ปฐมบทของโรคซึมเศร้า

 

 


ปฐมบทของโรคหดหู่ 5 โมงเย็น โรคเหงา on time หรือ โรคซึมเศร้า เกิดจากยามพระอาทิตย์จะลับโลก ประสาทรับแสงที่ตาจะส่งข้อมูลไปยังสมองส่วนควบคุมเวลาอัตโนมัติ ว่าถึงเวลาพักงานของจิตสำนึก เพื่อเข้าสู่่ Standby Mode แล้ว คือถึงเวลานอน ให้สมองได้ทำการ Disk Defragment, Cleanup Disk etc. เพื่อให้มีเนื้อที่ในสมองสำหรับรับเรื่องใหม่ในวันรุ่งขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ใน Standby Mode ประสาทตาจะรับแสงน้อยลง เพื่อเตรียมพัก จนง่วง เหงา หาว นอน และหลับไปในที่สุด

นี่คือธรรมชาติปกติของมนุษย์ !!!

แต่ชีวิตในสังคมปัจจุบัน มันไม่เป็นไม่ตามธรรมชาติ คนทำงานข้ามเวลาเปลี่ยนกะของระบบประสาทไป เลยไม่ค่อยรับรู้ตอนเกิดการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่

ปัญหาจึงเกิดยามว่างคือ วันหยุด หรือ วันว่างหลังเกษียร หรือ วันของวัยที่ไม่ต้องทำมาหากินแล้ว เนื่องจากมีทรัพย์เพียงพอแล้ว การรับรู้ถึงความมืดสลัว เงียบ ยามเปลี่ยนกะเพื่อเข้าสู่ Standby Mode ให้จิตใต้สำนึกเริ่มทำงาน เพิ่งถูกสังเกตุ ทำให้รู้สึกไปว่าจิตเศร้าหมอง จิตสำนึกไม่ยินยอมพร้อมใจ คิดว่าเป็นปัญหา เป็นป่วย เป็นโรค ต้องแก้ไข สมองเลยตั้งเป็นคำสั่งให้หาทางพ้นทุกข์อันนี้ เรื่องธรรมชาติปกติอันนี้เลยกลายเป็นทุกข์ เป็นโรคหดหู่ ซึมเศร้า เหงา เงียบ ไปโดยปริยาย ซึ่งหากไม่เข้าใจสาเหตุแท้ จะหลงไปแก้ไขหลายทาง บ้างว่าน่าจะเป็น พากินสัน อัลไซเมอร์ ฯลฯ และจะแก้ได้ยากขึ้น เพราะเมื่อแก้แล้วไม่หาย จะเกิด Panic และคำสั่งจะวนลูปให้หาทางแก้ปัญหานี้ซ้ำลงไปเรื่อย ๆ จนติดเข้าไปเป็นระบบอัติโนมัติ ทำให้ เกิดความเหงาฝังใจ แกะได้ยาก

คราวนี้ไม่ต้องโพล้เพล้ก็เหงา ก็เศร้าได้ ในหัวจะวนเวียนแต่ความน่ากลัว ของคำว่า โรคประสาท หรือ บ้า จนส่งผลให้ไม่อยากเจอหน้าใคร ทำให้ยิ่งเหงาเข้าไปใหญ่ คนเยอะแค่ไหนก็เหงา แล้วจะแก้ปัญหาได้ยาก เพราะธรรมชาติเป็นสิ่งที่แก้ไม่ได้ มีแต่ต้องทำความเข้าใจ และอยู่กับมันอย่างสมดุลเท่านั้น

การกินเหล้า เที่ยวเตร่ หากิเลสต่าง ๆ มากลบเกลื่อนความเหงา เงียบ เศร้า หดหู่ ทำได้ก็จริง พอเย็นปุ๊บก็หาอะไรทำปั๊ป หยุดปุ๊บก็วางแผนโน่นนี่ให้ยุ่ง ๆ เข้าไว้ ตั้งเป้าหมายชีวิตให้สูงขึ้น ๆ เพื่อจะได้มีเรื่องคิดให้มาก จะได้ไม่ว่างมารับรู้ความรู้สึกตอนเปลี่ยนกะที่เราคิดว่าเป็นโรค เป็นการแก้ปัญหาก็จริง แต่มันได้แค่ชั่วคราว หยุดเมื่อไหร่ก็รู้สึกได้อีก และถ้าหยุดนานมันก็เริ่มฝังคำสั่งอีกแก้ไม่เสร็จซักที

ผู้รู้และกลมกลืนกับธรรมขาติเท่านั้นจึงทุกข์น้อย เพราะไม่ส่งแรงไปดิ้นรนขัดขืนเปลี่ยนแปลงมัน แค่ดูมันด้วยความเข้าใจ และปรับตัวปรับใจให้กลับสู่ปกติตามที่มันควรจะเป็นชีวิตก็สดชื่นแล้ว และนี่จะเป็นก้าวแรกของความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบานในที่สุด

 


โรคซึมเศร้าเกิดเพราะต่อมไพเนียทำงานไม่สมบูรณ์ เพราะมันทำงานตอนมืด เลยถูกเรียกอีกชื่อเป็น ต่อมแห่งความมืด มันจะทำการผลิตเมลาโทนีน เมื่อตารับแสงน้อยลง คือตอนโพล้เพล้

คนในยุคปัจจุบัน ไม่ชอบบรรยายกาศช่วงโพล้เพล้ เพราะเราตื่นกันยันดึกทุกวันจนเป็นนิสัย พอวันไหนว่างพอจะรับรู้ยามโพล้เพล้ เราจะรู้สึกผิดปกติ เพราะเจ้าต่อมไพเนียลจะสั่งให้ร่างกายเข้าโหมดพักคือเตรียมนอน เพื่อเริ่มผลิตสารเมลาโทนินเอาไว้ใช้ยามตื่น แต่เรากลับเข้าใจว่ามืดคือเศร้า เลยกลัวมืด เลยพยายามทำให้สว่าง หาความสำราญ หางานมาต่อต้านความเศร้า ความมืด ต่อมเลยถูกแย่งเวลาทำงาน นานไป ๆ ร่างกายเลยขาด Melatonin เมลาโทนิน เลยขาดความสดชื่น และกลายเป็นโรคซึมเศร้าไปในที่สุด

วิธีแก้ไขง่าย ๆ คือปรับความคิด และนิสัยเสียใหม่ให้กลับมายอมรับธรรมชาติเดิม คืออยู่กับความมืดอย่างเข้าใจ ไม่สำนึกว่ามันเป็นสิ่งผิดปกติ (เพราะสิ่งปกติของคนในยุคนี้ คือความผิดปกติ) เมื่อทำความเข้าใจไปนานเข้า ๆ กระบวนการผลิตเมลาโทนีน ก็จะค่อย ๆ ปรับตัวกลับมาดังเดิม ความสดชื่นก็จะคืนกลับมา และโรคซึมเศร้าก็จะหมดไป


คนกลัวเหงา ต้องอยู่กับความเหงา ต้องอยากอยู่เงียบ ๆ คนเดียว ต้องอยากอยู่กับความมืด เพื่อให้โอกาสต่อมไพเนียลได้ทำงานของมัน ความเหงาจึงจะหมดไ

Credit: Dominic
25 ม.ค. 56 เวลา 23:16 2,013
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...