ผอ.รพ.ศูนย์ยะลาเผย เด็ก 4 ขวบติดเชื้อเอดส์จากการให้เลือดของรพ. ประกาศทางรพ.ขอรับผิดชอบดูแลให้การรักษาตลอดชีวิต และเป็นคนไข้วีไอพี
ผอ.โรงพยาบาลศูนย์ยะลา กล่าว กรณีเด็ก 4 ขวบติดเชื้อ HIV จากการให้เลือดของโรงพยาบาล ว่า เลือดที่ทางโรงพยาบาลมีอยู่จะได้รับจากการขอบริจาค ซึ่งจะมีการตรวจตามมาตรฐานของสภากาดชาดไทยทุกขวด นอกจากนี้จะมีการตรวจหาเชื้อเอชไอวี หากพบจะกำจัดทิ้งในทันที แต่เมื่อถามว่าหากการตรวจตามมาตรฐานแล้วโอกาสที่เลือดมีเชื้อเอชไอวีจะสามารถหลุดรอดได้หรือไม่ โดยมาตรฐานในการตรวจคลีนนิ่งก็ยังไม่มาตรฐานถึง 100% เพราะจะมีช่วงช่องว่างอยู่ เนื่องจากหากเป็น 4 ปีที่ผ่านมาคนบริจาคเลือดได้ไปรับเชื้อมาในช่วงระยะแรกจนถึงประมาณ 2 เดือน เราตรวจไปพบเชื้อ แต่ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อก็มีความไวในการตรวจหาเชื้อได้เร็วขึ้นจาก 12 วัน - 2 สัปดาห์ ดังนั้นผู้ที่บริจาคเลือดไปรับเชื้อมาช่วงช่องว่างดังกล่าวนี้ ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่เลือดของผู้ที่บริจาคก็มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีเหมือนกัน
หากเมื่อโรงพบาบาลได้รับเลือดจากการบริจาคและมีการตรวจหาเชื้อแล้วครั้งแรก และเมื่อก่อนที่จะนำเลือดออกไปใช้จะมีการตรวจหาเชื้ออีกรอบหรือไม่ นพ.กุลเดช กล่าวว่า เลือดที่ผ่านการตรวจหาเชื้อแล้วและไม่พบเชื้อ ถึงจะมาตรวจซ้ำอีกกี่ครั้งก็จะไม่พบเชื้อเหมือนกัน เมื่อถามต่อว่า มาตรฐานในการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในขณะนี้มีการพัฒนาขึ้นแล้วใช่หรือไม่ น.พ.กุลเดช กล่าวว่า มาตรฐานที่ทางโรงพยาบาลใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นมาตรฐานเดียวเหมือนกับทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ
กรณีที่เกิดขึ้นกับเด็กอายุ 4 ขวบได้รับเชื้อเอชไอวีจากการเข้ารับการรักษามีโอกาสเกิดขึ้นได้ใช่หรือไม่ นพ.กุลเดช กล่าวว่า โอกาสที่จะได้รับเชื้อจากการรับเลือด มีโอกาสน้อยมาก เพราะขั้นตอนการรับบริจาคเลือดทางโรงพยาบาลจะมีการแจกแบบสอบถามให้กับผู้บริจาคได้กรอกข้อมูล เช่น เมื่อคืนก่อนที่จะมาบริจาคเลือดได้ไปมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ หากผู้บริจาคตอบคำถามที่ตรงไปตรงมา ก็จะทำให้โรงพยาบาลสามารถสกรีนเลือดผู้บริจาคได้ เมื่อถามว่า แบบสอบถารมที่ให้ผู้บริจาคกรอบข้อมูลนั้น เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกโรงพยาบาลใช่หรือไม่ นพ.กุลเดช กล่าวว่า เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกโรงพยาบาล และเป็นมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศ
จากเด็กที่รับเชื้อเอชไอวีนี้ ขณะนี้ทางโรงพยาบาลทราบแล้วหรือยังว่าเด็กดังกล่าวได้รับเชื้อจากที่ใด นพ.กุลเดช กล่าวว่า ตนตั้งกรรมการขึ้นมา เพื่อให้เข้าไปตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก ซึ่งคราวข้อมูลที่พบเบื้องต้น อาจจะเป็นไปได้ว่าเด็กคนดังกล่าวอาจจะได้รับเชื้อจากการได้รับเลือดเมื่อ อายุ 2 เดือน ส่วนสาเหตุตรงจุดอื่นๆ เท่าที่ตรวจสอบยังไม่พบเหตุผลว่าเด็กคนดังกล่าวจะสามารถไปรับเชื้อมาจากจุดอื่นๆ ได้
ในการได้รับเลือดอขงเด็กคนดังกล่าว ก็ได้รับเลือดมาจากโรงพยาบาลศูนย์ยะลาใช่หรือไม่ นพ.กุลเดช กล่าวว่า "ใช่ครับ" เพราะตอนเกิดเด็กคนเป็นเด็กแฝด โดยที่เด็กที่ได้รับเชื้อนั้นเป็นแฝดพี่ตอนเมื่อแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยมาก ส่วนแฝดน้องไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ ซึ่งแฝดพี่มีน้ำหนักเพียง 1,300 กรัม และการหายใจไม่ค่อยดี ทางโรงพยาบาลต้องใช้เครื่องช่วยหายใจช่วย และเมื่อทางโรงพยาบาลดูแลจนได้น้ำหนักได้ระดับหนึ่ง ก็พบว่าเด็กคนดังกล่าวมีเลือดจาง ทางโรงพยาบาลจึงต้องให้เลือดถึง 3 ครั้ง หลังจากนั้นเด็กมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์เติบโตจนมาถึงในปัจจุบัน แต่มาพบอาการติดเชื้อในขณะนี้
ขณะนี้เมื่อพบเด็กคนดังกล่าวมีการติดเชื้อจากการให้เลือดจากโรงพยาบาลแล้ว ไม่ทราบว่าโรงพยาบาลสามารถที่จะไปเช็คข้อมูลย้อนหลังกลับไปได้หรือไม่ว่า การรับเลือดจำนวน 3 ครั้ง การรับเลือกครั้งไหนที่มีเลือดติดเชื้อ นพ.กุลเดช กล่าวว่า สามารถตรวจเช็ตประวัติย้อนหลังกลับได้ เพราะทางโรงพยาบาลได้มีการทำประวัติเก็บเอาไว้ตลอด แต่เมื่อเราตรวจสอบแล้วการที่จะให้ทางโรงพยาบาลไปนำตัวผู้ที่ให้บริจาคเลือดมาตรวจหาเชื้ออีกครั้งนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้บริจาคด้วย เนื่องจากเรื่องเป็นสิทธิของผู้บริจาคเลือดด้วย
เรื่องที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ทางโรงพยาบาลจะเข้ามาดูแลรับผิดชอบอย่างไรบ้าง นพ.กุลเดช กล่าวว่า โรงพยาบาลจะต้องเข้ามาดูแลรับผิดชอบในการรับดูแลรักษาช่วยเหลือให้อยู่แล้ว โดยทางโรงพยาบาลจะดำเนินการตามมาตรา 41 โดยเป็นการช่วยเหลือตามหลักประกันสุขภาพที่จะมีเงินเยี่ยวยาให้ส่วนหนึ่ง ส่วนทางโรงพยาบาลเข้าให้การดูแลรับผิดชอบไปตลอดชีวิต ซึ่งทางโรงพยาบาลจะให้เด็กคนดังกล่าวนี้เป็นคนไข้วีไอพี.ของโรงพยาบาล สำพหรับเรื่องการสืบสวนสอบสวนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
หากทางพ่อแม่เด็กจะมีการเรียกร้องค่าเสียหายกับทางโรงพยาบาล นพ.กุลเดช กล่าวว่า เรื่องนี้เราคงจะต้องมีการมาเจรจากันอีกครั้ง อย่างไรทางโรงพยาบาลยินดีที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้ว ซึ่งเราจะมีการนัดพุดคุยกันในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ แต่ในเบื้องต้นทางหมอเจ้าของไข้ได้มีการพูดคุยไปแล้วบางส่วน ซึ่งทางตัวแม่ของเด็กก็มีความเข้าใจว่าเรื่องที่เกิดมาจากปัญหาทางเทนิคทางการแพทย์