อะไรอยู่ใต้ผ้าพัน ′มัมมี่′ อายุกว่า 4,000 ปี ดูภาพถ่ายจากเครื่่องทีซี สแกน (ชมภาพชุด)

 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ‘พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์เวอร์จิเนีย’  ในเมืองริชมอนด์ ประเทศอังกฤษร่วมกับ ‘ศูนย์ภาพถ่ายทางการแพทย์’ นำมัมมี่ ‘Tjeby’ อายุ 4,000 ปี เข้าเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีที สแกน เพื่อเปิดเผยเรื่องราวภายใต้ผ้าห่อมัมมี่ยุคแรกของอียิปต์

 

 

 

การทดลองนำมัมมี่เข้าเครื่องเอ็กซ์เรย์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (1 ก.พ. 56) ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะเคยมีการนำมัมมี่เข้าเครื่องซีที สแกนมาก่อนในปี 2520 ส่วนมัมมี่ Tjeby เองก็เคยถูกนำเข้าเครื่องสแกนครั้งแรกเมื่อปี 2529 แต่ในสมัยนั้นเทคโนโลยีค่อนข้างเก่าจึงไม่เห็นภาพอะไรมากนัก

 

 

 

 


ข้อมูลเกี่ยวกับมัมมี่ Tjeby ที่นักวิจัยทราบในขณะนี้ เช่นถูกฝังที่ปิระมิดทางตอนเหนือของอียิปต์และถูกขุดขึ้นมาในปี 2466   โดยข้อมูลอย่างเป็นทางการจากพิพิธภัณฑ์ระบุว่ามัมมี่ Tjeby มีชีวิตอยู่ระหว่าง 2150-2030 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคที่อำนาจและเศรษฐกิจเสื่อมถอยในอียิปต์ ในขณะที่งานวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่าเขาเสียชีวิตเมื่ออายุระหว่าง 25-40 ปี

 

 


ผู้เชี่ยวชาญหวังว่าการศึกษาข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างใกล้ชิดจะทำให้ทราบประวัติของมัมมี่เช่น อายุที่แท้จริง อาหารที่กินเข้าไปและสาเหตุการเสียชีวิต รวมถึงวัสดุที่ใช้ทำมัมมี่และเนื้อเยื่อที่ยังไม่ตายและตรวจสอบได้ว่าอวัยวะภายในถูกนำออกไปหรือไม่

 

 

ด้านนักวิจัยกล่าวว่าเทคโนโลโยที่ทันสมัยช่วยให้พวกเขาสามารถศึกษารายละเอียดต่างๆ ของมัมมี่ได้อย่างน่าทึ่ง โดยไม่ต้องผ่าพิสูจน์หรือทำให้มัมมี่เสียหาย โดยใช้ความระมัดระวังตั้งแต่ขั้นตอนการขนย้ายจนเข้าสู่เครื่องทีซี สแกน ซึ่งเพียงไม่กี่วินาที ภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์นับพันก็ถูกแสดงบนจอคอมพิวเตอร์ ชี้ให้เห็นภาพกระดูกถูกย้ายเข้าไปอยู่กลางอก ในขณะที่ชิ้นส่วนหลักๆ ของร่างกายถูกห่อแยกออกจากแขนขาและส่วนอื่นของร่างกายที่ปนกันยุ่ง


เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์กล่าวว่าหลังจากนี้จะมีการตรวจสอบภาพถ่าย 3 มิติที่ได้มาให้ลึกลงไปในรายละเอียด ซึ่งต้องใช้เวลา  แต่ยังไม่ได้กำหนดเวลาของขั้นตอนต่อไปแต่อย่างใด และกล่าวว่าพวกเขาต่างก็ตื่นเต้นกับภาพที่เห็น

 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...