ทะเลสาบอูเนียงา แห่ง ทะเลทรายซาฮารา
ราวหมื่นกว่าปีมาแล้ว พื้นที่บริเวณ ทะเลสาบอูเนียงา เคยมีเพียงทะเลสาบขนาดใหญ่เพียงหนึ่งแห่ง ยาวประมาณ 10 กิโลเมตร แต่ด้วยสภาพอากาศเหือดแห้งในช่วงหนึ่งพันปีต่อมา ส่งผลให้ทะเลสาบหดตัว และขยายเพิ่มเป็นหลายวงด้วยพลังลมพัดเนินทรายรุกรานทะเลสาบ เกิดการยุบตัวเป็นแอ่งเล็ก 18 แห่ง ซึ่งเป็นที่มาของ ทะเลสาบอูเนียงา
ภาพถ่ายจากนาซ่า เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009
ทะเลสาบอูเนียงา ตั้งอยู่ในแอ่งน้ำตื้นใต้ผาหินทรายและเนินเขาจากจุดที่น้ำเคยไหลผ่านในอดีต แม้ลมทางตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านเกือบตลอดปีและไม่มีเมฆฝนจนก่อให้เกิดอัตราการระเหยสูง แต่ก้นทะเลสาบนั้นอุดมไปด้วยน้ำและมีขนาดใหญ่พอที่จะเก็บกักและปล่อยน้ำไหลสู่ทะเลสาบน้อยใหญ่ ถือเป็นความอัศจรรย์ของระบบอุทกวิทยาที่สามารถรักษาสภาพ ทะเลสาบอูเนียงา ให้คงอยู่กลางทะเลทรายซาฮารา
ทะเลสาบอูเนียงา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม อยู่ห่างกัน 40 กิโลเมตร แต่ละแห่งแตกต่างกันในด้านองค์ประกอบทางเคมี บางแห่งเป็นทะเลสาบน้ำจืด บางแห่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็ม ทะเลสาบที่มีความสำคัญทางชีวภาพมากที่สุดและใหญ่ที่สุด คือ ทะเลสาบ Teli มีพื้นที่ครอบคลุม 4.4 ตารางกิโลเมตร และลึกสุด 10 เมตร อยู่ในกลุ่มทางตะวันออก ซึ่งตั้งชื่อว่า Ounianga Serir เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่หล่อหลอมชีวิตมากมาย ด้วยสารตั้งต้นทางเคมีทำให้ทรายมีรูพรุนมากมาย จึงส่งผลให้น้ำสามารถเคลื่อนตัวอย่างมีอิสระไหลเวียนระหว่าง ทะเลสาบ Teli และ ทะเลสาบเล็กๆ อีก 13 แห่ง ในกลุ่มตะวันออก
Ounianga Kebir ทะเลสาบกลุ่มตะวันตก ของ ทะเลสาบอูเนียงา ประกอบด้วย ทะเลสาบ 4 แห่ง แหล่งที่ใหญ่ที่สุดคือ ทะเลสาบ Yoan มีพื้นที่ 3.6 ตารางกิโลเมตร ลึก 27 เมตร เป็นทะเลสาบน้ำเค็ม ซึ่งเค็มจัดจนกระทั่งมีเพียง สาหร่ายและจุลินทรีย์บางชนิดที่อยู่รอด หินรอบชายฝั่งมีสีขาวจากคราบเกลือ มีประชากรกว่า 9,000 ชีวิต อาศัยอยู่รอบบริเวณนี้
ทะเลสาบอูเนียงา Ounianga แห่ง ทะเลทรายซาฮารา
อาจเพราะเป็นดินแดนแห้งแล้ง ห่างไกล จึงมีนักท่องเที่ยวผู้กล้าหาญมาเยือนเพียงปีละ 500 คน เพื่อสัมผัสความงดงามทางภูมิทัศน์ของ ทะเลสาบอูเนียงา