ชำแหละเทคนิค (ฝรั่ง) 'กระสอบทราย' อุดท่อ 'กั้นน้ำท่วม' ได้ทุกกรณีจริงหรือ....?

 

กลาย เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันกรณีพรรคเพื่อไทยลงพื้นที่แฉว่าพบถุงทรายจำนวนหนึ่ง ในท่อระบายน้ำบนพื้นที่ต่ำถนนศรีนครินทร์เป็นผลให้เกิดน้ำท่วมขังบนถนนศรี นครินทร์อยู่ในขณะนี้ ต่อมาทางผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จึงออกมาชี้แจงว่าเป็นเทคนิคกันน้ำท่วมที่ต่างประเทศทำกัน

หาก ตัดประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองออกไป ประเด็นที่น่าสนใจและสร้างความสับสนให้กับประชาชนมากมายก็คือ การเอากระสอบทรายอุดในท่อระบายน้ำพื้นที่ที่ต่ำนั้นเป็นเทคนิคจากต่างประเทศ ที่สามารถกั้นน้ำท่วมได้ทุกกรณีจริงหรือ…?  

รศ.ดร.เอกรินทร์ อนุกูลยุทธธน นายกสมาคมนักผังเมืองไทย กล่าวถึงกรณีนี้ผ่านไทยรัฐออนไลน์ว่า วิธีนี้สามารถกั้นน้ำท่วมจากพื้นที่ต่ำได้จริง แต่เป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า ไม่ใช่ป้องกั้นน้ำท่วมได้ทุกกรณี


“กรณี มันอยู่ตรงนี้ว่าการใช้กระสอบทรายอุดท่อนั้นต้องดูสภาพก่อนว่าเป็นพื้นที่ ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลหรือเปล่า เพราะถ้าต่ำจะถือเป็นจุดอ่อนที่น้ำจะไหลทะลักย้อนกลับเข้ามาในเมืองได้ กรณีน้ำด้านนอกเยอะ ซึ่งหลายพื้นที่ของเราต่ำกว่าระดับน้ำทะเลแล้วยังไม่ทำกำแพงคอนกรีตกั้นน้ำ เอาไว้ เนื่องจากเมืองเราเป็นระบบเก่า บางจุดที่พื้นที่ต่ำต้องแก้ไขด้วยวิธีนี้ อย่างไรก็ดี วิธีนี้ถือเป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า เพราะหากน้ำด้านนอกน้อยแล้วน้ำพื้นผิวหรือน้ำฝนมีจำนวน หากยังไม่เอากระสอบทรายออก หรือใช้วิธีเอาเครื่องสูบน้ำออกจะทำให้น้ำท่วม แต่หากจะแก้ไขให้ยั่งยืนเราจะต้องจัดระบบเป็นบ่อพักใหญ่แล้วก็มีจุดคันกั้น แล้วก็ดึงน้ำออกไปจากระบบรวม”


นอก จากนี้ หากจะทำกั้นน้ำท่วมในเมืองแบบยั่งยืน นายกสมาคมนักผังเมืองไทย แนะนำวิธีที่ยั่งยืนที่สุดว่า เนื่องจากเมืองเราเป็นระบบเก่าและมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างล้อมเมืองไม่ให้ น้ำไหลออก การแก้ไขต้องขุดลอกแล้วทำท่อระบายน้ำทั่วไปหมด แต่วิธีนี้ก็จะกลายเป็นวิกฤติเมืองเพราะมันต้องการขุดฝังกันตลอดแนวทาง ต้องปิดเมืองขุดกันเลยทีเดียว

 

“ถามว่าในเมืองมีพื้นที่ต่ำมาก มายไหม หากดูในแผนที่ภูมิศาสตร์ข้อมูลทางอุทกศาสตร์จะพบว่า มีพื้นที่ต่ำระดับติดลบ 30-50 มากมาย โดยเฉพาะแถวศรีนครินทร์ แถวแบริ่ง เพราะว่าเมืองเราขยายไปมากแล้วยังปิดล้อมพื้นที่แอ่งน้ำที่อยู่ตรงกลาง ทำให้น้ำไม่มีทางออก วิธีแก้อย่างที่บอกก็คือจัดระบบใหม่ด้วยการปิดเมืองขุดและวางท่อก็ช่วยกัน แก้ปัญหาได้ยั่งยืน”

ขณะ ที่ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติกล่าวว่า การใช้กระสอบทรายอุดท่อระบายน้ำในพื้นที่ต่ำเป็นเทคนิคจากต่างประเทศนั้น

“จริงๆ แล้วไม่ใช่วิธีของต่างประเทศหรอก หลักการวิธีนี้ก็คือท่อระบายน้ำทั่วไป ส่วนใหญ่เราจะระบายจากในเมืองไปนอกเมืองออกไปลงคูคลอง ถ้าน้ำในคลองมันท่วม มันก็จะกลับกันมันจะนำน้ำนอกเมืองเข้ามาในเมืองวิ่งมาตามท่อระบายน้ำ กทม.ก็คงคิดว่าบริเวณนั้นเป็นพื้นที่ต่ำที่เคยเกิดปัญหาอย่างนี้เขาก็ไปอุด ตามท่อระบายต่างๆ เอาไว้ การอุดตามท่อระบายต่างๆ พอเลยเวลาน้ำท่วมไปแล้วก็ไม่ได้เอากระสอบทรายออก หรือสูบน้ำในพื้นที่ต่ำที่มีกระสอบทรายในท่อทันแค่นั้นเอง แต่นี่มันกลายเป็นประเด็นเรื่องการเมืองผมไม่น่าจะให้ความสำคัญอะไร”

 

ผู้ เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ ย้ำไปในแนวทางเดียวกันกับผู้เชี่ยวชาญทางผังเมืองว่า ใช่ว่าเทคนิคนี้จะมีประโยชน์เสมอไป ข้อเสียก็คือถ้าไม่เอากระสอบออกในช่วงเวลาที่ฝนตกอย่างนี้น้ำมันก็ขัง เพราะเมื่อไหร่ที่น้ำนอกสูงกว่าน้ำด้านในน้ำฝนมากๆ อย่างนี้ก็จะท่วมขัง ดังนั้น ควรจะอุดตอนที่น้ำด้านนอกเยอะกว่า แต่หากน้ำด้านนอกน้อยกว่า แล้วน้ำฝนตกปริมาณมากอย่างนี้ทำให้น้ำระบายไม่ดีก็เอาถุงทรายออก หรือเอาเครื่องสูบน้ำออกไม่อย่างนั้นน้ำก็จะท่วมขังเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนตัวเรื่องนี้ไม่มีใครผิดเพียงแต่ว่ามันจะถูกในจังหวะและเวลาไหนเท่านั้น เอง

“อีก วิธีหนึ่งที่อยากจะแนะนำเวลาท่วมแล้วระบายได้เร็วในพื้นที่ต่ำๆ นอกจากกระสอบทรายอุดโดยทั่วไปแล้ว หากเราจะป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจต่ำ แนะนำให้เสริมคัดดินป้องกัน ถ้ากรณีมีพื้นที่ ถ้าไม่มีพื้นที่ส่วนใหญ่จะใช้ผนังกำแพงที่เคลื่อนที่ได้ตึกรอบล้อมตรงนั้นก็ จะช่วยได้มาก หรือถ้าจะให้ดีก็ต้องขุดและวางน้ำระบายน้ำให้ใหญ่จะช่วยได้แบบยั่งยืน” ผู้เชี่ยวชาญกล่าวในที่สุด

นอก จากทางแก้ที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญแนะนำแล้ว ทางออกที่ดีที่สุดก็คือ 2 พรรคการเมืองใหญ่ทั้งพรรคเพื่อไทย และทาง กทม.(พรรคประชาธิปปัตย์) ต้องคุยกันว่าจะป้องกันกันอย่างไรกับกระสอบทรายในท่อที่มีทั้งประโยชน์และ โทษ ไม่ใช่หาช่องป้ายสีกันไปมา ที่สุดแล้วผลกระทบก็จะตกมาที่ประชาชนตาดำๆ เหมือนอย่างเหตุการณ์อุทกภัยปี 54 เช่นเคย.

ไทยรัฐออนไลน์
Credit: http://www.itplaza.co.th/update_details.php?type_id=1&news_id=21770&page=1
10 ต.ค. 55 เวลา 14:49 2,413 3 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...