10 ความเชื่อเรื่องสุขภาพ... ที่ไม่เคยจริง

 

 

 

 

10 ความเชื่อเรื่องสุขภาพ... ที่ไม่เคยจริง

 

 

 เคยมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพของตัวเองและคนรอบตัวบ้างไหม เชื่อว่ากินอะไรแล้วจะไม่สบาย อยู่ในที่แบบไหนแล้วจะป่วย หรือยาแบบไหนไม่ดีต่อสุขภาพ หลาย ๆ ความเชื่อเป็นจริงค่ะ แต่อีกหลาย ๆ ความเชื่อก็เป็นเหมือนนิทานหลอกเด็ก และเพื่อไม่ให้โดนหลอก วันนี้ Momypedia จะมาช่วยยืนยัน 10 ความเชื่อเรื่องสุขภาพที่ไม่เป็นจริงให้ได้รู้กันค่ะ 

     1. การฉีดวัคซีนทำให้เป็นออทิสติก 

          เหตุของความเชื่อนี้มาจากเมื่อปี 1998 มีผู้ปกครองของเด็กกลุ่มนี้ยื่นเรื่องฟ้องโรงพยาบาลที่พาลูกไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดและคางทูม หลังจากนั้นเด็ก ๆ ก็เริ่มมีอาการของโรคออทิสติก ซึ่งทำให้มีการศึกษาถึงผลข้างเคียงของวัคซีนมาตลอดแต่ก็ไม่พบปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว จึงเป็นไปได้ว่าการเกิดโรคออทิสติกในเด็กกลุ่มนั้นน่าจะเกิดจากการเลี้ยงดู หรืออาการแฝงที่มีมาตั้งแต่กำเนิดมากกว่า

      2. วิตามินเสริมทำให้สุขภาพดียิ่งขึ้น 

        หลายคนกินวิตามินเสริมมื้อละหลายอย่าง เช่น วิตามินบี ซี อี รวมไปถึงแคลเซียม เป็นต้น โดยเชื่อว่ายิ่งกินมากจะยิ่งทำให้สุขภาพดีมากขึ้น แต่นั่นไม่ใช่เรื่องจริง เพราะโดยปกติแล้วเราได้รับวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ พอดีกับความต้องการของร่างกายอยู่แล้วหากในแต่ละวันเรากินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และการกินอาหารเสริมอาจจะยิ่งทำให้ร่างกายได้รับอันตรายจากการได้รับวินามินและแร่ธาตุบางอย่างเกินความจำเป็น เช่น ได้รับวิตามินซีมากไปอาจทำให้ท้องเสีย มีกรดในกระเพาะสูง ปวดตามข้อ กระดูกพรุน ปวดศีรษะโลหิตจาง การลดลงของฮอร็โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน เป็นต้น

     3. อากาศหนาวเย็นทำให้ไม่สบาย 

        จริง ๆ อากาศหนาวเย็นไม่ได้ทำให้เราป่วยหรือเป็นหวัดอย่างที่คิด แต่การที่เราเป็นหวัดก็เนื่องมาจากร่างกายอ่อนแอและได้รับเชื้อไวรัสที่มีอยู่แทบทุกที่รอบตัว สังเกตได้จากหลาย ๆ คนที่อยู่ในที่หนาวเย็นโดยส่วนใหญ่ก็ยังสุขภาพดีได้ แต่เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคนั้นแท้จริงอยู่ภายในบ้าน และในช่วงที่อากาศหนาวเย็นเราก็มักจะอยู่แต่ในบ้าน ไม่ค่อยออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการรัไม่สบายได้ จริง ๆ แล้วมีผลการวิจัยว่าการได้รับอากาศหนาวเย็นบ้างยิ่งดีต่อสุขภาพ เพราะจะช่วยเพิ่มอัตราการเร่งของหัวใจ ทำให้ร่างกายอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายได้ทำงานนั่นเอง

     4. สมองของเราทำงานเพียง 10%

         มีการทดสอบด้วยการสแกนสมองในขณะที่มีการทำงาน ทำกิจกรรม หรือแม้แต่การหัวเราะ ผลปรากฏว่าสมองแทบทุกส่วนยังคงทำงานประสานกันเป็นปกติและตลอดเวลา ซึ่งไม่พบว่าจะมีสมองส่วนใดเลยที่หยุดนิ่ง ไม่ทำงาน หรือไม่ถูกกระตุ้น ดังนั้นความเชื่อนี้จึงไม่เป็นความจริง แต่การที่ยังคงมีความเชื่อนี้ ก็เนื่องมาจากความพยายามที่จะกระตุ้นให้เราพัฒนาทักษะความสามารถของตัวเองให้ถึงขีดสุด มากกว่าการหยุดขี้เกียจอยู่กับที่

     5. น้ำตาลทำให้เด็กอาละวาด

         เชื่อกันว่าถ้าให้เด็ก ๆ กินของหวานเมื่อไหร่ เขาจะกระตือรือร้นจนเข้าขั้นอาละวาดไม่หยุดเลยทีเดียว ความเชื่อนี้ไม่เป็นความจริง แม้ว่าน้ำตาลทำให้เด็กตื่นตัวก็จริง แต่ก็ทำให้เด็กมีความสงบลงมากกว่าอารมณ์รุนแรง มีการวิเคราะห์ว่าความเชื่อดังกล่าวน่าจะมาการที่พ่อแม่เห็นเด็ก ๆ มารวมตัวกัน กินขนมและของหวาน และเล่นกันแบบควบคุมไม่อยู่ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ได้มาจากผลของน้ำตาลโดยตรง แต่เป็นผลมาจากความกระตือรือร้นของเด็ก ๆ เองที่ได้กินขนมและได้สนุกกับเพื่อน ๆ มากกว่า

     6. ต้องตื่นอยู่เสมอเมื่อได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนรุนแรง

         ไม่ใช่ทุกอุบัติเหตุที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมองที่เราจะต้องตื่นอยู่ตลอดเวลา หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ในเบื้องต้น เช่น การตรวจการการได้ยิน การเบิกตัวของม่านตา การพูดจา และการรับรู้ความรู้สึก เราก็สามารถหลับหรือหมดสติได้ตลอดเวลาโดยไม่มีอันตราย ซึ่งจะต่างจากการที่สมองได้รับการกระทบกระเทือนจากรถชน หรือล้มหัวฟาดอย่างรุนแรงที่มักจะได้รับการวินิจฉัยว่าจะต้องทำให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดอาการขั้นโคม่าได้หากหมดสติไป

     7. หมากฝรั่งจะอยู่ในท้องนานถึง 7 ปี หากเผลอกลืนเข้าไป 

         หมากฝรั่งก็ไม่ต่างจากอาหารทั่วไปที่เรากินค่ะ แต่ที่ต่างคือ เมื่อกลืนลงท้องไปแล้วจะไม่ถูกย่อยเพราะน้ำย่อยในร่างกายไม่เหมาะกับการย่อยหมากฝรั่ง และหมากฝรั่งก็ไม่มีสารอาหารให้ร่างกายได้ดูดซึม สิ่งที่ร่างกายทำได้คือ การขับหมากฝรั่งออกมาพร้อมกับของเสียต่าง ๆ ตามกระบวนการขับถ่ายตามปกตินั่นเอง

     8. อ่านหนังสือในที่มืด หรือนั่งดูทีวีใกล้ทำให้เสียสายตา

        จริง ๆ แล้วการทำเช่นนั้นไม่ใช่สาเหตุของการเกิดอาการสายตาสั้นอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ แต่อาการปวดตา แสบตา หรือปวดหัวจากการอ่านหนังสือในที่มืดหรือดูทีวีใกล้ ๆ มาจากการที่เราต้องเกร็ง หรือเพ่งเพื่อปรับโฟกัสในการใช้สายตาได้อย่างเต็มที่ และมองเห็นได้ชัดเจน แต่การนั่งดูทีวีใกล้ ๆ กลับเป็นอาการบ่งชี้ว่าเราอาจจะสายตาสั้นเสียมากกว่า 

     9. ควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว

         ความเชื่อนี้ดูจะทำให้คนทั่วโลกต้องทำตาม แต่จริง ๆ แล้วการที่ร่างกายต้องการน้ำวันละ 2.5 ลิตร (หรือประมาณ 8 แก้ว) นั้นไม่ใช่จากการดื่มน้ำสะอาดเพียงอย่างเดียว น้ำปริมาณ 2.5 ลิตรที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันนั้นยังรวมถึงน้ำจากอาหารต่าง ๆ ที่เรากินในแต่ละวันด้วย เช่น ข้าว ผลไม้ เป็นต้น แต่หากใครยังอยากดื่มน้ำวันละ 8 แก้วอยู่ก็ไม่เสียหายแต่อย่างใด อย่างน้อย ๆ ก็ช่วยให้ผิวชุ่มชื่นและขับของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้น

     10. ว่ายน้ำหลังจากกินอิ่มทันทีจะทำให้เป็นตะคริว

         ความเชื่อนี้ทำให้หลายคนถึงกับเซ็ง เพราะแทนที่จะลงว่ายน้ำได้ทันทีหลังจากกินข้าวหรือของว่างได้เลย แต่กลับต้องรอจนหายอยาก ความเชื่อนี้ไม่เป็นความจริง เพราะตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่าเราจะกินอิ่มหรือไม่ก็ตาม ตะคริวเกิดจากการที่กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งหรือใช้กำลังมาก ๆ ดังนั้นควรวอร์มร่างกายก่อนลงน้ำทุกครั้ง การว่ายน้ำหลังจากกินอิ่มทันทีมักจะทำให้เกิดอาการเดียวคือ จุก เพราะคุณอาจจะกระโดดลงน้ำอย่างแรง หรือโหมว่ายหรือเล่นมากไปจนแรงดันของน้ำอาจทำให้เกิดอาการจุกได้มากกว่าเป็นตะคริว

 

Credit: http://women.thaiza.com/
30 ม.ค. 56 เวลา 16:39 1,452 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...