ชาย แดนไทย-พม่า มีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ง่าย อย่างที่ทราบกันดีว่า มีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารพม่ากลุ่มต่างๆ เคลื่อนไหวตามแนวชายแดนไทย-พม่าอยู่ ส่วนทางการไทยก็หนักใจกับปัญหาการค้ายาเสพติดที่มีโรงงานผลิตยาอยู่ใกล้ชาย แดนไทย-พม่า เช่นกัน นอกจากนั้นเวลารัฐบาลทหารพม่ายกกำลังเข้าปราบปรามกลุ่มชนส่วนน้อยที่ต่อต้าน รัฐบาล ก็จะมีปัญหาการอพยพหลบภัยสงครามข้ามเข้ามาสู่ชายแดนไทย เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นประจำ แต่ที่ลุกลามใหญ่โตจนเกิดการปะทะกันระหว่างกำลังทหารของสองประเทศนั้นเกิด ขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ทหาร รัฐบาลพม่า ได้รับคำสั่งให้สนับสนุนกองทหารว้า ของ United Wa State Army (UWSA) ในการสู้รบกับกลุ่มกบฏรัฐฉาน (Shan State Army, SSA) ปัญหาก็คือ การเข้าตีกองกำลังรัฐฉานตรงๆ นั้น ยากที่จะเข้าตีได้ เพราะกองทัพรัฐฉานมีฐานที่มั่นอยู่ในชัยภูมิที่ได้เปรียบ อีกทางหนึ่งที่ง่ายกว่าคือ ตีโอบหลัง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า กองทัพรัฐฉานมีกองกำลังอยู่ชิดชายแดนไทย การตีโอบหลังต้องผ่านชายแดนไทยเข้ามา จุดยุทธศาสตร์ตรงบริเวณนี้คือ ฐานทหารพรานบนเนิน ๙๖๓๑ ซึ่งอยู่บนยอดเขาบริเวณบ้านปางนุ่น กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง ลึกเข้าไปในชายแดนไทย ๑ กม. ใกล้ๆ กันคือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มั่นแห่งนี้มีทหารพรานประจำการอยู่ ๒๐ นาย ภารกิจหลักของฐานแห่งนี้คือ การสกัดการขนยาเสพติดข้ามแดน ฝ่ายพม่ามีกำลังอยู่บริเวณนั้น ๙๐๐ นาย เสริมด้วย ทหารว้าอีก ๖๐๐ นาย
เย็น วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ทหารพม่า ๒๐๐ นายเข้าโจมตีฐานทหารพรานแห่งนี้ ฝ่ายทหารพรานได้สังหารทหารพม่าได้ ๑๔ นาย บาดเจ็บอีกราว ๓๐ นาย หลังปะทะกันได้ ๔ ชั่วโมง ฝ่ายทหารพรานเสียชีวิต ๒ นาย(ภายหลังพบว่า หนึ่งในสองที่คาดว่าตายนั้นยังไม่ตาย) บาดเจ็บอีก ๑๑ นาย กระสุนเริ่มร่อยหรอลง จึงขออนุญาตถอนกำลังพร้อมกับนำผู้บาดเจ็บเสียชีวิตออกมาด้วย เนิน ๙๖๓๑ ตกอยู่ใต้การยึดครองของทหารพม่า ซึ่งยิงไล่หลังทหารพราน ฝ่ายไทยหลังได้รับรายงานได้ส่งกำลังจากกรมทหารม้าที่ ๓ กองพลทหารม้าที่ ๑ เข้าไปช่วยทันที ในชั้นแรกคือ ช่วยทหารพรานออกมาก่อน เพราะตอนนั้นมืดแล้ว ยังไม่ทราบกำลังที่แท้จริงของพม่าว่ามีเท่าไหร่ จึงได้แต่ตรึงกำลังไว้ก่อนไม่ให้มีการรุกล้ำเข้ามามากกว่านี้
วัน ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ กรมทหารม้าที่ ๓ ได้รับการเสริมกำลังจากรถสายพานลำเลียงพล M-113A-3 หนึ่งกองร้อย และรถถัง M-60A-3 อีกหนึ่งกองร้อย ทั้งหมดอยู่ภายใต้การบัญชาการของร้อยเอก สงกรานต์ นิลพันธุ์ นอกจากนี้ทางด้านอำเภอแม่สาย ได้มีการเสริมกำลังเช่นกัน ทหารไทยพร้อมด้วยกำลังเสริมได้เข้าตีชิงฐาน บนเนิน ๙๖๓๑ คืน อย่างไม่ยากเย็นนัก ทหารพม่าถอนกำลังกลับข้ามชายแดนไป ทิ้งศพพรรคพวกไว้ ๑๗ ศพ และผู้บาดเจ็บอีก ๖๐ คน ในขณะที่กำลังฝ่ายไทยบาดเจ็บ ๗ นาย
เช้า วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ทหารพม่า ๓ กรม สนับสนุนด้วยรถถัง T-69 ที่ได้รับมาจากจีน และปืนใหญ่ เข้าโจมตีอำเภอแม่สาย ฝ่ายไทยตอบโต้ด้วยรถถัง M-60A3 และเครื่องบินขับไล่ F-5 ที่บินมาจากสนามบินเชียงใหม่ ที่ใช้ลูกระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ (LGB) นอกจากนั้นฝ่ายไทยยังมีปืนอัตตาจร ๑๕๕ มม. แบบ M-109 และปืนใหญ่กลางระยะยิงไกลมากอย่าง GCN-55 (ยิงได้ไกลถึง ๔๕ กม.) ทำให้ฝ่ายพม่าได้รับความเสียหายอย่างมาก เครื่องบินของไทยยังทำการโจมตีหน่วยส่งกำลังบำรุงของพม่าด้วย
ขณะ ที่ ทั้งสองฝ่ายกำลังสู้รบกันอยู่นั้น ฮ. UH-1H ของทอ. ถูกยิงจากภาคพื้นดินตกบริเวณเขตอำเภอแม่อาย ขณะกำลังบินสนับสนุนเสบียง นักบินนำเครื่องร่อนลงฉุกเฉินได้สำเร็จ ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
เวลา ๑๙๓๐ ทั้งสองฝ่ายหยุดยิง (ไทยกับพม่า) แต่ยังมีเสียงการปะทะกันทางฝั่งพม่า เนื่องจากฝ่ายพม่านำกำลังเสริมจากเก็งตุง มายังท่าขี้เหล็ก และปะทะกับกองทัพรัฐฉานของเจ้ายอดศึก
ปืน ใหญ่ทั้งสองฝ่ายดวลข้ามชาย แดนกัน และมีการโจมตีทางอากาศโดยเครื่องบินของกองทัพอากาศไทย ที่ใช้เชียงใหม่เป็นฐานบินสำหรับปฏิบัติการครั้งนี้ และถือว่าเป็นปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ระหว่างวันที่ ๑๐ ถึง ๑๒ กุมภาพันธ์ เครื่องบินขับไล่ของไทยทำการบินรบกว่า ๗๐ เที่ยวบิน รวมทั้งการโจมตีด้วยลูกระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ต่อฐานปืนใหญ่ของพม่าที่ตั้ง ฐานอยู่ในสนามกอล์ฟแห่งหนึ่งในท่าขี้เหล็ก ปฏิบัติการครั้งนี้ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ F-5F หนึ่งเครื่องและเครื่องบินขับไล่ F-5E อีก ๓ เครื่อง เครื่องบิน F-5F ติดกระเปาะ WSO ที่ผลิตในอิสราเอล ทำหน้าที่ชี้เป้า ส่วน F-5E อีก ๓ เครื่อง บินเข้าหาเป้าหมายจากทิศทางที่ต่างกัน เข้าโจมตีด้วยระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ ขนาด ๒,๐๐๐ ปอนด์ ๖ ลูก ลูกระเบิดเข้าสู่เป้าหมายทุกลูก ปืนต่อสู้อากาศยานของพม่ายิงขึ้นมาสกัดกั้นอย่างเบาบาง และไม่มีเครื่องบินของไทยเครื่องใดได้รับความเสียหาย
ไม่มีเครื่องบินกองทัพอากาศพม่าออกปฏิบัติการ
เครื่อง บินขับไล่ F-5E/F ของไทยได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยในต้นปี ๒๕๓๓ โดยติดตั้งระบบนำร่องของ Litton และเสริมความแข็งแรงของไพล่อนกลางลำตัว ให้สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ถึง ๑,๕๐๐ กก., และไพล่อนใต้ปิดด้านในรับน้ำหนักได้ถึง ๑,๐๐๐ กก./ด้านนอกรับน้ำหนักได้ ๕๐๐ กก. ระหว่างปฏิบัติการ F-5E แต่ละเครื่องบรรทุกลูกระเบิด LGB ๒ ลูก
ไม่ มีเครื่องบินของกองทัพอากาศพม่าออกปฏิบัติในช่วงที่มีการปะทะกันนี้ เพราะเครื่องบินขับไล่ F-7 ถูกส่งไปปรับปรุงที่อิสราเอล ในข้อเท็จจริงช่วงนั้น ผู้นำทหารพม่าได้สั่งการให้หน่วยบิน F-7 สามหน่วยกระจายกำลังออกไป ซึ่งจะทำให้มีเครื่องบินขับไล่ F-7 ๓๐ เครื่องที่พร้อมปะทะกับฝ่ายไทย อย่างไรก็ตาม มีเพียง ๖ เครื่องที่ประจำอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Kengtung ที่อยู่ห่างจากท่าขี้เหล็กไปทางเหนือราว ๑๕๐ กม. ระยะทางบินขนาดนี้ ทำให้เครื่องบินขับไล่ F-7 ที่ติดอาวุธเต็มที่ หนักเกินกว่าที่จะทำการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงไม่มีวี่แววที่เครื่องบินขับไล่ F-7 จะมาสกัดกั้นเครื่องบิน F-5 ของไทย เครื่องบินของกองทัพอากาศพม่าที่เหลือได้แก่ เครื่องบินฝึกขั้นสูงแบบ PC-7 ๑๗ เครื่อง, PC-9 ๔ เครื่อง และเครื่องบินฝึก G-4 Super Galeb อีก ๔ เครื่อง มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่บินได้ เครื่องบินโจมตี A-5M ยิ่งมีสภาพต่ำยิ่งกว่าเครื่องบิน F-7 เสียอีก
การ ป้องกันภัยทางอากาศของพม่ามีการซื้อจรวดต่อสู้อากาศยาน SA-16 จากบุลกาเรีย, MiG-29 จากรัสเซีย ข่าวกรองรายงานว่า MiG-29 ที่พม่าซื้อไปเป็นเครื่องที่อิรัคสั่งซื้อแต่ยังไม่ส่งมอบ เมื่อพิจารณาจากข่าวที่รายงานว่า นักบินพม่าได้รับการฝึกบินที่อินเดีย ซึ่งคาดว่าการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ช่างเครื่อง คงจะต้องรับการฝึกจากอินเดียเช่นกัน
การ ปะทะกันของทั้งสองฝ่ายจบลง ด้วยการเจรจา โดยทั้งสองฝ่ายต่างเสริมกำลัง ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ฝ่ายไทยมีกำลังของกองพลทหารม้าที่ ๑ และส่วนแยกของกองพลทหารม้าที่ ๒ ที่มีรถถัง M-41, รถถัง Stingray และยานเกราะ V-150 วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ทอ.ส่ง F-16 ไปเสริมกำลังที่ฐานบินเชียงใหม่ ทำหน้าที่บินลาดตระเวนรบตามแนวชายแดน วันที่ ๑๐ พฤษภาคม F-16 ของไทยโจมตีเป้าหมายที่ Kyauket ในเขตรัฐฉาน ทางการพม่าได้ประท้วงทางการไทยในกรณีดังกล่าว
บท สรุป – หลังเหตุการณ์ที่เนิน ๙๖๓๑ ทางฝ่ายไทยยังคงส่งทหารพรานไปประจำการเช่นเดิม ส่วนทางฝ่ายพม่าไม่มีการวางกำลังด้านนี้อีก ทหารพม่าเสียชีวิต ๘๐ นาย, ฝ่ายไทยเสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๓๗ นาย พลเรือนเสียชีวิต ๓ คน บาดเจ็บ ๗ คน ทางการไทยระบุว่า มีผู้หญิง ๒ คนเสียชีวิตจากปืนใหญ่ของพม่าที่ยิงถล่มเข้ามาที่แม่สาย ร้อยเอก สงกรานต์ นิลพันธ์ กล่าวในเวลาต่อมาว่า ทหารพม่าเสียชีวิตเกือบ ๑๐๐ นาย แต่ถูกนำกลับไประหว่างการถอนกำลัง แต่ทหารไทยยังพบศพทหารพม่า ๓ นาย บนเนิน ๙๖๓๑ ทางด้านพม่า, พันเอก Kyaw Thein นายทหารการข่าว ยืนยันว่า ทางฝ่ายพม่าเสียทหารไป ๑๒ นาย บาดเจ็บ ๑๕ นาย แต่ยอดนี้เป็นการปะทะกับทหารไทยใหญ่ ไม่ใช่จากการปะทะกับทหารไทย
สรุปเเบบ ย่อ
เป็นช่วงต้นๆที่ทักษิณเข้ามาเป็นนายกสมัยแรก
จะเขียนอะไรให้ดูง่ายๆนะ
ว้าสร้างเมืองยอนเพื่อทำโรงงานยาบ้าส่งขายไทยพม่ายุว้าให้ตีไทย
ไทยตีว้าคืนพร้อมทั้งมีการฝึกรบหลังแนวข้าศึก(ข่าวตอนนั้น)โรงงานยาบ้าเมืองยอนโดนถล่มยับ
เป็นจุดเริ่มของการปราบปรามยาเสพติดในยุคนั้น(ทักษิณ 1)พม่าได้เมืองยอนและลดทอนกำลังของว้าไทยได้ถล่มโรงงานยาบ้าซะเละสรุป วิน-วิน ทั้งคู่ทั้งไทยและพม่าใครที่จะว่าลากเข้าการเมืองไม่สน
แต่ถ้าไม่มีน้าแม้ว เพื่อน พ้อง น้อง พี่ ของผมติดยาบ้ากันไม่หยุดแน่
ใครอยากเสวนาเรื่องนี้เชิญ(หลายคนคงยังเด็กอยู่ตอนนั้น)อ่ะบอกอีกหน่อย
จุดรวมพลจุดหนึ่งอยู่ที่กรมรพศ.5แม่ริม
สนามหน้ากรมถ้าใครเคยผ่านจะเห็นว่ากว้างมาก(เกือบๆ5สนามบอล)
แต่ตอนนั้นเต็มหมดทั้งยานเกราะ ปืนใหญ่และรถรบต่างๆ
ถ้าตามข่าวได้จะมีข่าวพร้อมภาพวิดีโอที่กองพันของSSAขึ้นตีฐานของว้า
ทหารSSAหนึ่งกองพันตีฐานว้าระดับกรมแตกภายในสองชั่วโมง
จนผบ.ของว้าบางคนออกมาบอกว่าเป็นกองพันปีศาจ
กองพันนั้นมาเตรียมความพร้อมที่ค่ายตชด.แห่งหนึ่งในภาคเหนือ
แต่...
กองพันนั้นไม่ได้ข้ามชายแดนมาจากSSA
กองพันนั้นออกมาจากกรมที่มีชื่อเล่นว่า Rattan Wood
เเถมให้ละ เป็นเรื่องจริงครับ สมัยนายกทักษิณ ต้องการกำจัดแหล่งต้นตอยาเสพติดให้สิ้นซาก แม้จะเก็บสายส่งไปแล้วนับพันคน แต่แหล่งผลิตก็ยังผลิตออกมาเรื่อยๆ ถึงขนาดเอาเงินไปสร้างเมืองยอน ในเขตหว้าแดง ได้อย่างใหญ่โต (เงินจากไทยทั้งนั้น) ปัญหาก็คือ กองกำลังหว้าแดงอยู่ในเขตพม่า ทหารไทยจึงทำอะไรไม่ถนัด ครั้งหนึ่ง หว้าแดงยิงกระสุนปืนใหญ่มาตกถึง พระราชตำหนักดอยตุง สร้างความเดือดแค้นให้ทหารไทย เมื่อ ทำอะไรไม่ถนัด กองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ ซึ่งเข้าใจความรู้สึกของไทยดี จึงเปิดศึกกับหว้าแดงอย่างรุนแรง (กองกำลังไทยใหญ่ นับถือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาก ทุกครั้งก่อนออกศึก จะต้องทำพิธีรำลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)ทางการพม่า ซึ่งต้องการกำจัดไทยใหญ่อยู่แล้ว จึงเปิดศึกถล่มกองกำลังกู้เชาติไทยใหญ่ทันที ไทยใหญ่จึงต้องรับศึกสองด้าน แต่ก็สู้ได้อย่างสมศักดิ์ศรีพม่านึกขึดเคืองไทยหาว่า ช่วยไทยใหญ่ เลยมีปัญหากับกองกำลังทหารพราน ถึงขนาดยกกองกำลังเข้ามาล้อม ฐานของกองกำลังทหารพรานไทย จนเกิดสงครามย่อยขึ้นและในเดือน พฤษภาคม 2545 ทางพม่ารายงานว่า มีกองกำลังนิรนาม เข้าโจมตีฐานของว้าแดงแตกไปหลายฐานและมีฐานของทหารพม่า ๔-๕ ฐานถูกโจมตีละลายทั้งฐาน ทหารในฐานทั้งหมดเสียชีวิต รวมทั้งทหารระดับสูงในฐานไม่รอดแม้แต่คนเดียว ทหารพม่า ตะหนก เพราะปฏิบัติการนี้ ทำได้อย่างเทพ รวดเร็ว และเหลือเชื่อ หลังจากนั้น พม่าเอาคืน โดยยกกองกำลังเข้าตีฐานทหารพรานที่ อ.เชียงดาว อย่างรุนแรง แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ทหารพม่าและหว้าแดง รวมตัวกัน เข้าตีฐานทหารไทยเป็นระยะๆ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้เลย สงครามครั้งนั้น พม่าสูญเสียมาก และในที่สุด ก็เลิกราไป สงครามครั้งนั้น พม่าสูญเสียมาก และในที่สุด ก็เลิกราไป
ป.ล
หน่วย นัน คือ ฉ.ก. 90 หรือ กองพันปีศาจ เป็น ลับสุดยอด ไม่ว่าเหตุ ระดับประเทศ ถ้า หน่วยนี้ออกไป เมื่อไหรอย่าหวังจะรอด กวาดล้างทุกหมดทั้งฐาน!