อึ้ง! คนไทยเสียโอกาส 4.8 แสนล.

 

สถาบันอนาคตฯแจงผลเสียดอง 3 จีเมื่อ 3 ปีก่อน

เปิดผลวิจัย “สถาบันอนาคตไทยศึกษา” ชี้ประเทศไทยไม่ได้ทำ 3G เมื่อ 3 ปีก่อน ก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสแฝงทางเศรษฐกิจมหาศาลกว่า 4.8 แสนล้านบาท นอกจากความเสียหายที่มองเห็น  1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ภาคธุรกิจเสียหายมากสุด 9.6 หมื่นล้าน ตามมาด้วยประชาชน 6.2 หมื่นล้าน

นาย เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวว่า สถาบันได้เปิดตัวบทวิเคราะห์ฉบับใหม่ “Opportunity Cost (ค่าเสียโอกาส)” นำเสนอ เรื่องค่าเสียโอกาสของโครงการ 3G ที่ประเทศไทยไม่ตัดสินใจเดินหน้าลงทุนเมื่อ 3 ปีก่อนว่า “สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการวิจารณ์ การวิจารณ์ส่วนใหญ่มักมาจากสิ่งที่คนมองเห็นและพูดถึง แต่ไม่ได้เป็นผู้ทำ บ่อยครั้งที่การวิจารณ์ทำให้คนไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้าเดินหน้าที่จะทำในสิ่งที่คิดและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เราเรียกต้นทุนของการไม่กล้าเดินหน้านี้ว่า “ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)” ซึ่งในกรณีของโครงการขนาดใหญ่ของประเทศไทย ต้นทุนประเภทนี้อาจก่อความเสียหายให้แก่ประเทศชาติได้อย่างมหาศาลไม่น้อยไป กว่าต้นทุนที่เราเห็นกันได้อย่างชัดแจ้งเลยทีเดียว

สำหรับงาน วิเคราะห์ฉบับนี้ ทางสถาบันฯ ได้จัดทำขึ้นเพื่อชี้ให้เห็นถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐจากการไม่ตัดสินใจทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งของประเทศไทย โดยจะนำเสนอตัวเลขของต้นทุนนี้ในรูปแบบที่วัดกันได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างพื้นฐานและยกระดับการวิจารณ์ของสังคมให้อยู่บนข้อมูลที่ครบถ้วน และทราบโดยทั่วกัน

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้จัดการสถาบันอนาคตไทยศึกษา เปิดเผยว่า ค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากโครงการ 3G นั้น จะนับจากระยะเวลากว่า 3 ปี ตั้งแต่เดือน ก.ย.2552 ที่ร่างเงื่อนไขการประมูล 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHZ ของกทช. ได้ถูกคัดค้านมิให้มีการเปิดประมูล จนกระทั่งมีการประมูลจริงเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2555 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจนจบสิ้นการประมูล ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความชอบธรรมในเชิงกฎหมาย ตลอดจนผลได้ผลเสียจากการประมูล ซึ่งคิดเป็นรายได้ที่มองเห็นให้แก่ประเทศไทยมูลค่าเพียงปีละ 15,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่การวิจารณ์เหล่านั้นไม่ได้กล่าวถึงต้นทุนค่าเสีย

โอกาส ของประเทศไทยที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 480,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่ากว่าปีละ 160,000 ล้านบาท ซึ่งขาดหายไปจากการที่เราไม่ตัดสินใจเดินหน้าลงทุนในโครงการนี้ตั้งแต่ 3 ปีที่ผ่านมา แบ่งเป็นค่าเสียโอกาสของภาครัฐปีละ 2,000 ล้านบาท ภาคธุรกิจปีละ 96,000 ล้านบาท และภาคประชาชนอีกปีละ 62,000 ล้านบาท

“การ ลงทุนในโครงการ 3G อาจทำให้รัฐสูญเสียส่วนแบ่งรายได้บนคลื่นความถี่เก่า แต่เมื่อคิดรวมรายได้จากค่าสัมปทานคลื่นความถี่ใหม่ และรายได้จากภาษีทางตรงเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีทางอ้อมเฉพาะภาษี มูลค่าเพิ่มซึ่งรัฐจะจัดเก็บเพิ่มได้จากภาคธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากการมี 3G คาดว่ารัฐจะได้รับผลประโยชน์สุทธิเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่าปีละ 2,000 ล้านบาท”

ในขณะเดียวกัน ยังเอื้อประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดที่จะช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ธุรกิจไม่น้อยกว่า ปีละ 33,000 ล้านบาท อีกทั้งยังส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจประเทศไทยโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานเกี่ยวเนื่องกับการลงทุนในโครงการ 3G และอุตสาหกรรมปลายน้ำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่นำเอาผลประโยชน์จาก 3G ไปเป็นพื้นฐานต่อในการผลิต คิดเป็นมูลค่ารวมแล้วกว่าปีละ 63,000 ล้านบาท

ท้าย ที่สุด ภาคประชาชนซึ่งจะได้รับผลประโยชน์จาก 3G ถึงกว่าปีละ 62,000 ล้านบาท จากความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการเข้าชมเว็บไซต์บนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเร็วกว่าเทคโนโลยีมือถือในระบบ EDGE ถึง 30-35 เท่า และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มจากปัญหาสายหลุดขณะสนทนาเมื่อใช้คลื่น ความถี่เดิม ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงต้นทุนความสะดวกสบายอื่นๆ อาทิ  การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารทางมือถือ (mobile banking) และการใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศฟรีผ่านระบบ VOIP เป็นต้น

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้การเปิดประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่น 2.1 GHz ได้เดินหน้าเข้าสู่กระบวนการเริ่มต้นติดตั้งโครงข่ายแล้ว หลังผู้ให้บริการได้เข้ารับใบอนุญาต 3G จาก กสทช.ไปเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ผู้ให้บริการสามารถสั่งซื้ออุปกรณ์โครงข่ายเพื่อติดตั้งให้ครบตาม กำหนดคือครอบคลุม 50% ของพื้นที่ภายใน 2 ปีจากนี้ โดยวงเงินในการลงทุนภายใต้การติดตั้งโครงข่ายทั้งหมดของผู้ให้บริการ 3 รายภายใน 3 ปีจากนี้ รวมกันคาดว่าจะเกิน 100,000 ล้านบาทอย่างแน่นอน ไม่รวมเงินจากการประมูล ซึ่งต้องจ่ายเป็นรายได้เข้ารัฐทั้งสิ้นอีก 41,625 ล้านบาท.

ไทยรัฐออนไลน์
Credit: http://www.itplaza.co.th/update_details.php?type_id=2&news_id=23375&page=1
16 ธ.ค. 55 เวลา 06:11 1,270 2 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...