ชมภาพชุด "ยานเอนเดฟเวอร์"กับเดินทางครั้งสุดท้ายสู่บ้านในลอสแองเจลิส

 

การเดินทางครั้งสุดท้ายของยานแอนเดฟเวอร์ที่ปลดระวางแล้วที่รัฐแคลิฟอร์เนียต้องประสบอุปสรรคเมื่อระหว่างเส้นทางที่เคลื่อนผ่านเต็มไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ทำให้ถึงที่หมายล่าช้ากว่ากำหนดเดิม

 

 

 

 

ยานเอนเดฟเวอร์ของสหรัฐฯ ซึ่งปลดระวางแล้ว หลังเคยพุ่งทะยานขึ้นสู่ห้วงอวกาศด้วยความเร็วกว่า 28,160 กม.ต่อ ชม. ต้องเคลื่อนตัวไปอย่างเชื่องช้า ขณะที่บรรทุกอยู่บนรถบรรทุกขนาด 160 ล้อที่ควบคุมผ่านรีโมตคอนโทรล  แล่นผ่านถนนในนครลอสแองเจลิส ด้วยความเร็วเพียง 3 กม.ต่อ ชม. กำลังเดินทางเข้าสู่ช่วงสุดท้าย เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ในศูนย์วิทยาศาสตร์แคลิฟอร์เนีย ซึ่งตลอดการเดินทางไปรับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก

 

 

 

 

ยานเอนเดฟเวอร์ เริ่มการเดินทางจากสนามบินนานาชาติลอสแองเจลิสเมื่อวันศุกร์ หลังจากเดินทางมาถึงเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน โดยใช้อุปกรณ์พิเศษที่ติดพ่วงกับเครื่องบินโบอิ้ง 747 โดยใช้เส้นทางหลวงสาย 405 และจะต้องเดินทางเป็นระยะทางราว 19 กม. เพื่อไปยังจุดหมายปลายทาง

 

 

 

 

แต่การเดินทางต้องล่าช้ากว่ากำหนดไปหลายชั่วโมง เนื่องจากระหว่างทางเต็มไปด้วยต้นไม้ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้เร็วตามที่กำหนดไว้ แม้ก่อนหน้านี้ จะมีการตัดต้นไม้ราว 400 ต้นแล้วก็ตาม

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ ต้นไม้ที่เป็นอุปสรรคส่วนใหญ่ ไม่สามารถตัดลงได้ด้วยเหตุผลบางประการ หลายต้นเป็นต้นไม่เก่าแก่ที่มีการอนุรักษ์ไว้ ขณะที่บางต้นปลูกขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงมาร์ติน ลูเธอร์ คิง  ทีมงานผู้ขนย้าย จึงต้องสรรหาวิธีการต่างๆเพื่อให้ยานผ่านไปได้ อาทิ การปรับลำตัวลงให้ต่ำกว่ากิ่งไม้ การตัดกิ่งไม้ที่ไม่สามารถหลบหลีกได้ รวมถึงการลำตัวเครื่องขึ้นเหนือต้นไม้

 

 

 

 

 

ในบางช่วงปีกของยานแทบจะเฉี่ยวชนเข้ากับตัวอาคารที่อยู่ข้างทางและต้นไม้จำนวนมากและดับไฟฟ้าในเส้นทางที่ยานเคลื่อนผ่านเพื่อเปิดทางให้ยานเอนเดฟเวอร์เดินทางผ่านไปได้อย่างปลอดภัยและเชื่อว่ายานเอนเดฟเวอร์จะถึงจุดหมายได้ราวช่วงเช้าวันอาทิตย์ ตามเวลาท้องถิ่น

 

 

 

 


กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ ขนาด 75 ตัน เป็นกระสวยอวกาศลำที่ 5 ขององค์การนาซา สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ที่ระเบิดเมื่อปี 1986  โดยใช้ปฏิบัติภารกิจกว่า 25 ครั้ง รวมเวลาอยู่ในอวกาศเป็นเวลา 280 วัน 9 ชั่วโมง 39 นาที 44 วินาที มีระยะการเดินทางรวมแล้วกว่า 123 ล้านไมล์ หรือบินรอบโลกเกือบ 4,700 รอบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...