ทะเลตราดวิกฤต! พบ "โลมาอิรวดี" ตายอีกตัวที่ 10 และ 11

 

ที่ชายหาดบ้านคลองขุด  หมู่  3  ต.ไม้รุด  อ.คลองใหญ่ จ.ตราด  เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์   นายจรัล  เอมโอชา อายุ 40 ปี  ชาวประมงพื้นบ้าน ได้แจ้งให้นายก นายกฤตภาส ศรีแสงขจร ประธานเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ต.ไม้รูด ว่า  พบโลมาตายบริเวณ คลองขุด ม. 3 ต.ไม้รูด จำนวน 2 ตัว ตัวหนึ่งลอยในทะเลห่างฝั่งประมาณ 1 ก.ม. อีกตัวติดอยู่ชายฝั่ง   จึงพร้อมด้วยสมาชิก และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออกเดินทางไปตรวจสอบ 

 


เมื่อไปถึงพบโลมาตายติดอยู่ที่ชายฝั่งเป็น โลมาอิรวดี เพศผู้ ความยาว 198 ซ.ม. สภาพเน่า คาดเสียชีวิตไม่เกิน 7 วัน ส่วนโลมาอีกตัวได้นำเรือไปลากเข้าฝั่ง ตรวจสอบเป็นโลมาอิรวดี เพศผู้ ความยาว 209 ซ.ม. สภาพไม่ต่างจากตัวแรก    จากนั้นได้ทำการผ่าพิสูจน์ซากโลมาทั้ง 2 ตัว พบว่าในกระเพาะอาหารของทั้ง 2 ตัว มีอาหารเต็มกระเพาะ มีทั้งปลาและหมึก จึงได้ทำการบันทึกข้อมูล และเก็บตัวอย่าง ดีเอ็นเอ และทำการฝั่งซากโลมาทั้ง 2 ตัวที่บริเวณชายหาด

 

 นายกฤตภาส  กล่าวว่า โลมาอิรวดี ที่เสียชีวิตทั้งสองตัวล่าสุดนี้เป็นตัวที่ 10 และ 11 ที่เสียชีวิตในตำบลไม้รูด และ ต.แหลมกลัด อ.เมืองตราด  ที่เสียชีวิตมาตั้งแต่ปี 2556  ถึงปัจจุบัน นับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับชีวิตโลมาอิรวดีฝูงสุดท้ายของอ่าวตราด และของประเทศไทย เพราะหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป เพียงปีเดียวโลมาอิรวดีจะหมดไปจากอ่าวตราด  อาจจะเสียชีวิตหรืออาจจะหลบหนีไปอยู่อาศัย หากินในทะเลที่ปลอดภัยมากกว่านี้ และก็ต้องบอกกันตรง ๆ ว่าเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่มีอยู่เต็มพื้นที่ 1-2,000 เมตร ห่างห่างจากฝั่งเป็นตัวการสำคัญ  ส่วนเรือประมงอวนลากคู่ก็ส่วนเช่นกัน แต่หลักก็คือ จะแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้โลมาอิรวดีหยุดการเสียชีวิตให้ได้

 

    “ผมไม่ต้องการเห็นการนับศพโลมาอยู่ทุกวัน แต่ต้องการเห็นทุกฝ่ายเข้ามาร่วมกันแก้ไขและหาทางป้องกันมากกว่า ส่วนราชการไม่ควรจะเกี่ยงกันหรือโยนความรับผิดชอบ  ต้องหันมาช่วยกัน  ขณะนี้  ที่ดีใจก็คือมีนักวิชาการด้านการอนุรักษ์โลมาจากมหาวิทยาลัยซานฟรานซิลโก  สหรัฐอเมริกา เดินทางมาสำรวจและวิจัยวงจรชีวิตของโลมาในอ่าวตราด ซึ่งจะศึกษาด้านอัตราการเกิด  อัตราการตาย สาเหตุการเสียชีวิต  และการอยู่รอดของโลมาอิรวดี จะทำอย่างไร และการอยู่ร่วมกันกับประมงพื้นบ้านจะทำได้หรือไม่ เรื่องนี้ควรเป็นเรื่องของบ้านเรามากมากกว่าไม่ใช้ให้ต่างชาติต่างภาษามาทำการวิจัยและสนใจในการสูญเสีย แล้วส่วนราชการของ จ.ตราดทำอะไรอยู่”

 

 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...