โคมยี่เป็งกับความหมายที่แท้จริง

 

โคมยี่เป็งกับความหมายที่แท้จริง

 

โคมยี่เป็ง กับความหมายที่แท้จริง


ทุกวันนี้เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในกระแสจารีตประเพณีของล้านนาเกิดขึ้น
เมื่อมีการนำศิลปะวัฒนธรรมออกมาขายเพื่อการท่องเที่ยว จนคติดั้งเดิมถูกรุกคืบเปลี่ยนแปลงไป
คนล้านนาที่รักและหวงแหนในจารีตของตนก็ได้แต่ยืนมองด้วยความเป็นห่วง ว่าประเพณีของตน
ได้ถูกนำไปใช้เป็นช่องทางทำมาหากินจนเลยเถิด และเกินขอบเขตที่ถูกต้องของคติเดิม

โคมยี่เป็ง ก็ตกอยู่ในกรแสนี้เช่นกัน ความจริงแล้วชื่อที่เราเรียกกันทุกวันนี้ว่า โคมยี่เป็ง ก็ผิดเพี้ยนไฟ
ในดินแดนล้านนาโดยทั่วไปจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันบ้างตามทั้งถิ่นในแต่ละเมือง
แต่โดยหลักๆแล้วก็จะมีอยู่ ๒ ชนิดที่ใช้ปล่อยให้ลอยขึ้นบนทั้งฟ้า

แบบที่ ๑ ใช้ปล่อยให้ลอยในกลางวัน เรียกว่า กมลม หรือ ว่าวลม
แบบที่ ๒ ใช้ปล่อยในตอนกลางคืน เรียกว่า กมไฟ หรือ ว่าวไฟ

โคมทั้ง ๒ ชนิด เกี่ยวเนื่องกับป๋าเวณียี่เป็ง ซึ่งเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา 
ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล "ยี่เป็ง" หรือ วันเพ็ญเดือนยี่ (เดือน ๒) ของชาวล้านนา 
ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ของไทย
การปล่อยโคมจะนิยมปล่อยเฉพาะในวันยี่เป็งเท่านั้น

เดือนยี่เป็ง ชาวล้านนาถือว่าเป็นเทศกาลงานบุญอันยิ่งใหญ่ 
การปล่อยโคมยี่เป็งกระทำเพื่อเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

แต่ในทุกวันนี้ โคมยี่เป็ง ถูกนำมาใช้แบบสะเปะสะปะ มั่วซั่ว 
ปล่อยกันทุกเทศกาลเผลอๆวันพ่อก็ปล่อย คริต์สมาสก็ปล่อย ดูแล้วก็แปลกๆ

แถมท้ายด้วยภาพกระทงใหญ่ในงานป๋าเวณียี่เป็งนครเชียงใหม่ ๒๕๕๕

ภาพจาก : สิปาน

 
Credit: โพสต์จังดอดคอม
3 ธ.ค. 55 เวลา 21:59 4,670 2 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...