เปิดกรุหนังต้องห้าม

 

เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) [1]
บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films)

หนังต้องห้าม หรือ Prohibited Films ตามแนวทางที่สมาคมภาพยนตร์อเมริกัน หรือ Motion Picture Association of America ได้สร้างระบบการจัดระดับภาพยนตร์แบบ เอ็มพีเอเอ (MPAA film rating system) เอาไว้ว่าหนังที่ได้ เรต เอ็นซี-17 (NC-17 = No one 17 and under admitted) นั้นให้จัดเป็นหนังใน “เรตต้องห้าม” คือไม่อนุญาตให้ เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปีเข้าชมโดยเด็ดขาด ส่วนในประเทศไทยหลังจากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ปี พ.ศ. 2551 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมานั้น ได้เปลี่ยนจากระบบ “เซ็นเซอร์ภาพยนตร์” (รวมทั้ง หนัง สารคดี ละคร ที่อาจอยู่ในรูปของหนังที่ฉายในโรงหนังหรือฟิล์ม และหนังแผ่นประเภทดีวีดี วีซีดี ซีดีรอม) มาเป็นการจัด “เรตติ้ง” โดยกำหนดภาพยนตร์ไว้ 7 ประเภท โดยมีประเภทที่ 6 และประเภทที่ 7 จัดอยู่ในเรตของหนังต้องห้าม อันหมายถึง หนังประเภทที่ 6 ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู (ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส) และประเภทที่ 7 ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร 

ในเว็บไซต์ www.horrorclub.net ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหนังสยองขวัญระดับแถวหน้าของเมืองไทยได้กำหนดเรตต้องห้ามเอาไว้คือ เรต NC20 (No Children 20)  หรือ No One 20 and Under Admitted ซึ่งหมายถึง หนัง หรือภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู(ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส) ในส่วนของ NC20 จะจำกัดสำหรับผู้มีคุณสมบัติผ่านเท่านั้น (คืออายุมากกว่าหรือเทียบเท่า 20 ปี) NC20 - หนังระทึกขวัญ สยองขวัญ ที่มีเนื้อหาความรุนแรงในระดับเข้มข้น มักเป็นหนังที่ไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์ เนื่องด้วยเนื้อหาที่มีความรุนแรง อนาจาร เรื่องทางเพศ ที่เกินกว่าจินตนาการของคนทั่วไปจะนึกถึง มีภาพที่อุจาด และแสดงให้เห็นถึงการเข่นฆ่า ทรมานเหยื่อด้วยความวิปริต มีการจงใจเผยให้เห็นรายละเอียด ขั้นตอนของการสังหารเหยื่ออย่างจงใจและชัดเจน 

หนังต้องห้ามที่เรียกว่า Snuff Film / Real Snuff film  ถือเป็นศาสตร์ทางด้านมืดอีกแขนงหนึ่งในวงการสร้างหนัง-ภาพยนตร์อันแสนอันตราย มีแรงดึงดูดอย่างร้ายกาจ และถือว่าเป็นหนังที่มีดีกรีความรุนแรงที่สูงลิบ ดิบ เถื่อน อำมหิตเป็นเลิศ หายากและผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Fake Snuff film และ Real Snuff film แต่ที่กล่าวขานกันว่าเป็นหนังต้องห้ามในระดับ “หนังแห่งตำนาน” ที่เป็นที่โจษจันกันในหมู่นักชมหนังสยองขวัญระดับ Hardcore ทั่วโลก และบรรดานักสะสมของแปลกคงเป็น Snuff Film ในแบบ Real Snuff film ของ Charles Manson และกลุ่ม The Manson Family ที่ถ่ายทำไว้ในปี ค.ศ. 1969  เชื่อกันว่าเป็น Snuff film ที่ถ่ายทำโดย Charles Manson (ชาร์ลส แมนสัน) ผู้นำของ The Manson Family กลุ่มฆาตกรโรคจิตชื่อดังในอดีตคือม้วนวีดีโอ-หนังแห่งตำนานหมายเลขหนึ่งของวงการภาพยนตร์ใต้ดิน เชื่อว่ากลุ่ม The Manson Family ได้ทำการฆาตกรรม Sharon Tate ดาราสาววัย 26 ปีซึ่งเป็นภรรยาของ Roman Polanski ผู้กำกับหนังสยองขวัญชื่อดังอย่าง Rosemary's Baby หรือในชื่อภาคภาษาไทยว่า  “ทายาทซาตาน” โดยการฆาตกรรมหฤโหดในครั้งนั้นเกิดขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1969    Sharon Tate ซึ่งกำลังท้องแก่ใกล้คลอดถูกฆาตกรกลุ่ม The Manson Family แทงด้วยมีดถึง 16 แผล  ตัดเต้านมทั้งเป็น  กรีดชำแหละตั้งแต่บริเวณหน้าอกจนถึงอวัยวะเพศ  จากนั้นกลุ่มฆาตกรเลือดเย็นจึงใช้เลือดของ Sharon Tate จุ่มด้วยแปรงเขียนคำว่า “Pig” เอาไว้ทั้งที่บานหน้าต่างรวมถึงประตู โดยในการฆาตกรรมเหยื่อครั้งนี้หลายคนเชื่อกันว่า Charles Manson ได้ถ่ายทำหนัง Snuff film ในการฆาตกรรมเหยื่อเอาไว้ด้วย  แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครได้เห็นม้วนเทปดังกล่าว  หรือมีการยืนยันว่ามันมีอยู่จริง  

เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) คืองานเขียนที่จะนำพาท่านผู้อ่านทุกท่านดำดิ่งลงไปสู่ห้วงแห่งความวิบัติ ดำมืด เงียบประหนึ่งรัตติกาลในขุมนรกอเวจี ตีแผ่เรื่องราวแห่งหนังต้องห้าม-หนังแห่งตำนานอย่างถึงพริกถึงขิงอย่างที่ไม่เคยมีใครกล้าเปิดเผยมาก่อน

 






ภาพประกอบ 1 :  Salo the 120 Days of Sodom 
อ้างอิงภาพประกอบ     http://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Main/SaloOrThe120DaysOfSodom




                                                                                           
 

หนัง-เรตของหนัง และหนังต้องห้าม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ.2542 อธิบายความหมายของคำว่า “หนัง” หรือ “ภาพยนตร์” เอาไว้ว่า หนัง หมายถึง น. ภาพยนตร์ เช่น โรงหนัง ถ่ายหนัง ฉายหนัง  เล่นหนัง อนึ่ง หนังเงียบก็ว่าเป็นภาพยนตร์ที่ไม่มีเสียงในฟิล์ม(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ.2542 หน้า 1,243) ส่วนคำว่า ภาพยนตร์ (พาบพะ-) น. ภาพฉายด้วยเครื่องทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้, หนังฉาย (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542 : 821)
             
นอกจากนี้หนัง หรือภาพยนตร์ซึ่งหมายถึง Movies n.,pl (มูวิซฺ) และ Moving adj. (มูวิง) คือ Moving Pictures (มูวิง พิคเชอซฺ) ยังหมายถึง ภาพเคลื่อนไหว หรือภาพซึ่งกำลังเคลื่อนไหว หรือภาพยนตร์ ซึ่งเร้าความรู้สึกทางอารมณ์ อาจทำให้ตื้นตัน หรืออารมณ์ด้านอื่นๆ(Modern English-Thai Dictionary 2538 : 462)
             
ภาพยนตร์เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายในลักษณะที่แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว(Motion Picture) ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอริยาบทหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ด้วยคุณลักษณะพิเศษของภาพยนตร์ที่สามารถแสดงให้เห็นภาพและเสียงอันน่าสนใจ ภาพยนตร์จึงเป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทและอิทธิพลในด้านต่างๆ เป็นอย่างสูงมาตลอดเวลานับร้อยปี จนปัจจุบันแม้จะมีสื่อประเภทอื่นเกิดขึ้นมากแล้ว แต่ภาพยนตร์ก็ยังอยู่ในความนิยม และได้รับการพัฒนาให้มีบทบาทสำคัญอยู่เสมอ โดยเฉพาะในกิจการด้านธุรกิจการบันเทิง และยังมีคุณค่าอย่างสูงสำหรับการศึกษา เนื่องจากภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีคุณลักษณะพิเศษ สามารถทำให้เข้าใจเรื่องราวได้อย่างลึกซึ้ง(ความหมายของภาพยนตร์ whitemedia.org)
             
ในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี อธิบายความหมายของคำว่า หนัง หรือภาพยนตร์ เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ภาพยนตร์ คือ เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายในลักษณะที่แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว (motion pictures) ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบทหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิล์มชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำค้นหา/ภาพยนตร์ ใน http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%
B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)

ภาพยนตร์ คือ การบันทึกภาพเคลื่อนไหว ที่มาของความคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์คือรากเหง้าของศาสตร์ต่างๆ ที่รวมกันเรียกว่า สุนทรียศาสตร์ (Aestherics) ภาพยนตร์ถูกยกให้เป็นศิลปะแขนงที่ 7 เพราะมีพลังในการสร้าง emotion ให้แก่ผู้ชมได้สูงกว่าสื่อชนิดอื่น ซึ่งก็คือ ศิลปะที่ว่าด้วยสุนทรียศาสตร์ Aestheti (ข้อมูลทางวิชาการ/มหาวิทยาลัยเกริก เกี่ยวกับ ศาสตร์และศิลป์แห่งภาพยนตร์ 
อ้างอิง www.krirk.ac.th/faculty/Communication_arts/.../file02.doc -)
             
จากทรรศนะของผู้รู้ในเบื้องต้นจึงพอสรุปได้ว่า หนัง หรือ ภาพยนตร์ หมายถึง ภาพยนตร์(พาบพะ-) น. เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม เเล้วนำมาฉายด้วยเครื่องทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา







ภาพประกอบ 2 :  บรรยากาศในโรงฉายหนัง 
อ้างอิงภาพประกอบ  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Cinemaaustralia.jpg

 

ประวัติศาสตร์แห่งการสร้างหนัง-ภาพยนตร์ ของโลก


ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี กล่าวอ้างถึงผู้ที่คิดประดิษฐ์ต้นแบบแห่งการสร้างหนัง-ภาพยนตร์คนแรกของโลกขึ้นมา นั่นก็คือ โทมัส แอลวา เอดิสัน ดังมีความว่า ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า “คิเนโตสโคป” (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า “ถ้ำมอง” มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที 
             
ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ “ซีเนมาโตกราฟ” (Cinimatograph) ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ต่อมาได้นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า “ซีเนมา” (Cenema) ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปะการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา
(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำค้นหา/ภาพยนตร์ ในhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)
              
พ.ศ. 2440 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย(โดม สุขวงศ์ 2533 : 2-3, เยาวนันท์ เชฏฐรัตน์ 2529 : 6-20)
             
ภาพยนตร์ในปัจจุบันมีการเผยแพร่อยู่ 4 ทางคือ ฉายตามโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์กลางแปลง และภาพยนตร์เร่ ถ่ายทอดลงแผ่น VCD และ DVD เผยแพร่ทางโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต (ประวัติความเป็นของโรงภาพยนตร์ whitemedia.org)






ภาพประกอบ 3  :  บรรยากาศการฉายหนังของยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538653518&Ntype=5

แนวของหนัง หรือประเภทของภาพยนตร์

             
ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี แบ่งแนวทางการจำแนกประเภทของหนัง-ภาพยนตร์ไว้เป็นสามแนวทางดังต่อไปนี้คือ ฉาก, อารมณ์, และรูปแบบ ฉากหมายถึงสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เรื่องราวในภาพยนตร์ดำเนินไป อารมณ์หมายถึงความรู้สึกที่ผู้ชมได้รับตลอดการชมภาพยนตร์ และรูปแบบหมายความกว้างๆ ถึงอุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายทำและวิธีการเล่าเรื่อง

ฉาก ประกอบไปด้วย
             1. อาชญากรรม: ตัวละครมีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหรือเป็นอาชญากรเสียเอง 
             2. ฟิล์ม นัวร์: ตัวละครเอกไม่เชื่อในความดีงามและคุณค่าของมนุษย์ 
             3. อิงประวัติศาสตร์: เนื้อเรื่องดำเนินในอดีต โดยเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ที่ได้รับการบันทึกไว้ มากบ้าง น้อยบ้าง แต่จะไม่เกิดจากจินตนาการหรือความเพ้อฝันล้วนๆ 
             4. นิยายวิทยาศาสตร์: เนื้อเรื่องดำเนินในความเป็นจริงอื่น ส่วนมากคืออนาคตหรืออวกาศ ตัวเนื้อเรื่องมักมีเทคโนโลยี(ที่เกิดจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่)เป็นองค์ประกอบ หรืออาจใช้ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์เข้าช่วยในการอธิบายลักษณะตัวละคร ฉาก พฤติกรรมของตัวละคร หรือความเป็นไปของเนื้อเรื่อง(อาจเข้าข่ายลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือมากกว่า) 
             5. กีฬา: เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาหรือสถานที่ที่ใช้แข่งขันกีฬา 
             6. สงคราม: เนื้อเรื่องดำเนินในสนามรบหรือในช่วงเวลาที่มีสงคราม
       
อารมณ์ ประกอบไปด้วย
            1. แอ็คชัน: สร้างความเร้าใจให้กับผู้ชมผ่านทางการใช้ความรุนแรง 
            2. ผจญภัย: สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชมผ่านทางการเสี่ยงภัยของตัวละคร 
            3. ตลก: มุ่งสร้างความสนุกสนานและเสียงหัวเราะ 
            4. ดราม่า: สร้างความตื่นตัวใจ ความเศร้าสลดใจ ผ่านทางการแสดงการเติบโตของตัวละคร 
            5. แฟนตาซี: สร้างความสนุกสนานและตระการตาตระการใจด้วยฉากและเนื้อเรื่องที่ไม่อยู่ในความเป็นจริง 
            6. สยองขวัญ: มุ่งสร้างความกลัว 
            7. ลึกลับ: มุ่งสร้างความฉงนงงงวยและความรู้สึกท้าทายในการแก้ไขปริศนา 
            8. รักโรแมนติก: มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักฉันชู้สาว 
            9. ระทึกขวัญ: มุ่งสร้างความตื่นเต้นและความตึงเครียด

รูปแบบ ประกอบไปด้วย
            1. แอนิเมชัน: สร้างภาพเคลื่อนไหวโดยฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพติดต่อกันด้วยความเร็วสูง 
            2. ชีวประวัติ: มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของบุคคลจริง 
            3. สารคดี: นำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
            4. ทดลอง: สร้างขึ้นเพื่อทดสอบการตอบรับของผู้ชมต่อเทคนิคการสร้างภาพยนตร์/เนื้อเรื่องใหม่ๆ 
            5. ละครเพลง: แทรกเพลงที่ร้องโดยตัวละคร 
            6. บรรยาย: เนื้อเรื่องดำเนินไปตามการเล่าเรื่องของผู้บรรยาย 
            7. สั้น: มีความยาวน้อยกว่าภาพยนตร์ทั่วๆ ไป
(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำค้นหา/แนวภาพยนตร์ และทฤษฎีภาพยนตร์ 
ใน http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2
%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)
  
จากข้อมูลทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกริก ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเป็นองค์ประกอบของภาพยนตร์ สรุปความได้ดังนี้ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเป็นองค์ประกอบของภาพยนตร์ :  รากเหง้าของศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นที่มาของความคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์ คือ สุนทรียศาสตร์ (Aestherics) ซึ่งหมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วย ความงดงาม ดีงาม ปรัชญาเกี่ยวกับสิ่งที่มีความดีงามทั้งหลาย
  
ศูนย์กลางศาสตร์ทั้งหลาย มาจาก คุณวิทยา (Axiology) ซึ่งแตกแขนองออกเป็น จริยศาสตร์ (Ethics), ภววิทยา (Ontology), ปรัชญา (Philosophy), ทฤษฎีความรู้ (Theology), เทววิทยา (Epistemology), ตรรกศาสตร์ (Theology Logics), จริยศาสตร์ (Ethics), ภาววิทยา (Ontology), ปรัชญา (Philosophy)
  
คุณวิทยา Axiology ศึกษาเกี่ยวกับ จริยศาสตร์ เทววิทยา ตรรกวิทยา สุนทรียศาสตร์ โดยมีพื้นฐานมาจาก Philolophy, Ontology และ Epistemology
  
ผู้ที่ให้ความหมายของ สุนทรียศาสตร์ คือ Alexander Gottlieb Baumgarten (ค.ศ. 1714 - 1762) Aestherics มาจากคำว่า Aesthetica หรือ Aestherics --->Aistheisis/Aestheka (Aisthtikos) = Perception
  
  
ภาพยนตร์และวิทยุโทรทัศน์ วิดีทัศน์ ถูกยกให้เป็นศิลปะแขนงที่ 7 เพราะมีพลังในการสร้าง emotion ให้แก่ผู้ชมได้สูงกว่าสื่อชนิดอื่น 
ศิลปะ 7 แขนง ได้แก่
  1. คีตศิลป์ การร้อง เพลงดนตรี ภาพ เสียงเพลง
  2. จิตรกรรม ภาพเขียน เทคนิคการใช้สีสันต่างๆ ให้เกิดอารมณ์
  3. ประติมากรรม งานปั้น รูปสลัก
  4. สถาปัตยกรรม งานออกแบบฉาก การสร้างฉาก
  5. นาฏกรรม การร่ายรำ ฟ้อนรำ การแสดง
  6. วรรณกรรม งานเขียน บทกลอน โครง ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การเขียนบท
  7. ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ ศิลปะที่ว่าด้วยสุนทรียศาสตร์ Aestheti
  
  
ศิลปะ คืออะไร มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาควบแน่นในความเป็นภาพยนตร์อย่างแยกขาดจากกันไม่ได้ คำว่า Imitation มาจากการเลียนแบบ (จากธรรมชาติ) อะไรหรือสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นของจริง ถือว่าไม่ใช่ศิลปะ ดังนั้น Representations หรือ ศิลป (ทุกชนิดทุกประเภท) เป็นสื่อในตัวเอง
  
ศิลปะ ต่างจาก อนาจาร อย่างสิ้นเชิง ถ้าไม่มีการตีกรอบความหมายให้ชัดเจน มักจะนำสองคำนี้มาตีความให้เป็นสิ่งเดียวกันได้ นับเป็นคำอ้างของผู้ไม่ประสงค์ดี หรือบิดเบือนความจริง ดังได้กล่าวมาแล้วว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นของจริง ถือว่าไม่ใช่ศิลปะ นั่นเป็นความหมายโดยทั่วไป แต่กรอบความคิดเพียงเท่านี้ยังไม่พอ สำหรับ

Credit: โพสต์จังดอดคอม
#หนังต้องห้าม
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
3 พ.ย. 55 เวลา 06:03 6,783 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...