ค่ายกักกันเชลยศึกของนาซีเยอรมัน ตอน 1

 

เนื่องจากภาพประกอบจำนวนมากถึง 45 ภาพ จึงขอตัดแยกแบ่งออกเป็นสองตอนเพื่อความสะดวกต่อการอ่านและรับชมภาพแก่ทุกท่าน คำเตือน! ภาพรุนแรงต่อความรู้สึก) R18+

 

ภาพที่ปรากฏ ไม่เหมาะแก่เยาวชนต่ำกว่า 18 ปี R18+ ผู้ปกครองควรพิจารณา

อาจทำให้เกิดความหดหู่ทางจิตใจอย่างรุนแรง

ท่านใดที่ไม่สามารถรับชมภาพสะเทิอนใจได้ ขอให้ผ่านกระทู้นี้ไปได้เลย

 

 ฮอโลคอสต์ - ค่ายกักกันเชลยศึกของนาซีเยอรมัน ตอน 1

       “ค่ายกักกัน” (Concentration Camp) คือสถานที่ที่รัฐใช้กักขังนักโทษ หรือกักกันบุคคลเฉพาะกลุ่ม ด้วยเหตุผลทางการเมือง เช่น นักโทษการเมือง บุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลหรือพลเมืองเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่ง นักโทษเหล่านี้จะถูกจับโดยไม่มีการสอบสวนตามกระบวนการยุติธรรม และไม่มีกำหนดเวลาการปล่อยตัว ทั้งยังถูกตัดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชาติด้วย

           ค่ายกักกันเริ่มมี ครั้งแรกเมื่อสงครามบัวร์ (ค.ศ.1899-1902) ในแอฟริกาใต้ ตามแนวคิดของ “ลอร์ดฮอเรวีโอ คิชเนอร์” แม่ทัพอังกฤษที่สั่งให้ควบคุมผู้หญิงและเด็กชาวบัวร์ไว้ในค่ายเพื่อไม่ให้คน เหล่านี้มีโอกาสช่วยเหลือชายชาญทหารบัวร์ที่กำลังทำสงครามกับอังกฤษ ถึง ค.ศ.1930 ค่ายกักกันถูกก่อสร้างใช้งานอีกครั้งตามคำสั่ง “อดอล์ฟ ฮิตเลอร์” ผู้นำพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมัน หรือพรรคนาซี มีทั้งหมดประมาณ 50 แห่ง

             สภาพโดยทั่วไปประกอบด้วยโรงทหาร กระท่อมหรือกระโจมที่พักผู้ต้องกัก บริเวณรอบค่ายจะมีป้อมยามรั้วลวดหนามล้อมรอบ ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ ผู้บัญชาการหน่วยเอสเอสทำหน้าที่ควบคุม เขาใช้ค่ายกักกันที่เมืองดาเชาเป็นศูนย์บัญชาการ ค่ายกักกันของฮิมม์เลอร์ต้องการคน 2 ประเภท 1.บุคคลที่เป็นศัตรูทางการเมืองของพรรคนาซี ซึ่งมักใช้เป็นข้ออ้างในการกำจัดศัตรูทางการเมือง หรือสมาชิกทรยศ รวมไปถึงชาวยิว 2.บุคคลที่ไร้คุณค่าตามหมายหมายของพรรคนาซี หมายถืงพวกยิปซี โสเภณี พวกรักร่วมเพศ และพวกที่เคยโดนคดีถูกลงโทษแล้วยังกระทำผิดถูกดำเนินคดีอีก

             ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ.1939-1945 พรรคนาซีสร้างค่ายกักกันขึ้นมากมาย กวาดต้อนชาวโปแลนด์ ยูเครน รัสเซีย และยิวมาคุมขังและใช้แรงงานสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและโรงงานผลิตอาวุธป้อนหน่วยเอสเอสและเป็นสุสานทำลายล้างเผ่าพันธุ์ยิว (นาซีเรียกว่าการแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย)

             ค่ายกักกันที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไม่รู้ลืมคือค่ายกักกันเอาช์วิตซ์ ยิวถูกกวาดต้อนเข้าห้องรมแก๊สสังหารหมู่ เช่นเดียวกับที่เบลเซก โซบิบอร์ ไมดาเนก เตรบลินกา ซึ่งค่ายกักกันเหล่านี้อยู่ในประเทศโปแลนด์ เอาช์วิตซ์ยังเป็นศูนย์ทดลองทางการแพทย์ที่สำคัญของนาซี นักโทษถูกใช้เป็นสัตว์ทดลองทั้งทางแพทย์วิทยาศาสตร์ เช่น ทดลองใช้ความกดดันอากาศอัดเข้าไปในปอดของนักโทษจนปอดระเบิด

             ประมาณกันว่าในค่ายกักกันเอาช์วิตซ์ ห้องรมแก๊สสามารถบรรจุได้คราวละ 2,000 คน และมีชาวยิวเสียชีวิตที่นี่ประมาณ 3 ล้านคน ในจำนวนนี้ถูกรมแก๊ส 2.5 ล้านคน ที่เหลือเสียชีวิตด้วยความอดอยาก โรคภัย และถูกยิงทิ้งคาปากหลุมที่ตัวเองได้รับคำสั่งให้ขุด

/* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0in 5.4pt 0in 5.4pt; mso-para-margin-top:0in; mso-para-margin-right:0in; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0in; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;}

 1. นักโทษเชลยศึกสาวชาวรัสเซียวัย 18 ปีกำลังมองกล้อง ในขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้าช่วยเหลือค่ายDachau  ระหว่างปี 1933-1945 ค่ายนี้มีนักโทษกักกันกว่าสองแสนคน เสียชีวิตไป 31591 ราย ส่วนมากเสียชีวิตจากโรดระบาด ขาดอาหารและฆ่าตัวตาย

      2. ทหารเยอรมันกำลังจ่อยิงสังหารชาวยูเครนที่เป็นยิว ระหว่างการสังหารหมู่ที่ยูเครน ภาพนี้มีชื่อว่า "The last Jew in Vinnitsa"

3. ทหารเยอรมันกำลังสอบถามชาวยิว หลังจากการประท้วงที่วอร์ซอว์ในปี 1943 /  ในเดือนคุลาคม ปี 1940 เยอรมันได้เริ่มจำกัดเขตกักกันให้ชาวยิวกว่า 3 ล้านคนอยู่อย่างแออัด ชาวยิวเสียชีวิตจากการขาดอาหารและโรคร้ายต่างๆ  เขตกักกันเริ่มก่อนหน้าที่จะทยอยส่งชาวยิวบางส่วนไปยังค่ายกักกันมรณะต่อไป

4.  ภาพชายกำลังลำเลียงร่างชาวยิวที่เสียชีวิตจากเขตกักกันในวอร์ซอว์ ปี1943  ชาวยิวเสียชีวิตเนื่องจากอดอาหารตายอยู่ข้างถนน ทุกๆเช้าเวลาตี4-ตี5 จะมีคนมาเก็บร่างผู้เสียชีวิตตามถนนใส่รถเข็นไปเผาวันละ 10 กว่าราย

 

5. กลุ่มชาวยิวที่มีเด็กรวมอยู่ด้วย ถูกต้อนออกจากเขตกักกันวอร์ซอว์โดยทหารเยอรมัน ภาพนี้ใช้เป็นหลักฐานในการพิพากษาคดีอาชญากรสงครามที่นูเรมเบอร์กในปี 1945

6. หลังจากการประท้วงของชาวยิว เขตกักกันวอร์ซอว์ได้พังทลายลง ชาวยิวกว่า 56,000 คนถูกจับ ถูกยิงเสียชีวิต 7,000 ราย และที่เหลือได้ถูกส่งไปยังค่ายกักกันมรณะ

7.  ทหารเยอรมันทำการสังหารหมู่สตรีชาวยิว ที่ยูเครน ตุลาคม 1942 / ชาวยิวกว่า 700 คนในเขตกักกัน Mizocz ได้ทำการต่อสู้กับตำรวจชาวเยอรมัน เกินครึ่งสามารถหนีการกวาดต้อนไปได้ ส่วนที่ถูกจับได้ถูกนำไปที่เนินเขาและยิงให้ตาย

8. ชาวยิวถูกส่งไปยังค่ายย่อยชั่วคราว Drancy ในฝรั่งเศส ปี 1942 /  ค่ายที่พักชั่วคราวก่อนจะเข้าสู่ค่ายมรณะ ชาวยิว 13,152 คน เป็นเด็ก 4,115 คน โดนกวาดต้อนให้ออกจากบ้านของตนและกวดจับโดยตำรวจฝรั่งเศส โดยให้ไปรวมกันอยู่ที่สนามแข่งจักรยาน Vel d'Hiv และถูกส่งขึ้นรถไฟไปค่ายมรณะในเวลาต่อมา..มีผู้รอดชีวิตเพียงแค่หยิบมือที่มีโอกาสได้กลับมา

9. ภาพถ่าย แอน แฟรงค์ 1941 / แอนและครอบครัวของเธอหลบซ่อนจากการกวาดต้อนของเยอรมัน สุดท้ายเธอและครอบครัวก็ถูกจับและส่งไปยังค่ายกักกันมรณะ แอนเสียชีวิตด้วยไข้รากสาดใหญ่ในค่ายกักกันเชลยศึกนาซี เบอร์เกน-เบลเซน เธอมีอายุเพียง 15 ปี  สมุดบันทึกไดอารี่ของเธอได้ส่งผลทำให้เธอกลายเป็นสัญญลักษณ์ของชาวยิวที่โดนสังหารในสงครามโลกครั้งที่ 2

10. การคัดกรองนักโทษชาวยิวที่ถูกส่งมาใหม่ จากฮังการีและเชกโกสโลวาเกีย ที่ค่ายกักกันมรณะเอาชวิตซ์ Auschwitz-Birkenau โปแลนด์ 1944

11.  รูปถ่ายทำเนียบนักโทษในค่ายกักกันมรณะ เอาชวิตซ์ / เซสลาวา คโวกา เด็กหญิงอายุ14 ปี  / ค่ายมรณะนาซี สังหารชาวยิวไปกว่าหนึ่งล้านห้าแสนคนในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เชสลาวาเป็นคาธอลิกชาวโปแลนด์ เธอและแม่ถูกส่งไปยังค่ายมรณะเอาซวิตซ์ในเดือนธันวาคม 1942 ทั้งสองคนเสียชีวิตลงภายใน 3 เดือน  ในสารคดีสงครามปี2005 กล่าวถึงช่างภาพที่ถ่ายรูปเธอกล่าวไว้ว่า "เธอยังเด็กมากและตื่นตระหนก เธอไม่เข้าใจว่าทำไมเธอถึงมาอยู่ที่ค่ายมรณะ เธอไม่เข้าใจที่ผู้คุมหญิงชาวเยอรมันพูดกับเธอ ผู้คุมเอาไม้ฟาดลงที่หน้าของเธอ เธอร้องไห้...ก่อนที่จะถ่ายรูปหน้าเธอเต็มไปด้วยคราบน้ำตาและคราบเลือดจากปากที่แตก พูดความจริงนะ..ฉันรู้สึกเหมือนโดนตีไปด้วย แต่ฉันช่วยอะไรเธอไม่ได้เลย เพราะไม่อย่างนั้น..ฉันก็ต้องทิ้งชีวิตฉันเอง"

12.  ภาพถ่ายเหยื่อทดลองทางการแพทย์ของนาซี แผลที่เกิดจากการเผาไหม้ลึกลงไปในผิวที่เกิดจากฟอสฟอรัส หมอที่ทำการทดลองจะผสมฟอสฟอรัสกับยางทาลงบนผิวหนังแล้วจุดไฟ หลังจากลุกไหม้เป็นเวลา 20 วินาทีจึงทำการดับไฟด้วยน้ำ หลังจากนั้น 3 วัน จะทำการรักษาโดยให้ยาEchinacinเหลว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  สองอาทิตย์ถัดมาแผลจะเริ่มหาย ภาพนี้ถ่ายโดยหมอในค่ายกักกัน และภาพนี้ถูกใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีของหมอ อาชญากรสงครามในนูเรมเบอร์ก

13.  ภาพถ่ายนักโทษชายชาวยิว ในค่ายกักกันเชลยศึกนาซีที่แคมป์ Buchenwald / ถ่ายเมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรเข้าไปช่วยเหลือปลดปล่อยอิสระจากนาซีเยอรมัน

14. ทหารอเมริกันเข้าไปตรวจสอบตู้รถไฟที่เต็มไปด้วยศพผู้เสียชีวิตชาวยิวยัดไว้ในตู้รถไฟ ใกล้กับค่ายกักกันของนาซีที่แคมป์ Dachau ปี 1945

15. ชายชาวยิวจากฝรั่งเศสอดโซเนื่องจากขาดอาหาร นั่งอยู่ท่ามกลางร่างผู้เสียชีวิตที่ค่ายกักกันย่อย Mittelbau-Dora ซึ่งเป็นค่ายกักกันใช้แรงงาน ในเยอรมัน ปี 1945

16. ร่างของชาวยิวที่เสียชีวิตกองทับถมกัน ติดกับผนังห้องเผาศพที่ค่ายกักกัน Dachau ศพทั้งหมดถูกพบโดยทหารอเมริกัน หน่วยทหารราบที่7 ที่เข้ายึดค่ายจากนาซีได้เมื่อ 14 พ.ค 1945

17. ทหารอเมริกันกำลังตรวจสอบแหวนทองคำจำนวนหลายพันวง ซึ่งทหารนาซีเยอรมันยึดมาจากชาวยิวและเก็บซ่อนไว้ที่เหมืองเกลือ Heibronn ในเยอรมัน 1945

18. ทหารอเมริกัน 3 นาย มองไปยังศพชาวยิวที่ถูกยัดเข้าไปในเตาเผา ที่อาคารเผาศพในค่ายกักกัน /  ภาพนี้ถ่ายจากค่ายกักกันไม่ปรากฏชื่อในเยอรมัน หลังจากการเข้าช่วยเหลือปลดปล่อยอิสระโดยทหารอเมริกัน

 

19. กองเถ้ากระดูกกองพะเนินที่เห็นนี้จากการเผาศพเชลยศึกชาวยิวที่โดนสังหารภายใน 1 วัน  โดยมือสังหารคือทหารเยอรมันจำนวน 88 นาย จากค่ายกักกัน Buchenwald เยอรมัน 1945

20. นักโทษเชลยศึกชาวยิวยืนอยู่หลังรั้วไฟฟ้า กำลังโห่ร้องเชียร์ทหารอเมริกันที่เข้ามาช่วยเหลือปลดปล่อยให้เป็นอิสระ   นักโทษช่วยกันประดับธงหลายเชื้อชาติที่แอบทำขึ้นมา หลังจากที่ได้ยินเสียงปืนจากหน่วย 42nd Rainbow ที่มาช่วยเหลือ เพราะได้ยินเสียงปืนดังใกล้ค่ายกักกันเข้ามาทุกทีๆ

21. นายพล ดไวต์ ดี.ไอเซนฮาวร์และคณะทหาร เดินตรวจสอบค่ายกักกันเชลยศึกของนาซี Ohrdruf หลังจากที่ทำการยึดค่ายปลดปล่อยอิสระ เดือนเมษายน 1945  / เมื่อทหารอเมริกันเคลื่อนพลเข้ามาใกล้ค่ายกักกัน การ์ดเยอรมันที่ดูแลนักโทษทำการสังหารนักโทษที่มีอยู่ในค่าย

22.  นักโทษชาวยิวที่กำลังจะตาย ไม่มีแม้แต่เรี่ยวแรงที่จะลุกขึ้นนั่ง  นี่คือเหยื่อของความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นในค่ายกักกันเชลยศึกของนาซีที่ค่าย Nordhausen เยอรมัน 1945

โปรดติดตามต่อ ตอน 2

 

Credit: http://talk.mthai.com/topic/355293
24 ต.ค. 55 เวลา 20:34 3,823 2 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...