ความลับแห่ง น้ำตกสีเลือด แอนตาร์กติกา

 

น้ำตกสีเลือด สุดประหลาดนี้ ผุดจากรอยกะเทาะของ ธารน้ำแข็ง Taylor ที่ หุบเขาแห้งแล้ง McMurdoแห่ง แอนตาร์กติกา ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักธรณีวิทยา Griffith Taylor ใน ปี ค.ศ. 1911ในตอนนั้นสันนิษฐานกันว่า “สีแดงเลือด” น่าจะมาจากสีของสาหร่าย แต่ภายหลังได้ข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่า น้ำตกสีเลือด แห่งนี้ เกิดจากทะเลสาบน้ำเค็มใต้ดินซึ่งอุดมด้วยธาตุเหล็ก ถูกเก็บกักอยู่ในธารน้ำแข็ง ราว 1.5 ล้านปีที่แล้ว แม้อุณหภูมิจะติดลบ 5 องศา แต่ด้วยความเค็มจัด จึงทำให้ทะเลสาบไม่จับตัวเป็นน้ำแข็ง

อย่างไรก็ตาม น้ำตกสีเลือด ยังแฝงไว้อีกหนึ่งความลับ ซึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์จากมหาวิยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เผยว่า อีกหนึ่งสาเหตุแห่งสีเลือดนั้น เกิดจาก ระบบนิเวศน์ของแบคทีเรีย ที่ถูกกักขังไว้นับล้านปี จนวงจรชีวิตถูกทำลายอย่างรุนแรง

ประมาณ 2 ล้านปีที่แล้ว ธารน้ำแข็งเทย์เลอร์ เป็นเพียงธารน้ำเล็กๆ ให้จุลินทรีย์อยู่อาศัย และถูกกักอยู่ใต้ชั้นน้ำแข็งตั้งแต่นั้นมา โดยปราศจากออกซิเจน แสงส่องถึง และพลังงานความร้อนใดๆ จึงเป็นเหตุให้จุลินทรีย์ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และจำต้องใช้ชีวิตร่วมกับแร่ธาตุที่ถูกขังอยู่ในทะเลสาบ จนเกิดเป็นวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่หลงเหลืออยู่

 ความลับอันน่าหลงใหลของ น้ำตกสีเลือด ยังคงตรึงอยู่ในทะเลสาบภายใต้ธารน้ำแข็งบางชั้นที่ไม่สามารถเข้าถึง ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงความสามารถในการปรับสภาพของแต่ละช่วงชีวิต ซึ่งนำไปสู่การประเมินความเป็นไปได้ของวงจรชีวิตในระบบสุริยะจักรวาล อย่าง ดาวอังคาร หรือ ยูโรปา ซึ่งคือ ดวงจันทร์น้ำแข็ง ของดาวพฤหัส แท้จริงแล้ว นักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซ่าคาดการณ์ว่า โลกเหล่านี้จะมีสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำอยู่ใต้ชั้นธารน้ำแข็ง ซึ่งเป็นที่ปรารถนาของรูปแบบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เพราะจะได้รับการปกป้องหลายชั้นจาก รังสีอัลตราไวโอเลต และ รังสีคอสมิก ได้ดีกว่าการอาศัยอยู่บนพื้นดิน

ไม่ว่าจะสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ล้วนมีความแข็งแกร่งอยู่ในตัวเสมอ เห็นได้จาก ส่วนที่เหลืออยู่ของระบบนิเวศน์แห่ง น้ำตกสีเลือด บ่งบอกว่า ชีวิตหนึ่งสามารถดำรงอยู่รอดแม้ในสภาวะการณ์ที่ร้ายแรงบนผืนโลก

 

 

ที่มา : MThai

Credit: http://www.itplaza.co.th/update_details.php?type_id=7&news_id=21755&page=1
11 ต.ค. 55 เวลา 11:11 6,605 2 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...