เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก discovery.com
นักวิทยาศาสตร์ 8 ชาติ รวมตัวศึกษาวิจัยทำแผนที่ 3D แผ่นน้ำแข็งของแอนตาร์กติกแอนตาร์กติกเป็นครั้งแรก เพื่อศึกษาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม เว็บไซต์เดลิเมลของอังกฤษ รายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ ได้เริ่มทำแผนที่สามมิติของภายใต้แผ่นน้ำแข็งของมหาสมุทรแอนตาร์กติก เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อน
รายงานระบุว่าว่า ทีมนักวิจัยได้ส่งเรือดำน้ำหุ่นยนต์ลงไปใต้ชั้นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาที่ขั้วโลกใต้ ระดับลึกประมาณ 20 เมตร และจะใช้คลื่นโซนาร์วัดปริมาตรและความหนาแน่นของน้ำแข็งในทะเล จากนั้นจึงนำข้อมูลมาผนวกเข้ากับข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศซึ่งระบุมาตรวัดของพื้นผิวน้ำแข็งและหิมะ
ดังนั้นจะทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแผ่นน้ำแข็ง และทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ตั้งแต่แพลงก์ตอนตัวเล็ก ๆ ไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อย่างวาฬ
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ มีข้อมูลความหนาของแผ่นน้ำแข็งในทวีปอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือ ย้อนหลังไปทศวรรษหลังปี 2493 แต่สำหรับขั้วโลกใต้แล้วยังไม่มีข้อมูล การสำรวจแบบสามมิติในขั้วโลกใต้นี้จึงถือเป็นครั้งแรก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน