อักษรไทน้อย หรือ อักษรไทยน้อย มรดกอีสาน
พวกไทยน้อย อยู่ในดินแดนทางเหนือ ห่างไกลจากกัมพูชา ไม่ได้ถูกอิทธิพลของขอมครอบงำ ภาษาจึงไม่มีคำเขมรแทรกเข้ามาแม้แต่คำเดียว และตัวหนังสือที่ใช้ ก็เป็นเชื้อตัวหนังสือไทยเดิม ตัวหนังสือได้แบบมาจากมอญโบราณ ซึ่งมักเขียนเป็นตัวกลม โดยมิได้แปลงผ่านมาจากอักษรพม่า ตัวหนังสือไทยน้อยนี้ ได้เป็นต้นแบบของหนังสือธรรม ในภาคพายัพและภาคอิสานของไทย อักษรและสระของไทยลื้อ มีดังนี้
พยัญชนะมีพยัญชนะ ๒๗ ตัว คือ ก ข ค ง จ ช ญ ฏ ฑ ณ ต ถ ท ธ น บ ป ผ พ ฟ ม ย ร ล ว ส ห
สระ มีอยู่ ๑๖ รูป ด้วยกันคือ ะ ๆ ิ ี ึ ื ุ ู เ แ โ อ เ ือ ำ ไ เ า
อักษรไทน้อย ไม่ได้หมายถึงอักษรไทยขนาดเล็ก หรือ "ผู้เป็นน้อย" แต่อย่างใด แต่เป็นอักษรที่เกิดยุคเดียวกับ "ลายสือไทย" ของพ่อขุนรามโน่นแหละครับ เพียงแต่ผู้พัฒนาต่อมามีกำลังไม่เข้มแข็งพอ ก็เลยกลายเป็นอักษรที่ "ตาย" คือไม่มีการใช้และการพัฒนา
ตัวอักษรไทยน้อยมีลักษณะเหมือนอักษรไทยสมัยพระยาลิไทยมาก เท่าที่พบแปลกกันเฉพาะตัว ถ เท่านั้น และเราก็ยอมรับอยู่ว่าอักษรไทยน้อยมิใช่อักษรลาว จึงทำให้ตัวอักษรไทยน้อย จะเข้ามาสู่ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปจนถึงเวียงจันทน์ได้อย่างไร นักปราชญ์ท่านสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะมาจาก 2 ทางด้วยกัน
มาทางตรงคือจากสุโขทัยมาเวียงจันทน์เลย เพราะศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็บอกว่า เวียงจันทน์ เวียงคำ ชวา (หลวงพระบาง) เป็นส่วนหนึ่งของสุโขทัย คงจะมีการใช้อักษรราชธานีด้วย โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าลิไทย พระองค์เป็นนักการศาสนา และนักอักษรศาสตร์ คงจะส่งสมณฑูตพร้อมกับนิทานคำสอน และตัวอักษรมายังหลวงพระบางเวียงจันทน์ด้วย ดังปรากฏในหนังสือมูลศาสนาว่า
พระสุวัณณคีรีได้นำเอาศาสนาไปประดิษฐาน ณ เมืองชวา (หลวงพระบาง) ในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม นี่แสดงว่า มีการติดต่อสัมพันธ์กันทางศาสนามาก่อนแล้ว พอมาถึงสมัยสุโขทัยโดยเฉพาะพระยาลิไทยด้วยแล้ว ยิ่งจะมีการนำอักษรที่พระองค์คิดขึ้นใหม่ แทรกตำราคำสอนเข้าไปด้วย ข้อที่น่าคิดอย่างยิ่งก็คือ จากการค้นคว้าหนังสือที่เป้นธรรมคำสอนชั้นสูงในพระพุทธศาสนาจะจารด้วยอักษร ธรรม (มอญ) ถือว่าอักษรที่สูงธรรมจะไม่จารตัวอักษรไทยน้อยเลย
ลักษณะของตัวอักษรไทยน้อยดังภาพด้านล่างนี้ เป็นฟอนต์ที่อาจารย์สานิตย์ โภคาพันธ์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ออกแบบสร้างขึ้น เรียกชื่อฟอนต์ว่า TNManut ชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ อาจารย์มนัส สุขสาย ปราชญ์ท้องถิ่นอุบลฯ ผู้มีความสามารถด้านการอ่านและจารตัวอักษรธรรม อักษรไทยน้อย และเขียนเรื่องราวของตัวอักษรโบราณอีสานเผยแพร่
ผุได๋เป่นซาวอิสาน สืบสานอักษรของหมู่เฮาไห่ยุต่อไป เป่นมรดกไห่ลูกหลานของเฮา แม่นบ่