กฎพื้นฐานในการถ่ายภาพ Portrait
1. ดวงตาต้องคมชัด เพราะหากดวงตาอยู่นอกโฟกัสเสียแล้ว ภาพจะสื่อความหมายได้ไม่สมบูรณ์
2. มองหาส่วนเด่นส่วนด้อยบนใบหน้าให้เจอ แล้วใช้มุมกล้องและแสงเงาในการช่วยทั้งสองส่วนของใบหน้า
3. ถ้าเป็นการถ่ายภาพบุคคลที่เห็นลำตัวด้วย ส่วนข้อต่อต่างๆ คือส่วนที่ไม่ควรจะอยู่ในแนวครอบของขอบภาพ
4. อย่าลืมคำนึงถึงฉากหลังและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
5. เวลาที่เหมาะสมคือเวลาเช้าหรือเย็น เพราะแสงจะลดความแรงลงมา รวมทั้งมีมุมของแสงที่จะ
ให้เงาที่ช่วยในเรื่องมิติของภาพด้วย
ใช้ (Lens) เลนส์อะไรดีในการถ่ายภาพ Portrait
Lens 50 mm เป็นเลนส์นอมอร์ที่ให้คุณภาพของภาพดีน้ำหนักไม่มากนัก ได้เปรียบในเรื่องของการคล่องตัว ที่สำคัญราคาไม่แพง
Lens 85 mm เป็นเสนส์ Portrait ในระยะที่นิยมมากเนื่องจากกล้องจะมีระยะที่อยู่ห่างจากตัวแบบออกไปทำให้อาการเกร็งของผู้ถ่าย และผู้ถูกถ่ายน้อยลงอีกทั้งยังให้ขนาดของภาพบุคคลครึ่งตัวได้พอเหมาะ
Lens 135 mm เป็นเลนส์ที่มีระยะในระดับมืออาชีพ ที่ต้องใช้ระยะห่างจากตัวแบบมาพอสมควร มีน้ำหนักมากที่สุด (รวมทั้งราคาที่สูงที่สุด) แต่ข้อดีก็คือจะสามารถเบอฉากหลังได้มากกว่าในระยะฉากหลังที่เท่ากัน
Lens 70 – 200 mm เป็นเลนส์ซุมที่นิยมในการถ่ายภาพบุคคลเพราะสามารถเปลี่ยนระยะไปมาโดยไม่ ต้องเคลื่อนกล้องไปมา อีกทั้งที่ระยะ 200 mm จะสามารถเบลฉากหลังได้มากที่สุด แต่ข้อเสียก็คือต้องอยู่จากตัวแบบพอสมควรและเลนส์ที่จะให้คุณภาพของภาพดีก็จะมีราคาสูงอยู่ประมาณหนึ่ง
แฟลชจำเป็นขนาดใหน
แฟลชมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการถ่ายภาพบุคคล เพราะนอกจากจะใช้แสงธรรมชาติแล้ว เรายังสามารถใช้แฟลชสำหรับการเสริมแสงเพื่อเปิดเงา (Fill-in Flash) หรือให้แสงเพิ่มกับส่วนที่เป็นเงามืดได้ ซึ่งก็จะทำให้ใบหน้าของตัวแบบดูสดใสมากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้คุณสมบัติของการ
แยกแฟลชออกจากตัวกล้องเพื่อควบคุมทิศทางของแสง สำหรับการสร้างมิติของภาพได้ด้วยสิ่งที่แฟลชแยกถูกนำมาใช้มากที่สุดก็คือการสร้างประกายตาให้กับตัวแบบ โดยการติดแผ่นการ์ดสีขาวที่หัวแฟลชแล้วชี้
หน้าแฟลชขึ้นด้านบน ก็จะทำให้แผ่นการ์ดสีขาวไปปรากฏในดวงตาของตัวแบบได้แฟลชเป็นอุปกรณ์ที่เราสามารถจะประยุกต์การใช้งานและเทคนิคได้อย่างหลากหลาย และเป็นอุปกรณ์ที่ช่างภาพบุคคลแทบจะขาดไม่ได้เลย Reflector หรืออุปกรณ์สะท้อนแสง ก็เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถช่วยใน
การสะท้อนแสงเพื่อเปิดเงาให้กับตัวแบบได้ดี ซึ่งมีทั้งแบบที่ผลิตขายที่มีข้อดีคือพกพาง่าย สะดวก และมีหลายสีให้เลือกใช้งานและอีกแบบที่ใช้กันทั่วไปก็คือแผ่นโฟมสีขาวที่มีราคาถูก แต่อาจจะไม่ค่อยสะดวก
ในการขนย้ายเท่าใดนัก แต่ทั้งสองแบบให้ผลดีพอๆ กัน ในการถ่ายภาพบุคคล นอกจากเรื่อง
ของฉากหลังแล้ว ต้องคำนึงถึงลักษณะของแสงและเงาเป็นสำคัญ ซึ่งปัจจัยทั้งสองนี้
สามารถที่จะส่งผลดีหรือเสียให้กับภาพและตัวแบบได้โดยตรง เช่น แสงที่แรง จะทำให้เกิดเงาที่เข้ม ซึ่งจะทำให้เกิดภาพที่มีลักษณะที่เรียกกันว่า "ภาพแข็ง" เพราะมีความเปรียบต่างสูง ดังนั้น ลักษณะของแสงจึงเป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพพึงสังเกตให้ดี และการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ก็คือการดูภาพถ่ายของช่างภาพมืออาชีพ แล้วสังเกตว่าเขาใช้ลักษณะแสงอย่างไร แสงเข้ามาในทิศทางไหน ฯลฯ
Tips & Techniques
1. หลีกเลี่ยงที่จะให้ตัวแบบยืนอยู่บนสนามหญ้าสีเขียวเพื่อหลีกเลี่ยงการสะท้อนสีเขียวบนผิวหน้า
2. ระวังใต้ร่มไม้สีเขียว เพราะจะทำให้มีสีเขียวบนตัวแบบได้เช่นกัน
3. พูดคุยกับตัวแบบให้เกิดการผ่อนคลายก่อนการถ่ายภาพจะทำให้สีหน้าแววตาและท่าทางของตัวแบบดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น
4. ในระหว่างถ่ายภาพ ให้พูดคุยกับตัวแบบไปด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง
5. เปิดภาพให้ตัวแบบดูบ้างและแนะนำว่าควรจัดวางท่าทางอย่างไรก็จะทำให้ตัวแบบเข้าใจได้มากขึ้น
6. ไม่ต้องใช้วิธีการนับ ให้จับจังหวะกดชัตเตอร์ไปเรื่อยๆ จะได้ภาพที่เป็นธรรมชาติมากกว่า
7. ไม่ควรยิงแสงไปสู่หน้าตัวแบบในทิศทางตรงกับกล้อง เพราะจะทำให้ใบหน้าดูแบน ไม่มีมิติ
8. การยิงแสงแฟลชผ่านแผ่นโฟม ก็จะช่วยให้ได้แสงนุ่มไปอีกแบบ
9. ใช้ขาตั้งกล้องร่วมด้วยจะช่วยให้ได้ภาพที่คมชัดมากขึ้นและช่วยลดอาการเมื่อยล้าจากการถือกล้อง
10. ระวังแสงที่มาจากด้านบนหรือที่ขึ้นมาจากด้านล่างแสงทั้งสองแบบล้วนทำให้เกิดเงาที่ทำให้ดูน่ากลัว
11. ตัวแบบที่ใส่คอนแทกเลนส์แบบแฟนซีจะช่วยให้ดูมีประกายตามากขึ้น
ข้อมูลทั้งหมดจากเว๊ปไซร์ http://www.tsdmag.com