ธนบัตรไทย ๒

 

ธนบัตรไทยแบบที่ ๔

-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑

-พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ

-เป็นธนบัตรที่มีขนาดเล็กลงจากแบบที่ ๓ เล็กน้อย ลายน้ำในพื้นที่วงกลมด้านหลัง เปลี่ยนจากรูปช้างไอราพตเป็นรูปรัฐธรรมนูญประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้า หรือเรียกกันว่า พานรัฐธรรมนูญ

-มี ๕ ชนิดราคา คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท

(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)

 

ธนบัตรไทยแบบที่ ๔ รุ่นที่ ๒

-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๕

-พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ

-เป็นธนบัตรที่มีลักษณะลวดลายเช่นเดียวกับธนบัตรแบบที่ ๔ ต่างกันตรงที่เปลี่ยนคำว่า "รัฐบาลสยาม" เป็น "รัฐบาลไทย" ทุกชนิดราคา

-มี ๔ ชนิดราคา คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท

(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)

ธนบัตรไทยแบบที่ ๔ กรมแผนที่

-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๕

-พิมพ์โดยกรมแผนที่ทหารบก โดยใช้กระดาษจากโรงงานกระดาษกาญจนบุรี

-เป็นธนบัตรที่มีลักษณะลวดลายเช่นเดียวกับธนบัตรแบบที่ ๔ ต่างกันตรงที่เปลี่ยนคำว่า "รัฐบาลสยาม" เป็น "รัฐบาลไทย" ในธนบัตรทุกชนิดราคา

-มี ๔ ชนิดราคา คือ ๑ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บา

(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)

ธนบัตรไทยแบบที่ ๕

-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๘

-พิมพ์โดยบริษัท มิตซุยบุชซันไกซา ประเทศญี่ปุ่น

-เป็นธนบัตรที่ใช้ระบบพิมพ์แบบเส้นราบ ไม่มีลายน้ำ

-ได้ย้ายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมาพิมพ์ไว้ทางด้านขวาของธนบัตร แทนที่จะพิมพ์ทางด้านซ้ายตามที่เคยปฏิบัติมา

-เนื่องจากประเทศอยู่ในภาวะสงคราม กระดาษและหมึกพิมพ์ขาดแคลน การพิมพ์ธนบัตรแบบที่ ๕ ออกมาใช้แต่ละครั้งจึงมีสีเข้มแตกต่างกัน โดยเฉพาะด้านหลังจะเป็นสีเขียว

-มี ๗ ชนิดราคา คือ ๕๐ สตางค์ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท

(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)

ธนบัตรไทยแบบที่ ๖

-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๗

-พิมพ์โดยกรมแผนที่ทหารบก และ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ

-เป็นธนบัตรที่มีลักษณะลวดลายเช่นเดียวกับธนบัตรแบบที่ ๔ ที่สั่งพิมพ์จาก บริษัทโทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ

-มี ๒ ชนิดราคา คือ  ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท

(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)

ธนบัตรไทยแบบที่ ๗

-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘

-พิมพ์โดยโรงพิมพ์ของราชการและเอกชนบางแห่ง โดยการแยกพิมพ์ตัวธนบัตร หมวดหมายเลข และลายเซ็นคนละแห่งกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยควบคุมการพิมพ์ขึ้นเป็นกรณีฉุกเฉิน เพื่อใช้แก้ปัญหาการขาดแคลนธนบัตรในยามสงคราม

-เป็นธนบัตรที่ใช้กระดาษคุณภาพต่ำในการพิมพ์ มีลักษณะลวดลายเหมือนกับธนบัตรแบบที่ ๔ ที่สั่งพิมพ์จาก บริษัทโทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ แต่มีขนาดเล็กกว่า มีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลที่เจริญพระชันษาแล้วมาพิมพ์บนธนบัตร

-เนื่องจากขนาดธนบัตรที่เล็กกว่าธนบัตรทั่ว ๆ ไป ในขณะนั้น บางครั้งประชาชนจึงเรียก "แบงก์ขนมโก๋"

-มี ๔ ชนิดราคา คือ  ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท และ ๕๐ บาท

(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)

ธนบัตรไทยแบบที่ ๘

-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๙

-พิมพ์โดยบริษัททิวดอร์ เพรส ประเทศสหรัฐอเมริกา

-ลักษณะลวดลายบนธนบัตรคล้ายกับธนบัตรดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะชนิดราคา ๒๐ และ ๑๐๐ บาท มีสัดส่วนเหมือนธนบัตรดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา จึงมีคำเรียกธนบัตรรุ่นนี้ในหมู่นักสะสมว่า "แบงก์ดอลล่าร์"

-

#ธนบัตรไทย #๒
PLANTROCKER
ช่างเทคนิค
11 ธ.ค. 55 เวลา 20:30 2,776 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...