การถ่ายภาพแบบ Landscape

อุปกรณ์ที่ต้องมีไปในการถ่ายภาพ Landscape

1.             กล้อง : นอกจากประสิทธิภาพที่ดีแล้ว ความคุ้นเคยยังเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเพราะฉะนั้นก่อนการใช้งานจริงจึงควรศึกษาคู่มือใช้งานอย่างละเอียดสำหรับกล้องที่นักถ่ายภาพส่วนใหญ่นิยมใช้คือกล้อง SLR เพราะมีความคล่องตัวสูง สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้อีกทั้งมีอุปกรณ์เสริมมีให้เลือกมากมายเพื่อที่จะช่วยให้ภาพมีคุณภาพดียิ่งขึ้นนอกจากนี้การออกแบบช่องมองภาพของกล้อง SLRสามารถเห็นภาพได้อย่างสมบูรณ์ทำให้เราจัดองค์ประกอบภาพได้สะดวก นอกจากกล้อง  SLR แล้วยังมีกล้องRangefinder, กล้อง Viewและกล้องพาโนรามา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและสถานที่ว่าเหมาะสมเพียงใด ซึ่งในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทต่อการถ่ายภาพมากขึ้น เราสามารถลดอัตราการเสี่ยงของภาพหากวัดแสงผิดพลาดด้วยกล้องดิจิตอลก่อนได้เช่นกัน

2.            เลนส์ : อุปกรณ์ที่ไม่ต้องแก้มีผลต่อคุณภาพของภาพมากที่สุดตัวหนึ่งหากคิดถึงสภาพความเป็นจริงเมื่อต้องเดินทางพร้อมกับเลนส์หลายตัวที่มีหลายช่วงความยาวโฟกัสต่างๆกันย่อมไม่คล่องตัวแน่ ทั้งขนาดและน้ำหนักในปัจจุบันได้มีเลนส์ขนาดต่างๆโดยเฉพาะเลนส์ซูมซึ่งเป็นเลนส์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากสามารถปรับเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้คล่องตัวโดยมีช่วงความยาวโฟกัสในขนาดต่างๆเช่น 28-70 มม.,70-210มม.และขนาดอื่นๆ รวมไปถึงเลนส์ Super Zoom เช่น 28-210 มม. เป็นต้นแต่ปัญหาสำคัญของเลนส์ซูมคือมีรูรับแสงกว้างสุดไม่มากนักอีกทั้งขนาดและน้ำหนักที่ค่อนข้างสูงเลนส์อีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ Landscapeนั้นคือเลนส์มุมกว้างที่สามารถเห็นมุมได้กว้างไกลช่วยเพิ่มเพอสเป็คตีฟและเป็นเลนส์ที่มีช่วงระยะชัดลึกสูงกว่าเลนส์อื่นๆ ข้อควรระวังสำหรับการถ่ายภาพ Landscapeที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของภาพ นั้นคือแสงแฟล์ แสงแฟล์เกิดขึ้นจากแสงสะท้อนจากจุดใดจุดหนึ่งเข้าหน้าเลนส์  การใช้ฮูดที่ติดมากับเลนส์
อาจป้องกันได้บางส่วน เพื่อเพิ่มความแน่ใจควรใช้อุปกรณ์สำหรับบังแสง  ( Flare Buster )  โดยที่ฐานสามารถต่อเข้ากับ ฮอท-ชู

3.            กระเป๋ากล้อง : ควรเลือกชนิดที่มีความคล่องตัวสูงภายในมีที่ว่างมากพอที่จะบรรจุอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างไม่เบียดเสียดนักฝาด้านบนควรเป็นฝาครอบกันน้ำและฝุ่นละอองได้ดีสายสะพานกว้างเพื่อกระจายน้ำหนักและที่แผ่นรองบ่าควรเลือกชนิดที่ยางกันลื่น

4.            ฟิลเตอร์ : อุปกรณ์เพื่อการสร้างสรรค์และแก้ปัญหานอกจากฟิลเตอร์ที่ติดหน้าเลนส์ป้องกันการขูดขีดเช่นUV หรือ Skylight แล้วฟิลเตอร์ที่ขาดเสียมิได้สำหรับการถ่ายภาพ Landscape คือ ฟิลเตอร์ Polariser  ( PL ) ซึ่งสามารถลดแสงสะท้อนที่ไม่ต้องการอันเกิดจากการสะท้อนของผิววัตถุที่ไม่ใช่โลหะ เช่น ผิวน้ำ เป็นต้น จุดเด่นอีกอย่างของฟิลเตอร์ชนิดนี้คือ ช่วยเติมสีท้องฟ้าให้เข้มขึ้น เพราะฟิลเตอร์จะช่วยลดการพล่ามัวอันเกิดจากหมอกแดด ทำให้ท้องฟ้า , ต้นไม้ และสิ่งต่างๆมีสีสันอิ่มตัวขึ้น สำหรับฟิลเตอร์ NDจะช่วยลดปริมาณแสงที่มากเกินนอกจากนี้ยังมีฟิลเตอร์ที่ให้ผลพิเศษเช่น ฟิลเตอร์ Graduated , Diffuser หรือ Warm tone

5.            ฟิล์ม : เพื่อคุณภาพที่ดีของภาพถ่ายควรเลือกใช้ฟิล์มที่มีค่า ISOต่ำเช่น  50 หรือ 100 เพราะให้เกณฑ์ภาพละเอียดนอกจากเสียคุณต้องการผลพิเศษด้านอื่นที่สำคัญการเลือกชนิดของฟิล์มเช่นฟิล์มสไลด์ซึ่งจะช่วยให้คุณได้ภาพที่ให้สีสันสมจริงมากกว่าการใช้ฟิล์มที่ต้องผ่านกระบวนการล้าง-อัด อีกหลายขั้นตอน

 

ตาของคนเรามีมุมในการมองเห็นเทียบเท่ากับเลนส์มาตรฐาน 50 มม. และการมองภาพสิ่งต่างๆเรามักจะมองในขณะที่ยืนอยู่ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเช่นใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อเก็บสิ่งต่างๆรอบ
ตัวทั้งหมด หรือใช้เลนส์เทเลเลือกถ่ายเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือลองถ่ายภาพมุมต่ำติดพื้นแม้กระทั่งการปีนขึ้นไปที่สูงแล้วถ่ายภาพลงมาสิ่งเหล่านี้ทำให้มุมมองเปลี่ยนไปและบ่อยครั้งที่ทำให้เราได้ภาพถ่ายที่สวยงามแปลกตาดังนั้นในการถ่ายภาพทิวทัศน์จึงต้องหามุมมองที่แตก
ต่างเพื่อสร้างความน่าสนใจในภาพถ่ายการขยันเดินดูมุมต่างๆหรือใช้ประสบการณ์ในการคาดคะเนว่าภาพจะเป็นอย่างไรเมื่อมีการเปลี่ยนมุมมองใหม่จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในที่สุดการเลือกใช้เลนสืมุมกว้างนอกจากจะมีข้อดีในเรื่องของภาพที่กว้างไกลแล้วยังมีผลในเรื่องของระยะชัดลึกที่เพิ่มมากขึ้นโดยที่ใช้ค่ารูรับแสงคงเดิม นอกจากนี้เลนส์มุมกว้างยังมีคุณสมบัติในเรื่องของเพอสเปคตีฟ โดยส่วนที่อยู่ใกล้จะดูเหมือนกับมีขนาดใหญ่ และทำให้สิ่งที่อยู่ในระยะห่างออกไปอยู่ไกลกว่าที่มองเห็นด้วยตาเปล่า จากคุณสมบัตินี้ในบางครั้งจะทำให้ภาพที่ดุธรรมดากลายเป็นที่น่าสนใจขึ้นมาทันทีส่วนเลนส์เทเลโฟโต้มีข้อดีในเรื่องของการเลือกเอา
เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งของทิวทัศน์โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปใกล้อีกทั้งเพอสเปคตีฟที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ภาพดูกระชับมากยิ่งขึ้น โดยส่วนที่เป็นฉากหลังจะดูเหมือนอยู่ใกล้กว่าเดิม แต่ต้องระวังเรื่องระยะชัดเนื่องจากเลนส์ชนิดนี้มีระยะชัดลึกน้อย ต้องใช้รูรับแสงแคบและกดปุ่มเช็คระยะชัดลึกให้ถูกต้องก่อนลงมือถ่ายภาพจริง และควรใช้ขาตั้งกล้องทุกครั้งเพื่อให้ความมั่นใจว่าได้ภาพที่คมชัดมากที่สุด หากความเร็วชัตเตอร์ก็ควรล็อคกระจกสะท้อนภาพหรือใช้สายลั่นชัตเตอร์

คำแนะนำสำหรับการถ่ายภาพ Landscape

1.            ช่วงเวลาที่มีสภาพแสงเหมาะที่สุดคือช่วงเช้าและช่วงเย็นที่แสงจะไม่แรงมากนักทำให้การปรับตั้งกล้องทำได้ง่ายมากขึ้น และช่วงเวลาดังกล่าวจะมีโทนสีของแสงที่ทำให้ดูอบอุ่น (Warm tone) ด้วย

2.            ทิศทางที่จะทำให้ท้องฟ้ามีสีสันสวยงามที่สุดในช่วงกลางวันคือ หันหลังให้กับดวงอาทิตย์ เพราะการหันหน้าเข้า จะทำให้เกิดอาการของภาพย้อนแสง และมีความเปรียบต่างที่สูงมาก เว้นแต่ว่าเราอยากจะเล่นกับแสงและเงาในภาพ ดังนั้น การ
เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ หลายๆ สถานที่จะถ่ายภาพออกมาได้สวยเมื่อไปถูกเวลา แต่ในบางสถานที่ที่ถึงแม้จะสวยมาก ก็อาจจะไม่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพหากไปผิดเวลา ควรวางแผนตรงนี้ให้ดี

3.            การวางองค์ประกอบแบบให้มีวัตถุเป็นฉากหน้าและการใช้เส้นนำสายตา จะช่วยทำให้ภาพแลดูมีมิติมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถแสดงระยะใกล้-ไกลให้กับภาพได้ด้วย

4.            ห้ามเล็งภาพตรงไปยังดวงอาทิตย์ในช่วงกลางวันเด็ดขาด นอกจากจะเป็นอันตรายต่อส่วนประกอบภายในของกล้องแล้ว ยังอันตรายกับดวงตาของเราด้วย ในขั้นร้ายแรงอาจจะทำให้ตาบอดได้

5.            การอดทนและเฝ้ารอจังหวะเวลาที่เหมาะสม คือบันไดสู่ความสำเร็จสำหรับนักถ่ายภาพ Landscape ซึ่งมันมักจะมีอะไรที่คาดไม่ถึงเสมอหลังจากเก็บกล้องและเตรียมตัวเดินทางกลับ บางครั้งหลังจากที่พระอาทิตย์ตกลับฟ้าไปแล้ว แต่อาจจะยัง
คงทำมุมกับเมฆที่ลอยสูงอยู่ เพียงชั่วครู่หลังจากนั้นอาจจะมีสีสันอันน่าตื่นเต้นปรากฏขึ้นให้เห็นก็ได้

6.            กฏพื้นฐานอย่างหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของการถ่ายภาพ Landscape ก็คือต้องดูว่าอย่าให้แนวเส้นขอบฟ้าในภาพเอียง ควรจัดวางองศาของกล้องให้เส้นขอบฟ้าขนานกับขอบภาพ ถึงแม้จะเป็น กฎพื้นฐาน แต่ก็ไม่ใช่กฎตายตัว

การถ่ายภาพในกรณีที่แสงมีจำนวนน้อย

            ในกรณีที่แสงมีปริมาณน้อยลง (เนื่องจากรูรับแสงแคบจึงทำให้ต้องใช้สปีดชัตเตอร์ที่นานขึ้น) เราต้องใช้ขาตั้งกล้องสำหรับกรณีนี้เพื่อป้องกันอาการภาพสั่นไหว นอกจากนี้ก็ควรต้องใช้สายลั่นชัตเตอร์เพื่อไม่ให้เกิดแรงกระทบกระเทือนจากการกดปุ่มชัตเตอร์ที่ตัวกล้อง หากภาพที่เรากำลังถ่ายนั้นไม่มีตัวแบบที่เคลื่อนไหวและไม่ต้องการจังหวะการกดชัตเตอร์ที่แม่นยำ ก็อาจจะใช้ระบบหน่วงเวลาถ่ายภาพ (Self-Timer) แทนสายลั่นชัตเตอร์ได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องลั่นชัตเตอร์ในเวลาที่เหมาะสมเช่น รถวิ่งเข้ามาอยู่ในตำแหน่ง หรือเครื่องบินบนท้องฟ้าที่วางจังหวะเอาไว้ในองค์ประกอบของภาพ แบบนี้ก็ควรต้องใช้สายลั่นชัตเตอร์เพราะจะสามารถควบคุมจังหวะการกดชัตเตอร์ได้ในทุกเวลาที่ต้องกา

ขอขอบคุณเว็ปไซร์ดังต่อไปนี้ในการหาข้อมูล

http://www.tsdmag.com/alpha/trick2_landascape.php

http://www.truenaturephoto.com/smf/index.php?topic=32.0

http://www.pixeless.net/forums/archiver/?tid-368.html

อันนี้ยาวหน่อย แต่รับรองว่า มีสาระนะจีะ อ่านแล้วเม็น โหวตให้เค้าด้วยนะค่ะอิอิ
6 ก.พ. 53 เวลา 22:37 6,196 2 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...