ช็อก! เด็ก 8 ขวบ ผูกคอตาย เลียนแบบแรงเงา-คนอวดผี


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

            ศ.นพ.สมศักดิ์ เรียกร้องสื่อรับผิดชอบสังคม พิจารณาออกอากาศละครหลังสี่ทุ่ม หลังเด็กมีพฤติกรรมรุนแรง-ติดเกมมากขึ้น เผย 8 ขวบ ผูกคอตายเลียนแบบแรงเงา-คนอวดผี

            วันนี้ (1 พฤศจิกายน) ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงข่าวกรณีภัยร้ายต่อเด็กจากสื่อทีวี สื่อไอที หลังจากเกิดเหตุสลดเด็กดูทีวีแล้วผูกคอตาย และกรณีเล่นเกมแล้วแทงแม่ตาย โดยระบุว่า ในรอบสัปดาห์นี้มีเหตุร้ายเกิดกับเด็ก 2 รายที่ทำให้สังคมต้องทบทวนว่าการเติบโตของสื่อทีวี สื่อไอทีต่าง ๆ กำลังทำร้ายเด็กหรือไม่

            ศ.นพ.สมศักดิ์ ระบุว่า สื่อและทีวีในปัจจุบันหวังรวย หวังกำไร โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม มีการนำเสนอคำหยาบ ความรุนแรงต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการเลียนแบบ ดังจะเห็นได้จากกรณี ด.ญ.อายุ 8 ขวบ เล่นแขวนคอโดยนำเศษผ้าและเชือกมาผูกเป็นห่วงกับต้นหูกวาง เลียนแบบรายการคนอวดผีและละครเรื่องแรงเงา

            โดยพ่อของเด็ก เผยว่า เด็กถูกส่งตัวไปรักษาที่ รพ.รามาธิบดี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพราะหมดสติ ขาดอากาศหายใจนานกว่า 10 นาที ตอนนี้เด็กอาการดีขึ้น ถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว แต่ต้องประเมินความเสียหายทางสมองอีกครั้งว่าเป็นอย่างไร พร้อมทั้งเล่าว่า เด็กดูรายการทีวีมีภาพการแขวนคอตาย 3-4 รายการ ในเวลาสัปดาห์เดียว คือ คนอวดผีวันที่ 17 ตุลาคม, 24 ต.ค. และละครเรื่องแรงเงา 22 ตุลาคม ซึ่งทุกครั้งเด็กจะให้ความสนใจมาก และเพื่อนเด็กก็บอกเช่นกันว่าก่อนเกิดเหตุเด็กหญิงบอกว่าจะไปเล่นแขวนคอ 

            นอกจากนี้ ยังเกิดเหตุ ด.ช.อายุ 14 ปี ที่เป็นออทิสติกแต่รักษาหายแล้ว ติดเกมเล่นไม่ยอมเลิก แม่มาห้ามไม่ให้เล่นเด็กเลยเอามีดแทงตาย

            ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันปัญหาสังคมมีมากขึ้น ครอบครัวไม่มีความสุข มีความรุนแรงมากขึ้น สื่อและทีวีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเด็กและได้มีการเพิ่มความหลากหลายและการเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้เด็กยังมีภาวะติดเกมมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กผู้ชายส่งผลต่อการเรียน ทำให้ระยะหลังมานี้ผู้ชายสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้น้อยกว่าผู้หญิง แม้แต่คณะแพทยศาสตร์ปัจจุบันส่วนใหญ่ก็มีแต่ผู้หญิงเรียน

            ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ตนคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะมาพูดคุยกันอีกครั้งเรื่องละครที่มีเนื้อหารุนแรงว่าควรจะออกอากาศในเวลาที่เด็กนอนแล้วหรือไม่ คือหลัง 4 ทุ่มไปแล้ว นอกจากนี้ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยขอรณรงค์ให้ผู้ปกครองเคร่งครัดในการตรวจสอบการเข้าถึงสื่อทีวี เกม อินเทอร์เน็ต คัดกรองสื่อที่เนื้อหาเหมาะสม และจำกัดเวลาในการใช้ โดยเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์เลย ส่วนอายุเกิน 2 ขวบควรใช้เวลาไม่เกิน 2 ชม. ต่อวัน ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมเล่นกลางแจ้ง ออกกำลังกายดีกว่า



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก 

Credit: http://hilight.kapook.com/view/77953
2 พ.ย. 55 เวลา 07:49 2,599 2 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...