สีสันฉูดฉาดของเขตร้อน

เวลาที่เห็นสัตว์อะไรแปลก ๆ โดยเฉพาะพวกสัตว์เลื้อยคลานหรือแมลงที่มีสีสด ๆ จัดจ้าน ไม่ว่าเราจะรู้จักมันหรือไม่ก็ตาม เราก็มักจะรู้สึกว่ามันต้องอันตรายแหง ๆ นั่นอาจเป็นเพราะความรู้สึกจากประสบการณ์ที่ถูกถ่ายทอดมาตั้งแต่ยุคบรรพบุรุษ คงไม่มีใครที่แบบว่า "โอ้ กิ้งก่าสีแดงแปร๊ด น่าจับมาบีบเล่นจังเลย!"
 

[กิ้งก่าสไปเดอร์แมน : Spider-Man lizard (Mwanza Flat Headed Agama)]
 

ทำไมต้องสีสดใส การดึงดูดความสนใจมันไม่อันตรายหรือ?

สัตว์ที่มีสีสันสดใสแปลกตา มักจะเป็นสัตว์ที่อยู่ในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลก ต่างจากสัตว์ในเขตอบอุ่นหรือเขตที่อากาศหนาวที่มักมีสีหม่น ๆ หรือกลมกลืนไปกับธรรมชาติ แต่สีสด ๆ ก็ไม่ใช่ลักษณะทั่วไปของสัตว์เขตร้อนเหมือนกัน เพราะโดยมากพวกมันก็มีสีแบบธรรมดา ๆ เพื่อพรางตัว ไม่ใช่ว่าจะฉูดฉาดไปเสียทุกชนิด
 

[นกปักษาสวรรค์วิลสัน : Wilson's Bird of Paradise]


สาเหตุที่ทำให้มันต้องมีสีสันสด ๆ นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด มันอาจมีเหตุผลต่างกันไปในแต่ละชนิด แต่นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า สัตว์สีสดใสมักจะอยู่ในเขตที่มีสัตว์หลากหลายชนิดอาศัยรวมกันอยู่มาก เช่น ป่าดงดิบขนาดใหญ่ หรือ ตามแนวปะการัง พวกมันอาจต้องมีมีสด ๆ เพื่อให้พวกเดียวกันมองหากันได้ง่ายขึ้น และในกรณีของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่ต้องมีสีจัด ๆ เข้าไว้ก็เพื่อให้ศัตรูของมันจำได้ว่ามันมีพิษ ประมาณว่าถ้าเคยแตะต้องกบมีพิษเข้าไปแล้ว เจ้าสัตว์นั่นก็จะไม่กล้ายุ่งกับกบสีแบบนี้อีกเลย เป็นการเตือนว่า "กินชั้นแกตาย!" หรือ "อันตราย...ไม่ควรนำเข้าปาก!" แต่สัตว์สีสด ๆ ก็ไม่ได้มีพิษทุกตัวหรอก
 

[ปลาวัวมงกุฏ : Clown Triggerfish]


โดยมากสัตว์เขตร้อนที่ต้องมีสีสด ๆ มักจะเป็น ปลา นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมักมีสีที่เรียบง่ายและจืดชืด เช่น ขาว ดำ ขาว ๆ ดำ ๆ เทา น้ำตาล เป็นต้น สันนิษฐานว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้น บรรพบุรุษของมันเป็นสัตว์ที่ออกหากินในตอนกลางคืน จึงไม่จำเป็นต้องมีสีสันเอาไว้ทำอะไรมาก และนั่นทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนมากแยกแยะสีได้แย่ด้วย
 

[กบลูกศรสีทอง : Golden Arrow frog]
 
[ปาดตาแดง : Red Eyed Tree frog]
 

อย่างไรก็ตาม หลังจากสิ้นยุคไดโนเสาร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดก็ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเองโดยการเริ่มออกหากินตอนกลางวัน ทำให้เซลล์รับรู้สีค่อย ๆ พัฒนากลับคืนมา อย่างสัตว์พวกไพรเมต (ลิง ลิงใหญ่ มนุษย์) นั้นแยกแยะสีได้ดีมาก และนั่นอาจเป็นสาเหตุว่าทำไมลิงบางชนิดอย่าง ลิงแมนดริล จึงต้องมีสีแปลก ๆ สวย ๆ ประดับอยู่บนใบหน้า
 

[ลิงแมนดริล : Mandrill monkey]


แต่พวกไพรเมต ก็ยังแนกสีได้ไม่ดีเท่าพวกนก ซึ่งสามารถแยกแยะสีได้สูงมาก ๆ พวกมันมีเซลล์รับรู้สีถึง 4 เซลล์ที่แตกต่างกันเลยมีเดียว เท่ากับพวกมันสีแม่สี 4 สี ที่จะผสมเป็นสีต่าง ๆ และเซลล์รับรู้สีของมันทำงานได้ดีมากถึงขั้นที่ว่า ถ้ามันมองภาพศิลปะของมนุษย์ แล้วเห็นสีชมพู ที่เกิดจากการผสมระหว่างสีขาวกับสีแดง มันจะเห็นเป็นสีขาวกับสีแดง ไม่เห็นสีชมพู มันจะเห็นสีชมพูก็ต่อเมื่อสีชมพูนั้นเกิดจากสีที่สะท้อนคลื่นแสงสีชมพูจริง ๆ เท่านั้น ไม่ใช่สีที่เกิดจากการผสม

Credit: Dominic
21 ม.ค. 56 เวลา 08:58 3,562 1 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...