แสนยานุภาพของกองทัพกัมพูชา

 

กองทัพบกกัมพูชา

กองทัพบกกัมพูชาเป็นเหล่าทัพที่สำคัญที่สุดในจำนวน 3 เหล่าทัพ อาวุธส่วนมากของกัมพูชาจะเป็นอาวุธจากค่ายสังคมนิยมเดิมอย่างรัสเซียและจีน

กองทัพกัมพูชาประกอบด้วย กรมทหารราบ 9 กรม, กองพันยานเกราะ 3 กองพัน, กรมทหารช่าง 4 กรม, และกองพลน้อยต่อต้านการก่อการร้าย 3 กองพล มีกำลังทหาร 124,000 นาย งบประมาณกลาโหม 120 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีโดยประมาณ

อาวุธส่วนมากเป็นอาวุธในยุคสงครามเย็นที่เคยใช้ในสงครามกลางเมือง ในปัจจุบันอาวุธหลายรายการได้รับการช่วยเหลือจากจีน รัสเซีย และสหรัฐ สำหรับอาวุธหลักของกองทัพบกกัมพูชาประกอบไปด้วย

รถถัง

- รถถังหลัก T-55 จากรัสเซียจำนวนราว 100 คัน
- รถถังหลัก Type-59 จากจีนจำนวนราว 200 คัน
- รถถังเบา PT-76 จากรัสเซีย, รถถังเบา Type-62/63 จากจีนและรถถังเบา AMX-13 จากฝรั่งเศสจำนวนราว 50 คัน

รถเกราะ

- รถรบทหารราบ BMP-1 จากรัสเซียจำนวน 10 คัน
- รถเกราะสายพาน M113A1 /A3 จากสหรัฐจำนวน 20 คัน
- รถเกราะล้อยาง BTR-60 จากรัสเซียจำนวน 120คัน
- รถเกราะล้อยาง BTR-152 จากรัสเซียจำนวน 100 คัน
- รถเกราะล้อยาง OT-64 จากโปแลนด์จำนวน 26 คัน

ปืนใหญ่/ปืนต่อสู้อากาศยาน/จรวดต่อสู้อากาศยาน

กองทัพบกกัมพูชามีปืนใหญ่ทั้งจากฝั่งสหรัฐและรัสเซียประจำการหลายรายการ เช่นปืนใหญ่ขนาด 105 มม. แบบ M101, ปืนใหญ่ขนาด 155 มม. แบบ M114 จากสหรัฐ หรือปืนใหญ่สนามขนาด 130 มม. แบบ M1954 และปืนใหญ่วิถีโค้งขนาด 152 มม. แบบ M1955

สำหรับปืนต่อสู้อากาศยานนั้น กองทัพบกกัมพูชายังมีปืนจากรัสเซียและจีนเป็นกำลังหลัก ส่วนจรวดต่อสู้อากาศยานนั้นกัมพูชามีจรวด SA-3 ไว้ใช้งานครับ




Cambodian SA-3 anti-aircraft missiles





Army BTR-60 APC




OT-64

BRDM-2

T-54 MBT



M-113









กองทัพเรือกัมพูชา

กองทัพเรือกัมพูชายังมีสถานการณ์เป็นกองทัพเรือใกล้ฝั่ง (Green Navy) โดยกัมพูชามีเรือตรวจการณ์ลำน้ำชั้น Kaoh จำนวน 2 ลำ และเรือเร็วโจมตี (ปืน) อีก 2 ลำ

ในปี 2548 รัฐบาลจีนได้บริจาคเรือตรวจการณ์ขนาด 46 เมตรจำนวน 4 ลำ เรือตรวจการณ์ขนาด 20 เมตรจำนวน 3 ลำ และเรือลำเลียงสัมภาระอีก 1 ลำให้กองทัพเรือกัมพูชาเพื่อช่วยเหลือในการป้องกันการกระทำผิดกฏหมายทางทะเล และลาดตระเวนปราบโจรสลัด

ทั้งนี้หลังจากการค้นพบแหล่งน้ำมันของกัมพูชาในบริเวณอ่าวไทย ทำให้เชื่อได้ว่ากองทัพเรือกัมพูชาอาจจำเป็นต้องจัดหาเรือตรวจการณ์ที่มี ขนาดใหญ่เพิ่มเติมเพื่อลาดตระเวนคุ้มกันแหล่งผลิตน้ำมันของตน







Stenka class

Turya class

กองทัพอากาศกัมพูชา

กองทัพอากาศกัมพูชามีฐานบินอยู่สองฐานคือ ฐานทัพอากาศพระตะบองและฐานทัพอากาศพนมเปญ แต่มีเครื่องบินประจำการที่ฐานทัพอากาศพนมเปญเพียงที่เดียว

กัมพูชาเคยจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบ MiG-21 จำนวน 22 ลำจากรัสเซียในปี 2529 แต่เครื่องบินถูกสั่งกราวน์ทั้งหมดในปี 2535 เนื่องจากขาดงบประมาณ ต่อมาในปี 2539 กองทัพอากาศกัมพูชาว่าจ้างบริษัท Israel Aircraft Industry ให้ทำการปรับปรุง MiG-21 จำนวน 12 ลำ และจัดหา L-39C มือสองที่ได้รับการปรับปรุงอีก 6 ลำ โดยกองทัพอากาศกัมพูชาได้รับมอบ L-39C ทั้งหมดในปี 2540 แต่จากการที่สมเด็จฮุนเซ็นขับเจ้านโรดมรณฤทธิ์ออกจากการร่วมรัฐบาล ทำให้ธนาคารโลกและสหรัฐตัดความช่วยเหลือต่อกัมพูชา ซึ่งส่งผลกระทบกับโครงการปรับปรุง MiG-21 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้อิสราเอลส่งมอบ MiG-21 คืนให้กับพูชา 2 ลำ ปัจจุบันเราไม่ทราบสถานะของเครื่องบินทั้ง 2 ลำนี้ แต่คาดว่าไม่สามารถทำการบินได้เนื่องจากขาดงบประมาณและขาดนักบินที่มีความ ชำนาญ

กองทัพอากาศกัมพูชามีอากาศยานดังต่อไปนี้

- เครื่องบินขับไล่ MiG-21 Bis และ MiG-21UM จากรัสเซียอย่างละ 1 ลำ (ทำการบินไม่ได้)
- เครื่องบินขับไล่ฝึก L-39C จากสาธารณรัฐเช็คจำนวน 6 ลำ
- เครื่องบินลำเลียง Y-12 จากจีนจำนวน 2 ลำ
- เครื่องบินลำเลียง An-24RV จากรัสเซียจำนวน 2 ลำ (รับโอนจากกัมพูชาแอร์ไลน์)
- เครื่องบินลำเลียงเบา BN-2A Islander จากอังกฤษจำนวน 2 ลำ
- เครื่องบินรับส่งบุคคลสำคัญ Falcon 20E จากฝรั่งเศสจำนวน 1 ลำ (ได้รับบริจากจากฝรั่งเศส)
- เฮลิคอปเตอร์ AS350 Ecureuil จำนวน 2 ลำ (ได้รับบริจากจากฝรั่งเศส)
- เฮลิคอปเตอร์ SA365 Dauphin จำนวน 1 ลำ (ได้รับบริจากจากฝรั่งเศส)
- เฮลิคอปเตอร์ Mi-8/Mi-17 จำนวน 6 ลำ
- เฮลิคอปเตอร์ Mi-26 จำนวน 2 ลำ











เฮลิคอปเตอร์ Mi-8/Mi-17

Credit: แสนยานุภาพของกองทัพกัมพูชา
8 ต.ค. 55 เวลา 08:27 27,619 10 130
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...