Golden Spike Company ประกาศทริปเยือนดวงจันทร์เชิงพาณิชย์ครั้งแรกของโลก ที่จะเกิดขึ้นในปี 2020 หรือในอีก 8 ปี ข้างหน้า ด้วยตัวเลข 1.5 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐ หรือประมาณ 42,900 ล้านบาท สำหรับ 1 คู่โดยสาร
“ เรา สามารถมอบทริปเยียบดวงจันทร์ สำหรับ 2 ที่นั่ง นอกจากนี้เรากำลังเจรจากับประเทศทั้งในส่วนตะวันตกและตะวันออก ซึ่งไม่แน่ว่าจีนจะเข้ามาร่วมเป็นหนึ่งในลูกค้าของเรา ประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งจะอยู่ที่ 7 – 8 พันล้านดอลล่าห์ ซึ่งรวมไปกับการทดสอบการบินต่างๆ
เรา สามารถลดต้นทุนด้วยการร่วมเป็นพัธมิตรกับบริษัทการบิน และใช้จรวดที่มีอยู่แล้ว เพื่อมาพัฒนาต่อ เช่น Masten Space Systems จะเข้าดูแลในส่วนจุดเทคออฟของยาน จุดแลนเดอร์โดย Paragon Space Development Corporation , Biosphere 2 ของ ม. แอริโซน่ากับชุดและระบบไลฟ์ซิสเต็มซัพพรอต “ Alan Stern อดีตหัวหน้าภาคกรรมการวิทยาศาสตร์แห่ง NASA ผู้ผันตัวเองมาก่อตั้งบริษัทวิศวกรรมอวกาศเอกชนโกลเด้นสไปร์คกล่าว
ขณะที่ตัวเลขงบประมาณกำลังถูกตั้งข้อสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญ John Pike แห่ง GlobalSecurity.org และร่วมงานกับสหพันธ์วิทยาศาสตร์อเมริกันมากว่า 20 ปี ว่ามันอาจจะไม่เพียงพอ เมื่อหันไปดูมูลค่าการส่งยานอะพอลโลไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรกเมื่อปี 1969 ซึ่งผลาญงบไปกว่า $110พันล้านดอลล่าห์
เทคโนโลยีการพัฒนาจรวดที่ก็ไม่ได้มีอะไรคืบหน้ามากนัก หลังจากพ้นช่วงของประธานาธิบดีเคเนดี้ ความเป็นไปได้ที่จะสร้างอะไรอย่างอะพอลโล่ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่านั้นจึง น่าคิด แต่เมื่อหันมาดูเหล่าผู้บริหารแห่ง Golden Spike เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเกิดทริปดวงจันทร์ในอีก 8 ปี ข้างหน้า
ต่างพกประสบการณ์จากนาซ่ามาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Gerry Griffin ประธานโครงการอะพอลโล Bill Richardson เคยนั่งแท่นคุมโครงการเมก้าโปรเจ็กต์ในนาซ่า หรือ Newt Gingrich อดีตประธานสภาครองเกรสที่เป็น Space enthusiasts ตัวพ่อ คนทั้งหมดนี่อาสามาการันตีอนาคตของมนุษย์โลกสู่หนทางของดวงจันทร์ ในอีก 8 ปี ข้างหน้า จะได้นั่งจิบเบียร์ เหม่อมองวิวเป็นดาวโลกบ้านเกิดหรือไม่นั้น คงต้องติดตามกันต่อไป .