วันนี้ก็มีสาระดีๆ มาฝากเพื่อนๆ กันอีกแล้วนะครับ เพื่อนๆ เคยรู้กันหรือไม่ว่า รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก ใครเป็นผู้คิดและริเริ่ม และ รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก เกิดขึ้นที่ประเทศอะไร จะใช่ที่ประเทศไทยของเราหรือไม่ เรามาดูกันดีกว่า ว่าคำตอบนั้นคืออะไร ไปหาคำตอบกันเลยกันครับ
รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก รัฐธรรมนูญ มีประวัติมายาวนาน แต่มีหลักฐานชัดเจนในประเทศอังกฤษ สมัยพระเจ้าจอห์น ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่โหดร้าย และใช้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขต ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 ขุนนาง และ พระราชาคณะ จำนวน 25 คน ได้บังคับให้พระเจ้าจอห์น ลงนามในเอกสารที่เรียกว่า ”มหาบัตร“ (The Great Charter, Magna Carta) ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางและพระ โดยในมหาบัตร ได้กำหนดถึงองค์การ และอำนาจของสภาใหญ่ (Magnum Concillium) และกำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะเก็บภาษีบางอย่างตามที่กำหนดไว้ โดยมิได้รับความเห็นชอบจากสภาใหญ่มิได้ จะจับกุมคุมขังบุคคลได้ก็ต่อเมื่อมีคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายมหาบัตรนี้ นักกฎหมายบางท่านเห็นว่า เป็นกฎหมาย รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก
ต่อมาในปี ค.ศ. 1776 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศอิสรภาพ จากการเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ และในปี ค.ศ.1789 ได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก รัฐธรรมนูญ แห่งสหรัฐ (The Constitution of United States) รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก นี้ได้มีการวางกฎเกณฑ์ในการปกครองประเทศ อำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองต่างๆ ในประเทศอย่างเป็นระเบียบ โดยมีการแยกองค์กรการปกครองประเทศออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ซึ่งรู้จักกันในนาม “หลักการแบ่งแยกอำนาจ” (Seperation of Power) มีการบัญญัติให้ รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด และยอมรับอำนาจสูงสุดของประชาชนชาวสหรัฐอเมริกา โดยเรียกว่า “อำนาจอธิปไตย” (Sovereignty)
รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก
การจัดทำรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯนี้ เป็นต้นแบบให้ประเทศต่างๆ เอาเป็นแบบอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สเปน เป็นต้น นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกายังเป็นการนำเอาแนวคิดของ นักปรัชญาที่ถกเถียงกันอย่างเป็นนามธรรมมาบัญญัติไว้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งแยกอำนาจ หลักอำนาจ อธิปไตย หลักสัญญาประชาคม ด้วยเหตุนี้เองนักกฎหมายบางท่านจึงเห็นว่ารัฐธรรมนูญ ของสหรัฐอเมริกา เป็น รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก อันเป็นลายลักษณ์อักษร และ เป็น อนุสาวรีย์แห่งกฎหมาย มหาชน….