เปาบุ้นจิ้น
มีชื่อจริงว่าเปาเหวินเจิ่ง (包拯) ชาวจีนเรียกว่า เปากง (หมายถึง ปู่เปา) ส่วนคำว่า เปาบุ้นจิ้น นั้น เป็นคำในสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เปาอุ๋นเจิ่ง หน้าสุสานบันทึกไว้ว่า เปาเซี่ยวซู่[1]
ประวัติ
มีประวัติเล่าว่าเปาบุนจิ้นรับราชการเป็นเวลา 45 ปี ในฝ่ายบริหาร เริ่มตั้งแต่นายอำเภอ เจ้าเมือง ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน เจ้าเมืองไคฟง เสนาบดีการคลัง เป็นต้น ประวัติของเปาบุ้นจิ้นส่วนใหญ่เน้นที่การตัดสินความ แม้ว่าความจริงแล้ว เปาบุ้นจิ้นไม่ได้มีอาชีพเป็นตุลาการโดยตรงก็ตาม ความเด็ดเดี่ยว กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้คนพากันยกย่อง และคอยร้องทุกข์ต่อเปาบุ้นจิ้นเสมอ
เปาบุ้นจิ้นมีหลักในการบริหารว่า "จิตใจสะอาด บริสุทธิ์ คือหลักแก้ไขปัญหามูลฐาน ความเที่ยงตรงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จงจดจำบทเรียนในประวัติศาสตร์ไว้ อย่าให้คนรุ่นหลังเย้ยหยันได้"
นอกเหนือจากการตัดสินคดีอย่างตรงไปตรงมาแล้ว เปาบุ้นจิ้นก็ยังมีชื่อเสียง ในฐานะข้าราชการตงฉิน ไม่เคยรับสินบนใดๆ แม้จะเป็นของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม
มีการเขียนยกย่องเปาบุ้นจิ้นไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์จีน ว่า "เป็นคนตรงไปตรงมา รังเกียจข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกดขี่ขูดรีดประชาชน แม้จะเกลียดคนเลว แต่ท่านก็มิใช่เป็นคนดุร้าย ท่านเป็นคนซื่อสัตย์และให้อภัยคนทำผิดโดยไม่เจตนา ท่านไม่เคยคบคนง่ายๆ อย่างไร้หลักการ ไม่เสแสร้งทำหน้าชื่นและป้อนคำหวานเพื่อเอาใจคน ท่านมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน จึงไม่มีฝักไม่มีฝ่าย แม้ว่ายศฐาบรรดาศักดิ์สูงส่ง เสื้อผ้า เครื่องใช้และอาหารการกินก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อครั้งยังเป็น คนสามัญธรรมดาเลย เปาบุ้นจิ้นนับว่าเป็นคนที่มีอายุยืนยาวคนหนึ่ง เปาบุ้นจิ้นมีอายุถึง 105 ปีก่อนจะสิ้นใจ
ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเปาบุ้นจิ้นนี้มีปรากฏการบันทึก ไว้เพียงเล็กน้อย แต่มีการแต่งไว้ในเรื่องพื้นบ้าน นิทาน หรือละครมากมาย ซึ่งนับได้ว่าเรื่องราวการสอบสวนคดีของเปาบุ้นจิ่น ถือเป็นนิยายแนวสืบสวนสอบสวนเรื่องแรกของโลกด้วย ไม่ว่าจะเรื่องราวเหล่านั้นแปลกออกไปเพียงใด เนื้อแท้ก็คงยังต้องการสะท้อนความจริงที่ว่าสังคมยังต้องการยกย่อง คนทำดี และมีความชื่นใจที่คนทำชั่วได้รับผลกรรม
ปัจจุบัน เปาบุ้นจิ้นได้รับการเคารพยกย่องเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง ทั้งจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ชาวจีนโพ้นทะเล และชนชาติอื่นๆ แม้กระทั่งชาวไทย และมีการสร้างเรื่องราวเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง
รูปเคารพที่ว่ากันว่าสร้างหลังจากเปาบุ้นจิ้นถึงแก่อนิจกรรมได้นำ มาไว้ในเมืองไทยโดยตั้งอยู่ที่อเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน) ใกล้กับวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
รูปศาลไคฟง (ภาพประกอบจริงในประเทศจีน) สามารถไปชมภายในได้ ปัจจุบันอยู่ในอำเภอไคฟงหรือไคเฟิงเดิมจมน้ำไปแล้วเมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ประเทศจีนเป็นศาลที่ในสมัยก่อนเปาบุ้นจิ้นเคยตัดสินคดีที่นี่ โดยปัจจุบันในเวลา 9 นาฬิกา จะมีเปาบุ้นจิ้นตัวปลอม ออกมาการแสดงเปิดศาลไคฟงและออกมารับเรื่องราวร้องทุกข์
เครื่องประหารทั้ง 3 -หัวมังกรสำหรับเชื้อพระวงศ์ -หัวเสือใช้ประหารขุนนางและข้าราชการ -หัวสุนัขเอาไว้ประหารคนทั่วไป แต่ก็แล้วแต่การพิจารณาถึงความเลวของคนด้วยว่าควรจะใช้เครื่องประหารประเภท ใด จะจัดแสดงไว้ที่หน้าห้องตัดสินคดีความ ด้านในจะมีหุ่นขี้ผึ้งของคนในศาลไคฟง บริเวณด้านหลังที่ทำการจะมี“ชิงซินโหลว“ หรือ “บ้านใจบริสุทธิ์” เป็นหอสูง 4 ชั้น ที่ว่ากันว่าบ้านหลังนี้ คือบ้านของเปาบุ้นจิ้น โดยในหอชั้นที่ 1 จะมีรูปปั้นเปาบุ้นจิ้นอยู่ รูปปั้นนี้หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ สูง 3.8 เมตร หนัก 5.6 ตัน นับเป็นรูปปั้นที่หนักที่สุดในเมืองจีน อ้างอิง นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่28 ฉบับที่ 7 , พฤษภาคม 2550 หน้า 162 ข้อมูลจากและรูปภาพ กูเกิ้ล สนับสนุนอย่างเป็นทางการ