นไปในวันนี้ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล
ย้อนความจำคร่าวๆกันนิดนึงเนาะ..
อุบัติภัยเชอร์โนบิล เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2529 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ตั้งอยู่ที่นิคมเชอร์โนบิล ทางตอนเหนือของยูเครน
อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อวิศวกรได้ทำการทดสอบการทำงานของ ระบบหล่อเย็น และระบบทำความเย็นฉุกเฉินของแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แต่การทดสอบล่าช้ากว่ากำหนดจนต้องทำการทดสอบโดยวิศวกรกะกลางคืน ได้เกิดแรงดันไอน้ำสูงขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติไม่ทำงาน ส่งผลให้เกิดความร้อนสูงขึ้นจนทำให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 หลอมละลาย และเกิดระเบิดขึ้น
ผลจากการระเบิดทำให้เกิดขี้เถ้าปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี พวยพุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ ปกคลุมทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ต้องอพยพประชากรมากกว่า 336,000 คน ออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน
อุบัติเหตุครั้งนี้ได้รับการจัดความรุนแรงไว้ที่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์
ในปี พ.ศ 2548 สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ และองค์การอนามัยโลก ได้ประมาณการว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากการระเบิดโดยตรงมากกว่า 600,000 คน มีผู้เสียชีวิตทันทีหลังการเกิดระเบิด 56 คน แต่ผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจากการสัมผัสกัมมันตรังสีอาจสูงถึง 4,000 คน
*********************
ทีนี้มาดูกันว่าเชอร์โนบิลที่เราๆคงจำกันได้...
มาถึง ณ วันนี้ เชอร์โนบิล เป็นอย่างไรบ้าง?
15 ปีที่ผ่านมา ชาติตะวันตกและยุโรปกว่า 24 ประเทศได้ร่วมมือลงทุน 2 พันล้านดอลล์ ในการสร้างโปรเจ็ควิศวกรรมการแก้ปัญหาเชอร์โนบิล โดยการก่อสร้างฝาครอบรูปโดม (Arch) เพื่อครอบตัวอาคารที่โดนทำลายเป็นเขตควบคุมเพื่อความปลอดภัย และจะทำการปิดพื้นที่ทำการรื้อถอนอาคาร 4 ที่เสียหายไปทีละส่วนๆ จนกว่าจะแล้วเสร็จ
โดยฝาครอบอาคารรูปโดมมีกำหนดแล้วเสร็จในปี พ.ศ 2558 ที่จะถึงนี้
Arch มีน้ำหนักรวมที่ 29,000 ตัน, ความสูง 105 เมตร., ความกว้าง 257 เมตร.
สร้างโดม แล้วเคลื่อนโดมบนรางเข้าไปครอบอาคาร ซีลปิดเขตควบคุมรื้อถอน
การรื้อถอนอาคารทำโดย โดมจะเคลื่อนไปครอบส่วนที่จะรื้อถอนเป็นส่วนๆเท่านั้น
เมื่อรื้อถอนเสร็จแล้วโดมจะเคลื่อนไปครอบยังส่วนต่อไป
(เพื่อป้องกันฝุ่นหรือรังสีแพร่กระจายออกไปในระหว่างทำการรื้อถอน)
************************************************
ส่วนความปลอดภัยของพนักงานทำการก่อสร้างนั้น ทาง Vince Novak ผู้อำนวยการด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ European Bank for Reconstruction and Development ซึ่งเป็นเจ้าของโปรเจ็คยักษ์นี้กล่าวว่า..บริเวณโครงการอยู่ในเขตที่ปลอดภัย ห่างจากเตาปฏิกรณ์ที่เสียหาย รังสีที่ตรวจพบในเขตโครงการอยู่ในระดับที่ต่ำ ไม่เป็นอันตรายต่อพนักงาน พนักงานสามารถทำงานแข่งกับเวลาได้โดยไม่ต้องจำกัดระยะเวลางานเพื่อความ ปลอดภัยทางรังสีแต่อย่างใด...
-------------------------------
งั้นตอนนี้เราไปดูโครงการยักษ์กันดีกว่า
พร้อมแล้ว...ใส่หน้ากากกันรังสีด้วยเด้อ...แล้วไปด้วยกันโลดดดด..!!!
ปรับพื้นที่รอบๆเขตก่อสร้าง
ตอนนี้ยังไม่ป่วย..ต่อไปป่วยไม่รู้ด้วยเด้อ...
ห้องควบคุมคอนโทรลเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 หลังจากเกิดเหตุ ยังอยู่ในสภาพเดิม
อนุสาวรีย์เชอร์โนบิล ด้านข้างอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4
มองผ่าน พริเพียด เมืองร้างใกล้เชอร์โนบิล
นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่จริงปีละหลายพันคน
เครื่องวัดระดับรังสี แสดงระดับ 12 เท่า สูงกว่าระยะปลอดภัย
*****************************
สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทยให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีที่ส่งผลต่อสุขภาพไว้ดังนี้
0.1 mSv = ปริมาณรังสีที่ได้รับเมื่อไปถ่ายภาพรังสีเอ๊กซ์ที่โรงพยาบาล 1 ครั้ง
10 mSv = ปริมาณรังสีที่ได้รับเมื่อไปถ่ายภาพรังสีด้วยเทคนิคการสแกนแบบ CT ที่โรงพยาบาล 1 ครั้ง
1,000 mSv = ปริมาณรังสีที่ทำให้เกิดอาการป่วยจากรังสี รวมทั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และจะมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อได้รังสีมากขึ้น
6,000 mSv = ปริมาณรังสีที่พนักงานที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลได้รับระหว่างเกิด อุบัติเหตุเมื่อปี 1986 และเสียชีวิตภายใน 1 เดือน
(mSv คือหน่วยวัดรังสี มิลลิซีเวิร์ตต่อชั่วโมง-millisieverts per hour) ผลของรังสี การได้รับรังสีปริมาณสูงจะทำให้เกิดผลในทันที แต่ผลเสียที่เกิดจากการได้รับรังสีปริมาณต่ำๆ เช่น 100 mSv หรือต่ำกว่า อาจจะไม่แสดงอาการเป็นสิบปี
*****************************
คลิปจำลองการก่อสร้างโดยบริษัท NOVARKA ดูตามแล้วจะเข้าใจง่ายขึ้น