โจ๋เวียดคลั่งภาษาไทย ส่วนเด็กไทยบ้ากิมจิ




ในขณะที่เด็กไทยกำลังฝึกหัดพูดภาษาเกาหลี ด้วยความคลั่งไคล้จนเกิดกระแสหวาดหวั่น เกรงวัฒนธรรมไทยจะเกิดวิกฤต ลบเลือน แต่ทางด้านสังคมประเทศเพื่อนบ้านเรา อย่าง ประเทศเวียดนามนั้น ก็กลับมีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นคุณค่าของภาษาไทยแทนคนรุ่นใหม่ แดนสยาม ตลอดจนไขว่คว้าศึกษาทุกอย่างในความเป็นไทยมาให้ตนเองได้เรียนรู้ แม้โอกาสจะ ไม่ค่อยเอื้ออำนวย
     
      นางสาว ตั้น ตี้ เฟือง ถาว (TRAN THI PHUNG THAOX) หรือที่มีชื่อไทยว่า "กตัญญุตา" นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จาก มหาวิทยาลัย International of Vietnamถาวเล่าว่

าตนเองสนใจในภาษาไทยเป็นอย่างมากอันเนื่องมาจาก ความแปลกของ ภาษาไทยที่เขียนไม่เหมือนชาติอื่นๆและชื่นชอบในวัฒนธรรมของ ประเทศไทย จึงตัดสินใจเข้าเรียนระดับปริญญาตรีภาควิชาตะวันออกศึกษา เอกภาษาไทย
     
      “ภาษา ไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร มีการเขียนที่ไม่เหมือนชาติอื่น และก็มีวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนชาติอื่นๆ อย่าง อาจารย์และเพื่อนที่ประเทศไทยเล่าให้ฟังว่า นักศึกษาที่ประเทศไทยมักมีกิจกรรมทางประเพณีทำกันในมหาวิทยาลัย ด้วย อย่างที่ดิฉันรู้จักและอยากไปชมมาก ก็คือ ประเพณี ลอยกระทง และกิจกรรมอื่นๆอีกหลายอย่างที่ทำในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะดูมีความสนุกสนานมาก แตกต่างจากวัยรุ่นที่เวียดนามที่ส่วนใหญ่จะเรียนกันหนักและก็เครียด ด้วยอาจเป็นเพราะสภาพสังคมบีบให้ทุกคนอยากจะเรียนดี มีงานทำที่ดี จึงไม่กล้าที่จะวอกแวกหรือทุ่มเทเวลาให้กับกิจกรรมมากนักจึงทำให้ การเรียนใน ประเทศไทยเป็นที่น่าอิจฉา”ถาวเล่าปนน้อยใจ
     
      ส่วน "Hua DIEP PHUNG" หรือที่มีชื่อไทยว่า “เบญจวรรณ” นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย Vietnam National University ภาควิชาตะวันออกศึกษา เอกภาษาไทย เธอบอกว่าภาษาไทยสำหรับเธอนั้นจะช่วยให้เธอมีอนาคตที่ดีกว่าได้อ ย่างแน่นอน เพราะธุรกิจระหว่างประเทศเวียดนามและประเทศไทยกำลังเป็นที่เติบโต และจำนวน ของคนเวียดนามรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางภาษาไทยก็ยังมีอยู่ไม่ม ากหากเปรียบ เทียบกับคนที่รู้ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น
     
      “ นักศึกษาเวียดนามนิยมเรียนสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพราะจะมีรายได้ที่ดี และตลาดงานก็จะมีรองรับมากกว่าการเรียนสาขาอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ก็จะหาหนังสือภาษาไทยมาเรียนรู้แต่ก็มีจำนวนน้อยและก็ มี มหาวิทยาลัยเพียงไม่กี่แห่งที่เปิดสอนวิชาภาษาไทย ส่วนสื่อการเรียนรู้ อย่าง ซีดีหนังไทย ก็มีอยู่บ้าง แต่ก็จะเป็นหนังเก่าๆที่ไม่อับเด ตเท่าไร เพราะเนื่องจากหายากส่วนมากตลาดก็จะมีแต่หนังเกาหลี ตลอดจนไม่มีอินเตอร์เน็ตที่จะสืบค้นไปยังภาษาไทยมีแต่ภาษาอังกฤษ ฉะนั้นคนที่สนใจจริงเท่านั้นจึงจะสามารถพยายามและเรียนรู้ภาษาไทย ได้ เพราะภาษาไทยค่อนข้างยาก ส่วนหากจะมีโอกาสได้บริโภคสิ่งที่ตัวเองชอบ หนทางที่นิยมกันมากที่สุดก็คือ การฝากเพื่อนที่ไปประเทศไทยซื้อดีวีดีแต่โอกาสเหล่านั้นก็ไม่ได้ มีบ่อยๆ”
     
      ด้าน "Le The Hien" หรือ “ชัชวาล”นัก ศึกษาชั้น ปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัย Vietnam National University ภาควิชาตะวันออกศึกษา เอกภาษาไทย เล่าว่าตนเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ชื่นชอบภาษาไทยโดยสิ่งที่สนใจ เป็นพิเศษก็ คือเพลงป็อปไทยสากล และพยายามหามาฟังให้เยอะที่สุดเพราะจะช่วยเรื่องการฝึกออกเสียง ภาษาไทย โดยศิลปินที่กำลังชื่นชอบอยู่ตอนนี้ก็มี เบิร์ด ธงไชย และ บี้ เดอะสตาร์
     
      “ ในเวียดนามอาจจะมีซีดีเพลงไทยขาย แต่โฮจิมินห์ที่เราอยู่นั้นไม่มีขาย ถึงมีก็คงจะราคาแพงมากๆ เพราะเป็นตลาดส่วนน้อย ทำให้ในฐานะนักศึกษาก็คงจะใช้เงินเปลืองไม่ได้ เพราะที่นี่ส่วนใหญ่วัยรุ่นก็จะทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย และก็จะเสียดายเงินกันมาก ผม จึงอาศัยฟังผ่านเว็บยูทูปเป็นหลัก และอาจจะใช้เวลานานในการสืบค้นนิดหน่อยแต่ก็ไม่เกินความพยายาม เพราะเพลงไทยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นเพลงที่ฟังสบายๆ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพลงเหล่านี้ก็จะช่วยให้เราเรียนรู้ภาษาไทยได้มากย่างการฝึกออก เสียง และง่ายต่อการจดจำ จนบางที่คุณครูที่มหาวิทยาลัยก็จะนำเพลงต่างๆมาประกอบสื่อการสอน ด้วย”
     
      ปิดท้ายที่ อาจารย์ “ฟาน ถี่ เอี๊ยนตูวิ้ด” (PGS.TS PHAN THI YEN TUYET) อาจารย์กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศเวียดนามเปิดการเรียนสอนภาษาไทยอยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่า นั้น ซึ่งนักศึกษาเวียดนามที่อาศัยอยู่ในเมืองโฮจิมินห์และสนใจเรียน ภาษาไทยก็จะ มาเรียนที่มหาวิทยาลัย International of Vietnam เพราะเป็นแห่งเดียวที่เปิดสอนภาควิชาตะวันออกศึกษา เอกภาษาไทย โดยการเรียนการสอนก็จะสอนให้รู้จักกับความเป็นไทย เรียนรู้คนไทย วัฒนธรรมไทย ตลอดจนมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนกับเด็กไทยที่นับเป็นโอกาสที่หาได้ยาก สำหรับเด็ก เวียดนาม
     
      “ขณะ นี้ในคณะมีคนสนใจเรียนภาษาไทยรุ่นนี้มีอยู่ ทั้งหมด 64 คน ซึ่งเด็กที่เรียนภาษาไทยทุกคนต่างก็ตั้งใจเรียนและชื่นชอบในการทำ กิจกรรม ต่างๆระหว่างเรียนของประเทศไทย อย่างการมีนักศึกษาแลกเปลี่ยน เขาก็ได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาอยากรู้และไม่มีโอกาส แม้ว่าพอถึงเวลาที่เด็กไทยเดินทางมาแลกเปลี่ยนจริงๆ เด็กเวียดนามจะยังมีความเขินอายไม่กล้า
     
      แต่ เด็กไทยก็จะมีมนุษยสัมพันธ์ที่จะสามารถเข้ามาทำความรู้จักและพูด คุยกับเด็ก เวียดนามให้เกิดความเคยชิน ซึ่งก็จะตรงกับความต้องการของนักศึกษาเวียดนามที่อยากจะเรียนรู้และ ได้ศึกษา ความเป็นไทยจากนักศึกษาไทย แม้เด็กไทยจะพูดไม่ถูกอักขระทำให้เด็กเวียดนามที่เรียนมางงๆอยู่ ก็ตาม แต่นี่ก็นับว่าเป็นการเรียนรู้การติดต่อสื่อสารแบบการใช้จริงและ เป็นสิ่งที่ น่าจะพัฒนาให้ประเทศเวียดนามมีบุคลากรใหม่ๆตอบโจทย์ธุรกิจในอนาคต ต่อไป ”อาจารย์สรุป



ASTV

13 ก.พ. 53 เวลา 19:10 3,855 43 242
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...