ประวัติ รายการ 7 สีคอนเสิร์ต

 

ประวัติ

รายการ 7 สีคอนเสิร์ต ถ่ายทอดสดออกอากาศเป็นครั้งแรก จากลานเพลินเจ็ดสี ภายในบริเวณสถานีฯ สู่ผู้ชมโทรทัศน์ช่อง 7 สี ทั่วประเทศ เมื่อวันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2529 เวลา 12.30 น. นับเป็นมิติใหม่ของการแสดงคอนเสิร์ตในยุคนั้น ซึ่งใช้สถานที่ดังกล่าวมาเป็นเวลาถึง 11 ปี จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 ทางรายการได้เปลี่ยนสถานที่ไปแสดงที่ ห้องพระปิ่นเกล้าฮอลล์ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เพื่อให้สามารถเพิ่มแสงสีเสียง ให้อรรถรสในการชมมากขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนสถานที่แสดงอีกครั้ง ไปที่ห้องพระรามสองฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 จนถึงปัจจุบัน

 

รูปแบบของรายการ

เป็นการแสดงสดของศิลปินหรือนักร้องที่กำลังมีผลงานเพลงออกสู่สาธารณชน บางครั้งจะเชิญดาราในสังกัดช่อง 7 สีมาแสดงกันในรายการเป็นกรณีพิเศษ ส่วนพิธีกรนอกจากทำหน้าที่เปิดรายการและช่วงการแสดงแล้ว จะมีการสัมภาษณ์พูดคุยกับศิลปินที่มาขึ้นเวทีในช่วงคั่นระหว่างการแสดง และอาจจะบุกไปถึงห้องซ้อมก่อนการแสดง เพื่อเพิ่มสีสันบรรยากาศให้รายการและผู้ชมทั่วประเทศจะได้ทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับตัวศิลปินและผลงานนั้นๆ รายการนี้จึงต้องใช้พิธีกรถึงสองคน ซึ่งยึดถือกันมาจนถึงทุกวันนี้

 

 

ตราสัญลักษณ์รายการยุคแรก

มีฉากหลังเป็นภาพหมู่ดาว

ตราสัญลักษณ์รายการยุคที่2
มีฉากหลังเป็นมือหุ่นยนต์กดปุ่ม

 

ผู้ดำเนินรายการ

พิธีกรของรายการ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 9 คู่ ดังนี้

2529-2530 - ธงไชย แมคอินไตย์ และ มยุรา ธนะบุตร 2531-2536 - ยุรนันท์ ภมรมนตรี และ มยุรา ธนะบุตร 2536-2538 - ศรราม เทพพิทักษ์ และ มีเรีย เบนเนเดดตี้ 2539-2540 - อนันต์ บุนนาค และ รชนีกร พันธุ์มณี 2540-2541 - อนันต์ บุนนาค และ สุวัจนี ไชยมุสิก 2541-2544 - สหรัถ สังคปรีชา และ สุวัจนี ไชยมุสิก 2544-2545 - สวิช เพชรวิเศษศิริ และ ไดอาน่า จงจินตนาการ 2545-2549 - พนมกร ตังทัตสวัสดิ์ และ ทราย เจริญปุระ 2549-ปัจจุบัน - รพีภัทร เอกพันธ์กุล และ ทิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์

 

 

รางวัลที่ได้รับ รางวัลเมขลา ผู้ดำเนินรายการดีเด่นชาย (ธงไชย แมคอินไตย์) ปี 2529 ผู้ดำเนินรายการดีเด่นหญิง (มยุรา เศวตศิลา) ปี 2530 รายการเพลงดีเด่น ปี 2530 เกร็ดความรู้ ตราสัญลักษณ์ประจำรายการ ที่เป็นภาพตัวโน้ตสองขาสีทอง ขาหน้าสีทึบ มีตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ ขาหลังเป็นลายเส้น ประกอบตัวอักษรชื่อรายการแบบดิจิตอล ตามรูปแบบของตัวเลขที่แสดงในเครื่องคิดเลขซึ่งใช้มาตั้งแต่เริ่มต้นออกอากาศรายการนั้น ออกแบบโดย คุณจเร ธรรมะประศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้กำกับรายการเดียวกันในระยะเริ่มต้น เพลงไตเติ้ลประจำรายการ ซึ่งใช้มาตั้งแต่เริ่มต้นออกอากาศเช่นเดียวกัน ทำดนตรีโดย คุณประสิทธิ์ ชำนาญไพร (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ศิลปินนักร้อง นักแสดง และนักดนตรีที่มาร่วมแสดงสดในรายการครั้งแรก ได้แก่ พุ่มพวง ดวงจันทร์, ศิรินทรา นิยากร, กิตติคุณ เชียรสงค์, นันทิดา แก้วบัวสาย, ชลธิชา สุวรรณรัตน์, รณชัย ถมยาปริวัฒน์-ไพศาล อัญญธนา และวงคีรีบูน, โอภาส ทศพร, เพ็ญโพยม เรืองโรจน์, กลุ่มศิลปินมรดกไทย, มณีนุช เสมรสุต, นราธิป กาญจนวัฒน์, สุชาติ ชวางกูร, มาลีวัลย์ เจมีน่า, ชรัส เฟื่องอารมย์,กอบกิจ ทับทิม-นิภาวรรณ ทวีพรสวรรค์ กลุ่ม18 กะรัต, สาว สาว สาว และจารุณี สุขสวัสดิ์ โดยมีวงดนตรี ฮอต ทู ทรอต ร่วมบรรเลงตลอดรายการ แม้จะได้ชื่อว่าเป็นรายการสำหรับนักร้อง นักดนตรีไทย แต่ก็เคยมีดาราและศิลปินต่างชาติมาแสดง เช่น ไมเคิล เลิร์นส ทู ร็อก, ริกกี้ มาร์ติน, แมนดี้ มัวร์, หลิน จื้ออิ่ง, เฉินหลง, ฯลฯ เสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553 กฤษณกันท์ มณีผกาพันธ์ และ ธันย์ชนก ฤทธินาคา ทำหน้าที่พิธีกรแทนรพีภัทร เอกพันธ์กุล และ ทิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ เนื่องจากทั้งคู่ติดภารกิจ ไม่สามารถทำหน้าที่พิธีกรได้ เสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2553 ตะวัน จารุจินดา ทำหน้าที่พิธีกรแทนรพีภัทร เอกพันธ์กุล เนื่องจากติดภารกิจ ไม่สามารถทำหน้าที่พิธีกรได้ เสาร์ที่ 26 กรกฎาคม 2554 กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า ทำหน้าที่พิธีกรแทนทิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ เนื่องจากติดภารกิจ ไม่สามารถทำหน้าที่พิธีกรได้ ในวันที่ 19 และ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ทางรายการได้ย้ายสถานที่แสดงไปที่เอ็มซีซีฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน เป็นการชั่วคราว ในวันที่ 19 และ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 อนึ่งเนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วม [แก้]แหล่งข้อมูลอื่น เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ ในเว็บไซต์ช่อง 7 สี

 

http://s.bugaboo.tv/mc58
17 พ.ย. 55 เวลา 12:45 12,599 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...