เดินหน้าคุมเบิกจ่าย“ยาลดไขมัน”ข้าราชการ

กรรมการกำหนดบริหารยาเวชภัณฑ์ฯ เดินหน้าคุมเบิกจ่าย “ยาลดไขมัน” ในระบบสวัสดิการข้าราชการต่อจากยา "กลูโคซามีน"

วันนี้ (17 ธ.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยาเวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ ว่า ได้รับทราบความคืบหน้าจากคณะอนุกรรมการเจรจาต่อรองราคายาและเวชภัณฑ์ว่ามีการต่อรองราคายาไปแล้วคิดว่าหากนำไปใช้จริงจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 1,800 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อได้ราคากลางแล้ว ต่อไปหากมีการจัดซื้อต้องไม่เกินราคากลางที่ต่อรอง เช่น ยากลูโคซามีนราคายาตอนนี้ถูกลงประมาณ 3 เท่า โดยยากลูโคซามีนขนาด 250 มก.ราคาไม่เกิน 3 บาท ยากลโคซามีนขนาด 500 มก.ไม่เกิน 5 บาท และยากลูโคซามีนขนาด 1,500 มก. ราคาไม่เกิน 15 บาท ซึ่งจากเดิมมีการเบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลางประมาณ 10 ล้านบาทหากใช้ยากลูโคซามีนตามข้อข่งชี้ของกรมบัญชีกลางจะเหลือประมาณ 3-4 ล้านบาทต่อปี ซึ่งไม่เป็นปัญหาต่อไปเพราะเชื่อว่าใน 3-4 ล้านบาทคงมีคนที่ได้ประโยชน์จากยาดังกล่าวอยู่บ้าง

“กรณียากลูโคซามีนจะเป็นแนวทางหลักของยากลุ่มอื่นที่มีค่าใช้จ่ายสูงอีก 8 ชนิด เช่น ยาลดไขมัน ยารักษาโรคหัวใจ ยาลดความดัน ยารักษาอาการอักเสบต่าง ๆ คือต่อไป ใครจะใช้ก็ใช้ได้แต่ต้องมีข้อบ่งชี้ นอกจากนี้คงมีการทำราคากลางยา มีการกำหนดให้ใช้ยาชื่อสามัญ เมื่อใช้ทั้ง 2 วิธี คือ ใช้ยาอย่างมีเหตุผล และใช้ยาในประเทศ คือยาชื่อสามัญจะทำให้ปริมาณการใช้ลดลงไปเอง เชื่อว่าลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความมั่นใจในยาชื่อสามัญทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็จะออกตรวจคุณภาพด้วย”รมว.สาธารณสุข กล่าว

นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ในการทำข้อบ่งชี้การใช้ยา การรักษาต้องทำออกมาให้ชัดเจน โดยเน้นยา หรือการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ต่อจากยากลูโคซามีน คือยาลดไขมันซึ่งมีมูลค่าการใช้ประมาณ 200-300 ล้านบาท เมื่อทำข้อบ่งชี้แล้วหลังจากนั้นก็กำหนดราคากลางยา และกำหนดให้ใช้ยาชื่อสามัญ ค่าใช้จ่ายลดลง หรือวิธีการรักษาต่าง ๆ ที่สิ้นเปลือง อย่างการรักษาโรคมะเร็งถ้าใช้ยาค่าใช้จ่ายราคาเป็นล้าน แต่ถ้าผ่าตัดอาจเสียค่าใช้จ่ายหลักแสนหรือหลักหมื่นบาท ก็ต้องทำข้อบ่งชี้ออกมาว่าสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน คือเป็นไปตามข้อบ่งชี้หรือขั้นตอนไม่ได้มองว่า ประชาชนต้องไปใช้ในสิ่งที่ถูกสุดก่อน เอาสมเหตุผล เป็นประโยชน์

รมว.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีการทำรหัสยาขึ้นมาเพื่อใช้ในการตรวจสอบ เพราะยาตัวเดียวมีขนาดบรรจุไม่เหมือนกัน เป็นน้ำ เป็นเม็ด ส่วนระบบตรวจสอบนั้นอยากให้ตรวจสอบการใช้ยาไม่สมเหตุผลระดับองค์กรมากกว่าระดับแพทย์ เพราะการใช้ยาของแพทย์เป็นศิลปะ ถ้าจ่ายยาให้คนไข้ 100 คนเจอ 1 คนคงไม่เป็นการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลเพื่อหวังประโยชน์ ดังนั้นควรดูเป็นองค์กร อีกทั้งโรงพยาบาลมีคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพโรงพยาบาลอยู่แล้ว

นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมเห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการข้อมูลด้านการบริการทางการแพทย์มีอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธาน โดยอนุกรรมการชุดนี้จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการและผู้รับบริการทั้งหมดที่อยู่ในระบบการรักษาพยาบาล 3 กองทุน...

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...