ธนบัตรแบบที่ ๑
-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘
-พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ
-เป็นธนบัตรที่ประเทศไทยนำออกมาใช้เป็นครั้งแรก
-พิมพ์เพียงด้านเดียว เรียกกันว่า "ธนบัตรหน้าเดียว" หรือ "ธนบัตรหลังขาว"
-มี ๕ ชนิดราคา คือ ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท
(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)
ธนบัตรแบบที่ ๑ รุ่นที่ ๒
-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘
-พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ
-พิมพ์เพียงด้านเดียว เรียกกันว่า "ธนบัตรหน้าเดียว" หรือ "ธนบัตรหลังขาว" เหมือนแบบ ๑ รุ่น ๑ ต่างกันตรงที่มีการนำตราครุฑพ่าห์มาใช้แทนตราอาร์มแผ่นดิน เนื่องจากในขณะนั้นได้ประกาศเปลี่ยนตราแผ่นดินจากตราอาร์มมาเป็นตราครุฑพ่าห์แทน
-มี ๒ ชนิดราคา คือ ๑ บาท และ ๕๐ บาท (ปรับปรุงราคา) ที่แก้ไขจากธนบัตรชนิดราคา ๑ บาท
-เหตุที่มีการพิมพ์ธนบัตรราคา ๑ บาทออกใช้ เพราะในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ราคาแร่เงินได้เพิ่มสูงมากกว่าราคาที่กำหนดไว้บนเงินเหรียญ ทำให้ชาวบ้านหลอมเหรียญเงินเป็นเงินแท่งแล้วส่งไปขายต่างประเทศ เงินเหรียญหนึ่งบาทจึงขาดตลาด รัฐบาลจึงต้องพิมพ์ธนบัตรชนิดราคา ๑ บาทออกใช้
เหตุที่มีการพิมพ์ธนบัตรราคา ๑ บาทออกใช้ เพราะในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ราคาแร่เงินได้เพิ่มสูงมากกว่าราคาที่กำหนดไว้บนเงินเหรียญ ทำให้ชาวบ้านหลอมเหรียญเงินเป็นเงินแท่งแล้วส่งไปขายต่างประเทศ เงินเหรียญหนึ่งบาทจึงขาดตลาด รัฐบาลจึงต้องพิมพ์ธนบัตรชนิดราคา ๑ บาทออกใช้
(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)
ธนบัตรแบบที่ ๒
-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๑
-พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ
-เป็นธนบัตรที่เปลี่ยนจากการพิมพ์ระบบเส้นราบเป็นเส้นนูน
-ด้านหน้าเป็นรูปลายรัศมี ๑๒ แฉก
-ด้านหลังเป็นรูปพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
-ประชาชนทั่วไปจึงเรียกธนบัตรแบบที่ ๒ นี้ว่า "ธนบัตรแบบไถนา"
-มี ๖ ชนิดราคา คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท
(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)
ธนบัตรแบบที่ ๒ รุ่นที่ ๒
-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๗
-โดยเปลี่ยนข้อความด้านหน้า จากเดิม "รัฐบาลสยามสัญญาว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม" เป็น "ธนบัตร์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย"
-มี ๖ ชนิดราคา คือ คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท
(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)
ธนบัตรแบบที่ ๓
-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
-พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ
-เป็นธนบัตรที่พิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ด้านหน้าเป็นครั้งแรก
-มีลายน้ำเป็นรูปช้างสามเศียรไอราพต บริเวณพื้นวงกลมสีขาวด้านหลัง
-ด้านหลังเป็นรูปพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
-มี ๔ ชนิดราคา คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท และ ๒๐ บาท
(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)
ธนบัตรแบบที่ ๓ รุ่นที่ ๒
-เริ่มใช้เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๑
-พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ
-เป็นธนบัตรที่มีลักษณะลวดลายเช่นเดียวกับแบบ ๓ รุ่น ๑ ต่างกันตรงที่เปลี่ยนพระบรมฉายาลักษณ์จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) สมัยทรงพระเยาว์
-มี ๔ ชนิดราคา คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท และ ๒๐ บาท
(ปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)
ที่มา tanabat-thai