นักวิจัยเปิดเผยว่า สัตว์ขนาดเล็กและมีหางขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่คล้ายหนู อาจเป็นต้นกำเนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายจำพวก อาทิ หนู ช้าง เสือ สิงโต หมี วาฬ ค้างคาว และอาจรวมถึงมนุษย์
ผลการค้นพบใหม่นี้ชี้ว่าสัตว์ดังกล่าวถือกำเนิดก่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของเปลือกโลก ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดยุคไดโนเสาร์ไม่นานนัก ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนในช่วงหลายปีของการทำวิจัย
รายงานการค้นพบในครั้งนี้ได้ถูกเผยแพร่ในนิตยสาร Science ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์
ดร. มัวรีน โอเรียลี นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสโตนี บรู๊ค ในรัฐนิวยอร์กของสหรัฐฯ กล่าวว่า สัตว์จำพวกหนูและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่ได้อาศัยอยู่บนโลกในช่วงเดียวกับไดโนเสาร์ที่ไม่มีปีก แต่มีจุดกำเนิดเดียวกันจากสัตว์ขนาดเล็กที่วิ่งเร็ว และกินแมลงเป็นอาหาร ไม่นานนักหลังการสิ้นสุดของไดโนเสาร์
สัตว์จำพวกที่สามารถตั้งครรภ์ได้ เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีความหลากหลายมากเป็นพิเศษ เนื่องจากในยุคปัจจุบันมีกว่า 5,000 สปีชีส์ ทั้งประเภทที่บินได้ ว่ายนำได้ และวิ่งได้ และอาจแยกเป็นจำพวกที่มีน้ำหนักเพียงไม่กี่กรัม ไปจนถึงน้ำหนักตัวหลายตัน
หลักฐานฟอสซิลที่มีความอุดมสมบูรณ์ ได้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่ม หรือ เครือบรรพบุรุษ เติบโตในช่วงของการกระจายตัวของสัตว์หลากหลายสปีชีส์ หลังจากสิ้นสุดยุคไดโนเสาร์เมื่อกว่า 65 ล้านปีก่อนไม่นานนัก แต่การศึกษาด้านพันธุกรรมที่เน้นด้านการเปลี่ยนแปลงของการผสมผสานด้านพันธุกรรมชี้ว่า กลุ่มดังกล่าวเริ่มปรากฏเมื่อราว 10 ล้านปีก่อน โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างสัตว์จำพวกหนูในช่วงแรกๆ ล้วนแต่อาศัยร่วมกับไดโนเสาร์
เพื่อการสร้างฐานข้อมูล ทีมวิจัยได้รวมข้อมูลลักษณะตามสภาพแวดล้อมและพันธุกรรมต่างๆ กว่า 4,500 เรื่องเข้าไว้ด้วยกัน อาทิ อาหาร, ความยาวของแขนขา, กะโหลก, ซี่โครง, อวัยวะภายใน, กล้ามเนื้อ, รูปร่างของซี่ฟัน, ความยาวของเส้นขน และอื่นๆ จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ยังมีชีวิตในปัจจุบันรวม 86 ชนิด แล้วสร้างเป็นฐานข้อมูล และยังได้ผนวกภาพถ่ายและข้อมูลด้านพันธุกรรมของสปีชีส์สิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเข้าไปด้วย อีกกว่า 12,000 ข้อมูล
และจากนั้น กลุ่มนักวิจัยก็จะเปิดการเปรียบเทียบกัน ทั้งตัวอย่างฟอสซิลและตัวอย่างด้านพันธุกรรม และเกิดเป็นปัญหาที่มีการแบ่งปันและถกเถียงร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 23 คน จากทั่วโลก
ดร.โอเลียรีกล่าวว่า การถกเถียงดังกล่าวจะไม่ได้ข้อสรุป กระทั่งได้มีการพัฒนาซอฟท์แวร์ที่เรียกว่า Morphobank ซึ่งเป็นเว็บแอพพลิเคชัน สำหรับดำเนินการวิจัยด้านวงศ์วานวิวัฒนาการและความสัมพันธ์เป็นลำดับขั้น ของการศึกษากายสัณฐานวิทยา ที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้กายวิภาคศาสตร์ในการศึกษาการสร้างสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการสามารถทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ผ่านเว็บได้ร่วมกัน ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใด โดยการป้อนข้อมูลเข้าไปยังซอฟท์แวร์มาตรฐานที่สร้างการคาดการณ์ความสัมพันธ์และอายุ ที่ชี้ว่าสัตว์ที่คล้ายหนูดังกล่าวมีชีวิตอยู่ในช่วง 200,000-400,000 ปี หลังการสูญพันธ์ของไดโนเสาร์
ดร.จอห์น ไวเบิล แห่งพิพิทธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคาร์เนกี กล่าวว่า ในสายการวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเด่นชัดระหว่างนักวิจัยที่เน้นศึกษาด้านดีเอ็นเอและสัณฐานวิทยา
จากข้อมูลเหล่านี้ นักวิจัยได้สร้างภาพของบรรพบุรุษของสัตว์มีรกชนิดนี้ขึ้นมาร่วมกับศิลปินวาดภาพ พบว่ามันมีลักษณะคล้ายหนู มีหางเป็นพวงใหญ่ กินแมลงเป็นอาหาร มีน้ำหนักตัวราวตั้งแต่ 6-245 กรัม และมีความว่องไวเป็นพิเศษ นอกจากนั้น ในส่วน cerebral cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสมอง อาจมีความซับซ้อนและมีลักษณะขดม้วน ที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมส่วนใหญ่ของสมอง