7 ข้อต้องห้ามเพื่อพิทักษ์นาฬิกาของคุณ

 

การดูแลรักษานาฬิกามีหลายวิธีแตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของนาฬิกาแต่ละเรือน เอาเป็นว่าผมขออนุญาติป้องกันนาฬิกาของคุณล่วงหน้าพร้อมกับแนวทางการดูแลรักษานาฬิกาด้วย "7ข้อต้องห้ามเพื่อพิทักษ์นาฬิกา" ที่น่าจะครอบคลุมทั้งวิธีการป้องกันและการดูแลรักษาได้  อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมดแต่ผมว่ามีประโยชน์ไม่น้อยเลยครับ          

1  อย่าคาดหวังว่านาฬิกาทุกเรือนจะสามารถกันน้ำได้  ถึงแม้ว่านาฬิกาสปอร์ตที่คุณมีอาจระบุคุณสมบัติกันน้ำบนหน้าปัดหรือฝาหลังก็ตาม  แต่ก็ต้องดูขอบเขตความสามารถของมันด้วย  บางครั้งมันอาจช่วยได้แค่กันฝุ่น  กันเหงื่อ  หรือกันน้ำฝนได้เท่านั้น  และอาจกันน้ำได้ในต่างสถานการณ์กันด้วย เช่น  นาฬิกาที่ระบุว่ากันน้ำลึก 30 เมตร ทำได้เพียงป้องกันน้ำเข้าจากการล้างมือ  ไม่เหมาะที่จะใส่ลงว่ายน้ำ  หรือถ้าเป็นนาฬิกากันน้ำลึก 50 เมตร ใส่ว่ายน้ำได้แต่ต้องระดับตื้นๆ  ถ้าคุณชอบดำน้ำหรือเล่นกีฬาทางน้ำอื่นๆต้องใช้นาฬิกาที่กันน้ำได้ลึกตั้งแต่ 200 เมตร จึงจะสามารถรับแรงกระแทกของน้ำขณะเล่นกีฬาได้  อย่างไรก็ตามนักดำน้ำที่เข้มงวดก็ควรใช้นาฬิกาที่ออกแบบและผลิตออกมาเพื่อการดำน้ำโดยเฉพาะดีกว่า

2  อย่าใส่นาฬิกากลไกจักรกลเข้าห้องซาวน่าเป็นเวลานานๆ เพราะจะทำให้น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันต่างๆที่อยู่ภายในนาฬิกาข้นและเหนียวขึ้นส่งผลต่อการทำงานและความเที่ยงตรงของนาฬิกาในอนาคต  และถือเป็นการทารุณกรรมนาฬิกามากที่สุด คือ ใส่นาฬิกาเข้าห้องซาวน่าแล้วออกมาอาบน้ำเย็นเฉียบทันที  หรือการใส่นาฬิกาออกอาบแดด  แล้วกระโจนลงสระว่ายน้ำต่อ  จริงๆแล้ววิธีเหล่านี้มีผลดีต่อระบบร่างกายของมนุษย์ แต่เป็นหายนะสำหรับนาฬิกา เพราะกลไกนาฬิกาไม่เหมือนคน มันเกลียดการเปลี่ยนแปลงอณุหภูมิอย่างฉับพลัน เช่น จากอณุหภูมิ 80 องศาเซลเซียส(ซึ่งเป็นอุณหภูมิภายในนาฬิกาเมื่ออยู่ใต้แสงอาทิตย์) ปรับทันทีมาเย็นเฉียบที่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซสเซียส เป็นต้น

3  อย่าให้สายหนัง สายพลาสติก หรือสายยางของนาฬิกาสัมผัสกับสเปรย์กันยุง หรือครีมทากันแดด เพราะสายนาฬิกาจะเสื่อมเร็วกว่าเวลาอันควรโดยเฉพาะสายพลาสติกและสายยางชั้นดีทั้งหลายโดนเมื่อไรสีจะเปลี่ยนเป็นสีซีดจางและเปราะง่ายขึ้นหลายเท่า คลอรีนในสระว่ายน้ำก็เป็นศัตรูตัวฉกาจ ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับสายนาฬิกาได้เช่นกัน  แม้จะเป็นสายสเตนเลสสตีล ที่ควรทำความสะอาดด้วยน้ำบริสุทธิ์ทันทีที่ขึ้นจากสระครับ

4  อย่าพยายามซ่อมนาฬิกาควอตซ์หรือนาฬิกาจักรกลด้วยตัวคุณเองเลยครับ  ขนาดช่างซ่อมนาฬิกายังต้องใช้เวลาและประสบการณ์การเรียนรู้และศึกษาการซ่อมนานหลายปี  ถ้านาฬิกามีปัญหานำไปให้ผู้เชี่ยวชาญซ่อมดีกว่า  และควรส่งนาฬิกาเข้าตรวจเช็คอย่างน้อยทุก 3-4ปี แบบเดียวกับที่ดูแลรักษารถเป็นประจำนั่นแหละ  เวลาที่คุณส่งนาฬิกาไปยังศูนย์ซ่อม  ช่างอาจเปลี่ยนชิ้นส่วนที่หมดอายุและชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องเปลี่ยนให้ทำความสะอาด
และปรับอัตราการเดินของกลไก  รวมทั้งจะช่วยขัดตัวเรือนนาฬิกาให้ดูใหม่เหมือนเพิ่งแกะออกจากกล่อง  ข้อสำคัญคือ เลือกศูนย์ที่ไว้ใจได้และมีมาตราฐาน
พร้อมรับประกันให้คุณด้วยไม่เช่นนั้นคุณอาจได้อะไหล่ปลอมใส่ในนาฬิกาแทนอะไหล่ที่ไม่เสีย (แถมยังราคาดี) ได้ง่ายๆ

5  อย่าใส่นาฬิกากลไกจักรกลลงเล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่มีการกระแทกจนเกินไป เช่น ตีสควอช หวดเทนนิส ฟาดคริคเก็ต และหวดวงสวิงลูกกอล์ฟ
หรือขี่จักรยานเสือภูเขาบนพื้นถนนที่ขรุขระมากๆเป็นเวลานานๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงไว้เป็นดี เพราะศัตรูตัวฉกาจของนาฬิกาจักรกลคือการถูกแรงสั่นสะเทือนซ้ำๆ หรือถูกกระแทกอย่างแรง แม้จะมีระบบกันกระเทือนแต่นานไปก็ต้านทานไม่ไหวเหมือนกัน ถ้าชอบเล่นกีฬาที่ใช้แรง แนะนำให้ใส่นาฬิกาที่ออกแบบมาเพื่อกีฬาประเภทนั้นๆดีกว่า หรือถ้าจะให้ดีกว่านี้ ใส่นาฬิกาสปอร์ตควอซ์เลยครับ ปลอดภัยไร้กังวลและไม่เสียดายทีหลังด้วย

6  อย่าคิดว่านาฬิกากลไกจักรกลที่มีระบบปฏิทินตลอดชีพไม่จำเป็นต้องไขลาน เพราะฟังก์ชันปฏิทินที่อยู่ได้นานเป็นเดือนๆหรือเป็นปีๆ โดยไม่ต้องปรับ เพราะถ้าไม่มีพลังงานคุณก็ต้องมาเสียเวลานั่งปรับอีกนั่นแหละ อีกอย่างถึงจะเป็นปฏิทินตลอดชีพ ก็ยังต้องปรับในวันที่ 1 มีนาคม 2100  ตามกฎปีอธิกสุรทิน 400ปี ถ้านาฬิกาปฏิทินตลอดชีพของคุณเป็นนาฬิกาจักรกลและหยุดเดินไปแล้ว คุณไม่ควรปรับตั้งเวลาใหม่และไม่ต้องปรับปฏิทิน  ในช่วงระหว่างเวลา 4 ทุ่มถึงตี 2 (22.00 - 02.00) เพราะอาจทำลายระบบปฏิทินของนาฬิกาได้ และถ้าไม่ได้ใส่นาฬิกาติดข้อมือทุกวัน ลงทุนซื้อกล่องหมุนนาฬิกาที่ใช้พลังแบตเตอรี่มาช่วยไขลานนาฬิกาให้เดินอยู่ตลอดเวลาดีกว่าครับ  ศึกษาวิธีหมุนของตู้ด้วยก็แล้วกันจะได้ใช้อย่างเหมาะสมกับนาฬิการาคาแพงแต่ละรุ่นของคุณ   

7  อย่าคิดว่าสายหนังคือสายที่คงทน ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่า สายนาฬิกาที่ทำจากหนังหลากหลายมากมาย เช่น หนังจระเข้ ไม่ควรใส่ทุกวันปล่อยให้มันได้พักเพื่อการคลายตัวและคืนรูป และปล่อยให้ความชื้นที่สายหนังรับมาจากข้อมือระเหยไปให้หมดก่อนจะนำมาใส่ใหม่ และแม้ว่าสายหนังจะแปะป้าย "กันน้ำได้"  ก็ไม่ควรใส่อาบน้ำหรือใส่นอนอยู่ดี ส่วนสายโลหะหรือสายทองประเภทต่างๆ ควรได้รับการทำความสะอาดอย่างพิถีพิถันเช็ดเอาฝุ่นและคราบสกปรกออกก่อนที่ฝุ่นจะติดแน่นเกินไป  โดยเฉพาะคราบที่ฝังตัวอยู่ตามข้อต่อสาย ตัวดีนักเชียว

 

ที่มา expert-watch.com

Credit: sanook.com
12 ต.ค. 55 เวลา 11:07 1,691 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...