10 อันดับ เห็ดประหลาดในโลก

อันดับ 10

 

Gyromitra esculenta
Gyromitra esculenta เป็นเห็ดสายพันธุ์ False Morels ที่แปลกมาก เห็ดสายพันธ์นี้มีหลายชนิด แพร่หลายกระจัดกระจายอยู่ในยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียบางประเทศ (รวมถึงไทย) ซึ่งจะพบเห็นมันขึ้นอยู่ในป่าสน โดยรูปร่างของมันจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิด และ พันธุ์ของมัน โดยลักษณะเด่นคือ ดอกเห็ดเหมือนรูปสมองมนุษย์ที่มีอาการผิดปกติ เป็นลอนและคลื่น คล้ายสมอง หมวกมีสีน้ำตาล เห็ดชนิดนี้จะกินได้หรือไม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาและวิธีการทำ แต่โดยทั่วไปแล้วเห็ดชนิดนี้เป็นพิษ แต่กระนั้นเห็ดชนิดนี้ก็กินกันในสแกนดิเนเวีย ยุโรปตะวันออกตอนบน โดยจะมีคำแนะนำการทำให้ถูก สุขอนามัยและปลอดภัย นิยมทำเป็นซุปและผัด ส่วนในประเทศไทยเรียกเห็ดชนิดว่าเห็ดสมองวัว ซึ่ง จะพบทางภาคเหนือเป็นเห็ดที่มีพิษร้ายแรง แต่เมื่อทำให้แห้งหรือต้มให้สุก แล้วทิ้งน้ำไปหลายๆ ครั้ง พิษของเห็ดก็จะหายไป

อันดับ 9

Gymnosporangium juniperi-virginianae
เป็นอันดับเดียวในรายการนี้ไม่ใช่เห็ด แต่อยู่ในตระกูลเชื้อราเหมือนกัน โดยโรคพืชนี้มีชื่อ เรียกว่า “โรคแอปเปิลราสนิม” หรือ ( G. juniperi-virginianae ) เป็นโรคที่พบไม่มากนัก มัก จะพบในฤดูฝนหรือฤดูใบผลิ ในชายฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมักจะพบโรคชนิดนี้ใน แอปเปิลซีดาน โดยเริ่มแรกเชื้อรานี้จะติดที่ใบ ที่ผล และที่กิ่งอ่อน ซึ่งหากติดที่ผลแอปเปิลจะเกิดจุดเล็กๆ สีส้มก่อน ต่อมาจุดนั้นก็ขยายใหญ่เป็นสีส้มหรือสีแดง จากนั้นจุดดังกล่าวก็จะขยายตัวเป็นตุ่มสปอร์ขนาดใหญ่ เหนียวๆ เหมือนเขาสัตว์ สีส้มสดใสจนดูเหมือน “สนิม” มันจะเจาะเข้าไปในเนื้อของแอปเปิลจนผล แอปเปิลนั้นเน่าแห้งตายจนเป็นสีส้มคล้ำ หากมองภายนอกจะเหมือนว่า แอปเปิลนั้นมีหนามแหลมคม และต่อมากเส้นเขาสัตว์เหล่านั้น ก็จะขยายเป็นเส้นใหญ่ๆ สีเหลืองเหมือนมีหนวดปลาหมึกคลุมที่ แอปเปิลจนหมด จากนั้นเชื้อรานี้ก็จะแตกสปอร์ออก แล้วปลิวตามลมเพื่อให้แอปเปิลอื่นติดเชื้อต่อไป

อันดับ 8

Black Trumpet
Craterellus เป็นสกุลเห็ดที่กินได้ที่พบได้ทั่วไป มีความใกล้ชิดกับสกุล Cantharellus (เห็ด มันปูใหญ่) โดยเห็ดชนิดนี้มีความโดดเด่น คือรูปร่างเหมือนแตร หมวกเห็ดเป็นคลื่น ส่วนเห็ดในภาพ คือ Black Trumpet (Craterellus cornucopioides) หรือเห็ดแตรดำ ซึ่งเป็นเห็ดที่จะตั้งตามกรวยแห่ง ความอุดมสมบูรณ์ของภูตในอมาลเธียตามตำนานเก่าแก่ของกรีก โดยเห็ดน้จะมีสีเข้มเกือบดำและดูไม่ สวยงามนัก แต่รสชาติดีมาก มักพบมันขึ้นอยู่ตามซากใบไม้บนพื้นดินตามป่า

อันดับ 7

Earthstar
เห็ดดาวดิน หรือ Geastrum stipitatus Solms เป็นเห็ดที่พบในพื้นป่าทั่วไปตามทวีปอเมริกา เหนือหรือประเทศไทยก็มีบ้าง โดยมักจะขึ้นบนซากเศษขอนไม้ผุที่ทับถมกัน หรือเกิดบนขอนไม้ผุเลย มันจะขึ้นเป็นดอกเดี่ยวอยู่กันเป็นกลุ่ม ดอกเห็ดในระยะแก่ผนังด้านนอกดอกเห็ดจะแตกออกเป็นแฉก มี จำนวน 6-7 แฉก และบริเวณกลางดอกจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมอยู่กลางดอก ก้อนกลมนั้นเป็นที่เก็บ สปอร์ซ ซึ่งจะฟุ้งกระจายตามลมเป็นการกระจายพันธ์ในพื้นที่ใกล้เคียงให้เกิดเป็นเห็ดดอกใหม่

อันดับ 6

Hydnellum peckii
หรือเห็ดฟันเลือด (Bleeding Tooth Fungus เขียนทับศัพท์) เป็นเห็ดที่พบในอเมริกาและ ยุโรป นอกจากนี้ยังมีรายงานการการพบมันในประเทศนอกทวีปยุโรปและอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน (2008) หรือเกาหลี (2010) หากแต่ปัจจุบันเห็ดชนิดนี้กำลังลดจำนวนลง เนื่องจากมลพิษในยุโรป กลาง เห็ดชนิดนี้ชอบขึ้นบนพื้นดินบริเวณต้นสนบนภูเขา มักขึ้นเป็นกลุ่มผสม หรือกระจัดกระจาย รูปร่าง ของมันเหมือนหมวกหรือฟัน และมีเม็ดสีเหมือนเลือดออก หรือเหมือนน้ำเชื่อมผลไม้แดงที่กำลังไหล ออก หรือเหมือนขนมเดนมาร์กที่ราดด้วยแยมสตรอเบอรี่ หลายคนรู้จักเห็ดนี้ในฐานะสารกันเลือดแข็ง มันมีคุณสมบัติคล้ายเฮปาริน ไม่มีพิษ แต่ไม่นิยมกินเพราะขมมาก นิยมทำให้มันแห้งแล้วทำเป็นยา มากกว่า

อันดับ 5

Fungi with flare
กลุ่มเห็ดกระสือ (Mycena sp.) เป็นเห็ดที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน จะขึ้นกระจายเป็นกลุ่ม ใกล้ๆกันบนขอนไม้เนื้อแข็ง เห็ดเหล่านี้สามารถเรืองแสงได้โดยสาร “ไรโบฟลาวิน” เปลี่ยนพลังงาน ทางชีวเคมีไปเป็นพลังงานแสง ซึ่งอาจเห็นเป็นสีขาว สีเขียว หรือสีน้ำเงิน หรืออาจเรืองแสงเฉพาะส่วน ใดส่วนหนึ่ง เช่น เรืองแสงเฉพาะที่ครีบในเวลาดอกบานเต็มที่เท่านั้น หรือเรืองแสงทุกส่วนยกเว้นสปอร์ ซึ่งได้แก่ เห็ดฆ้องเขาเขียว (Chlorosplenium aeruginasens) นอกจากนี้ยังมีเห็ดเรืองแสงหลายชนิด ที่ยังรอการค้นพบ ล่าสุดมีการพบพันธุ์ใหม่ของเห็ดเหล่านี้ที่ป่าฝนในบราซิล และส่วนมากเห็ดเรืองแสง นี้มักเป็นเห็ดมีพิษ

อันดับ 4

Bird’s Nest fungi
เห็ดรังนก หรือเห็ดรังนกกระจอก เป็นเห็ดสายพันธุ์ Nidulariaceae พบในเขตป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง มันจะเกิดบนขอนไม้ผุ จะเกิดดอกเดี่ยวแต่อยู่เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มหนึ่งจะพบเป็นจำนวน มาก ลักษณะดอกเห็ดคล้ายกับถ้วยหรือรังนกที่มีไข่เล็กๆ อยู่ข้างใน ซึ่งมันคือโครงสร้างของเห็ด โดย ไข่มีรูปร่างกลมสีเทา เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 0.2 มิลิเมตร ที่ขอบปากถ้วยจะมีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ถ้วยสูงจากพื้นประมาณ 1 เซนติเมตร ด้านล่างของขอบถ้วยจะสอบแคบลงไปเป็นก้านดอก หรือก้นถ้วย ผิวด้านนอกมีสีน้ำตาลอ่อนและปกคลุมไปด้วยเส้นขนหยาบสั้นๆ ส่วนผิวด้านในมีสีดำหรือ เทาอมน้ำตาล มีเส้นลายนูนยาวขนานกันจากขอบปากถ้วยลงไปที่โคนก้านดอก และเห็ดชนิดนี้สามารถ รับประทานได้

อันดับ 3

Aseroe rubra
เห็ดแสงอาทิตย์ (หรือจะเรียกว่าเห็ดดอกไม้ทะเลก็ได้) เห็ดชนิดนี้มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ ว่า Aseroe rubraหรือ Stinkorn หมายความถึงเชื้อราที่มีกลิ่น เห็ดชนิดนี้มีก้านดอกเห็ดค่อนข้าง สั้น สูงเพียง 1-3 เซนติเมตร ดอกเห็ดมีเมือกคล้ายวุ้นบางๆ เคลือบบนผิว มีขนาด 5-8 เซนติเมตร และ ที่ปลายมีแขนเรียวยาวที่มักอยู่เป็นคู่ รวมทั้งหมด 14 อัน คล้ายปลาดาวทะเลหรือดอกไม้ทะเล ที่ยื่นยาว แผ่รัศมีออกไปโดยรอบเป็น 1-2 เท่าของความกว้างของดอกเห็ด ด้านล่างสีขาว ด้านบนสีชมพู บริเวณ กลางดอกที่เป็นส่วนสำหรับเก็บสปอร์จะมีสีแดงเข้ม ซึ่งจะแตกแล้วปล่อยสปอร์ฟุ้งกระจายออกไป เห็ดชนิดนี้พบได้ทั่วไปในป่าเขตร้อน โดยพบได้ตั้งแต่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ศรีลังกา สุมาตรา ชวา แทสเมเนีย เม็กซิโก และอเมริกาใต้ พบเฉพาะบนพื้นดินในป่าดิบเขาที่ดินมีความชื้นสูงและประกอบ ไปด้วยซากผุพังของอินทรีย์สารจำนวนมาก สำหรับในประเทศไทยเห็ดชนิดนี้ เป็นเห็ดหายากและเพิ่ง มีรายการการพบที่เขาใหญ่เมื่อเร็วๆ นี้เอง

อันดับ 2

Shrooms that squiggle and stinks
เห็ดปลาหมึก เป็นเห็ดพื้นเมืองพบในที่ชื้นในทุ่งหญ้า หรือป่าผสมผลัดใบระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน พบมากในประเทศออสเตเลียและทัสมาเนีย และมีบ้างในยุโรปและอเมริกาเหนือ จุดเด่นคือมันมีรูปร่างเหมือนมือหรือหนวดแยกออกมา 4-7 อัน หนวดมีลักษณะเรียวยาวสีแดงอมชมพู และกลิ่นของมันเหมือนเนื้อเน่าเหม็น ด้วยเหตุนี้มันจึงสามารถเรียกแมลงวันมาตอม เพื่อการแพร่พันธุ์ ได้ เห็ดชนิดนี้สามารถกินได้ แม้จะเหม็นมากก็ตาม ส่วนใหญ่กินเพื่อเอาชีวิตรอดหากอยู่ถิ่นทุรกันดาร หรือหลงป่า (คือไม่มีอะไรจะกินนั้นแหละ) โดยรสชาติจะเหมือนหัวไชเท้า

อันดับ 1

The Devil’s Cigar
เห็ดซิการ์ของปีศาจ หรือเห็ดเท็กซัสสตาร์ เป็นเห็ดหายาก(มากๆ) สกุล Chorioactis พบ เพียงสามแห่งในโลก มีรายงานการค้นพบเห็ดนี้ครั้งแรก เมื่อปี 1893 ในเมือง Austin รัฐเท็กซัส (Texas) ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามีการค้นพบอีก 2 แหล่งที่ประเทศญี่ปุ่นในที่ Miyazaki และ Kochi พบเห็ดชนิดนี้ในขอนไม้โอ๊คที่ตายแล้ว ในบริเวณที่มีความชุ่มชื่น ในช่วงระหว่างฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดู หนาว รูปร่างของเห็ดจะตูมคล้ายซิการ์สีน้ำตาลหรือสีดำมืด แต่เมื่อแก่แล้วแยกตัวออกมีลักษณะเหมือน รูปดาวหรือกลีบดอกไม้บาน 4-7 แฉก นักวิทยาศาสตร์มีข้อสงสัยว่า ทำไมจึงพบเห็ดนี้ได้เพียง 3 แห่ง ในโลก โดยแต่ละที่ห่างไกลกันถึงครึ่งโลก คนละละติจูด โดยมีสมมุติฐานว่า สปอร์ของเห็ดน่าจะถูก หอบลอยไปโดยกระแสอากาศที่เรียกว่า Asia dust

Credit: opyim
#เห็ด
HOBOMAN
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
16 ธ.ค. 55 เวลา 09:43 2,328 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...