"พ่อแม่"ส่วนใหญ่ ทำไมต้องโกหกเด็ก?

ผลการศึกษาครอบครัวในสหรัฐฯและจีนชี้ว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่มักใช้การโกหกลูก ซึ่งเป็นเทคนิคเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก


ทั้งนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่จะเกิดในกรณีที่พ่อแม่ขู่จะทิ้งเด็กไว้คนเดียวในที่สาธารณะ หากพวกเขาไม่เชื่อฟัง


วิธีการการชักจูงใจเด็ก มีตั้งแต่การการขอความช่วยเหลือจาก  "นางฟ้าฟันน้ำนม" เพื่อให้ช่วยบอกเด็กๆว่า พวกเขาอาจจะตาบอด หากไม่ยอมกินผัก หรือตัวอย่างที่ดูมีกลยุทธิ์อย่างเช่นการชมเด็กๆว่าเขาเล่นดนตรีได้ไพเราะ แม้ความจริงจะไม่เป็นเช่นนั้น


ผลการศึกษา ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา ได้ทำการวิเคราะห์การใช้กลวิธี"โกหกให้เป็นประโยชน์"  และพบว่าการใช้กลยุทธิ์โดยการปลูกฝังความเชื่อที่ผิดๆ มักใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้ปกครองทั้งในสหรัฐฯและจีน โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์กว่า 100 ครอบครัว


โดยการโกหกที่ใช้กันทั่วไป และได้รับความนิยมมากในครอบครัวของสองประเทศ ก็คือการที่พ่อแม่แสร้งทำเป็นว่ากำลังจะเดินหนีเด็ก ให้อยู่เพียงลำพัง หากพวกเขาแสดงอาการเกรี้ยวกราดและไม่เชื่อฟัง นักวิจัยกล่าวว่า การแพร่ขยายของวิธีการโกหกเช่นนี้ อาจเชื่อมโยงกับความเป็นสากลของความท้าทาย ที่พ่อแม่ที่ต้องเผชิญหน้ากับการขัดใจเด็ก


ส่วนการโกหกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสองประเทศ คือการให้คำสัญญาแบบขอไปที ว่าจะซื้อของให้ในอนาคต หากเด็กเรียกร้องขอสิ่งของบางอย่าง


นักวิจัยยังสามารถแบ่งการโกหกออกเป็นหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือ "การใช้ถ้อยคำที่ไม่มีทางเกิดขึ้นจริงกับการประพฤติตนไม่สมควรของเด็ก" เช่น "หากลูกไม่เชื่อฟัง แม่ก็จะบอกตำรวจให้มาจับตัว" หรือ "หากหนูยังไม่เงียบและทำตัวดีๆ ผู้หญิงคนนั้นเขาจะโกรธเอานะ"


ส่วนการโกหกประเภท "การใช้ถ้อยคำที่ไม่มีทางเกิดขึ้นจริงที่โยงกับการอยู่หรือไป" อาทิ " หากลูกไม่ตามพ่อมา โจรจะมาเอาตัวลูกไไปตอนพ่อไม่อยู่นะ"


นอกจากนั้น ยังมีคำโกหกในทางบวก ที่มีน้ำเสียงแสดงความห่วงใยและคำนึงถึงความรู้สึกของเด็ก ซึ่งถูกระบุในประเภท "การใช้ถ้อยคำที่ไม่มีทางเกิดขึ้นจริงโดยคำนึงถึงอารมณ์ในแง่บวก" อาทิ "หมาของหนูจะไปอยู่ที่บ้านลุง ที่นั่นจะมีทุ่งกว้างๆให้มันวิ่งเล่น"


นอกจากนั้น ยังมีการโกหกในลักษณะ"เข้าข้างตนเอง" ที่ใช้เพื่อต้องการหลีกหนีจากสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งอย่างรวดเร็ว อย่างในกรณีในร้านขายของเล่น อาทิ "วันนี้ไม่ได้เอาเงินมาด้วย แล้วเรามาซื้อกันวันหลังนะ"


ผลการศึกษายังไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างคำโกหกที่พูดโดยพ่อและแม่  ตามคำกล่าวของนักวิจัยจากภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-ซานดิเอโก, มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง, มหาวิทยาลัยจิ้นหัวจากจีน และมหาวิทยาลัยโตรอนโต


แม้จะพบว่ากลวิธี"โกหกให้เป็นประโยชน์" ถูกใช้ค่อนข้างมากในสองประเทศ แต่พบว่าจีนมีระดับการใช้สูงสุด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มพ่อแม่มีการยอมรับการใช้การโกหกเช่นนี้ โดยเฉพาะเมื่อต้องการเสริมให้เกิดพฤติกรรมทางสังคมที่น่าชื่นชม ตัวอย่างเช่น พ่อแม่โกหกเด็กว่าพวกเขาจะโตขึ้นในทุกคำที่กินผัก ซึ่งเป็นการกระตุ้นเด็กให้เกิดพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพ


ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นถึงประเด็นผลกระทบต่อครอบครัวในระยะยาว หากต้องพูดความจริง หรือเมื่อเด็กทราบความจริงในภายหลัง โดยเสนอให้ครอบครัวเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น


นักวิจัยสรุปว่า งานวิจัยชิ้นนี้ก่อให้เกิดคำถามด้านศีลธรรมที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ ว่าเมื่อใด การโกหกนั้นได้รับการพิสูจน์ว่ามีเหตุผลพอ

 

26 ม.ค. 56 เวลา 17:29 1,573 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...