5 วิธีง่ายๆ ในการเพิ่มสัญญาณ Wi-Fi ในบ้านของคุณ

 

คงเซ็งในอารมณ์ไม่ใช่น้อยหากคุณพบว่า ไวไฟ (Wi-Fi) ในบ้านไม่เอื้ออำนวยให้การอ่านข่าวบนไอแพด (iPad) ยามเช้าไหลลื่นหมือนกาแฟที่กำลังดื่มอย่างคล่องคอในขณะนั้น บทความนี้ขอแนะนำวิธีง่ายๆ ในการที่จะปรับแต่งการใช้งานให้สัญญาณ Wi-Fi ในบ้านแรงขึ้น เพื่อการท่องเน็ตที่มีความสุขยิ่งขึ้น

 

สำหรับเทคนิคที่นำมาเล่าสู่กันฟังในบทความนี้จะมีอยู่ 5 วิธีด้วยกัน โดยหากคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ได้ลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้ เชื่อว่า คุณจะสามารถเพิ่มระยะของการครอบคลุมสัญญาณไวไฟที่ไกลกว่าเดิม และประสบการณ์ในการท่องเน็ตไร้สายทีเร็วขึ้น ว่าแล้วลองมาดูกันครับว่า มีวิธีใดบ้าง?

1. อัพเดทเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่ใช้  หากเราท์เตอร์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ของคุณ ไม่ได้ล่าสมัยจนเกินไป (ไม่เกิน 3 ปี) ระบบทั้งหมดน่าจะสนับสนุนการเชื่อมต่อด้วยมาตรฐาน Wirelee-N ซึ่งหากตรวจสอบแล้วมันเข้ากันได้ แนะนำให้ตั้งค่าของเราท์เตอร์เป็น N-mode only เพื่อให้ได้ความเร็ว และรัศมีครอบคลุมการใช้งานสูงสุด การคั้งค่าเป็น b/g/n เพื่อให้สนับสนุนการเชื่อมต่ออุปกรณ์รุ่นเก่าทีทำงานช้ากว่า หากพีซีทีใช้มาพร้อมกับการ์ดเชื่อมต่อด้วย Wireless-G แนะนำให้มารุ่นใหม่ที่เป็น Wireless-N มาใส่แทน อย่างไรก็ตาม การซื้อเราท์เตอร์ใหม่ที่ไม่สนับสนุน Wireless-N มีโอกาสที่มันจะไม่สนับสนุนการเข้ารหัสระบบรักษาความปลอดภัยล่าสุดด้วย ก่อนตั้งค่าเป็น Wireless-N แนะนำให้คุณตรวจสอบเว็บไซต์ของผู้ผลิตด้วยว่า เฟิร์มแวร์ของเราท์เตอร์ที่คุณใช้อยู่ได้รับการอัพเกรดให้ใช้ได้แล้ว หรือยัง? ลองตรวจสอบ และทำตามดูนะครับ แล้วคุณจะพบกับประสบการณ์ใหม่ในการท่องเว็บไร้สายภายในบ้านของคุณ

2. หาฮวงจุ้ยที่เราท์เตอร์สามารถให้สัญญาณได้แรงที่สุด เราท์เตอร์ไม่ได้เป็นแก็ดเจ็ตที่สวยหรูดูดี ดังนั้นผู้ใช้ส่วนใหญ่ชอบวางมันหลบๆ ซ่อนๆ ไว้ แต่มันเป็นเรื่องที่ผิดพลาดมากๆ เพราะเราท์เตอร์เป็นอุปกรณ์"ขี้ร้อน"และมันต้องการที่ทีมีอากาศถ่ายเทสะดวก ดังนั้นควรวางมันในที่เปิดโล่ง อย่างเช่น ตรงกลางบ้าน พยายามให้อยู่ห่างจากผนัง และสิ่งกีดขวาง อย่างเช่น ตู้เอกสารที่ทำจากหล็ก ไม่ควรวางเราท์เตอร์ให้เสาสัญญาณชิดติดกำแพง หรือออกไปนอกอาคาร เพราะจทำให้สูญเสียสัญญาณครึ่งหนึ่งที่ส่งออกไป แถมยังอาจจะกลายเป็นการสร้างจุดบอดของสัญญาณภายในบ้านซะด้วยซ้ำ ฮวงจุ้ยที่ดีทีสุดสำหรับการติดตั้งเราท์เตอร์คือ ที่สูงดีกว่าที่ต่ำ โดยเฉพาะบ้านสองชั้น ถ้าจะให้ง่ายหน่อยแนะนำให้คุณวางเราท์เตอร์ไว้เหนือชั้น หรือบนตู้สูง และไม่อยู่ชิดติดสิ่งกีดขวางที่อาจบล็อคสัญญาณได้

การส่งสัญญาณไวไฟก็จะคล้ายๆ กับการทำงานของสถานีวิทยุ เราท์เตอร์ไร้สายถสามารถส่งสัญญาณไปบนช่องที่แตกต่างกัน ซึ่งหากคุณและเพื่อนบ้านที่ใช้ไวไฟช่องสัญญาณเดียวกัน มันก็จะเกิดการแบ่งกันใช้เป็นธรรมดา ปัญหานี้อาจไม่เกิดขึ้นกับคุณหากเราท์เตอร์ที่ใช้มีคุณสมบัติการเปลี่ยนช่องสัญญาณโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าไม่มี การปรับแต่งเลือกช่องสัญญาณทีมีการรบกวนน้อยสุดจะช่วยให้คุณได้สัญญาณไวไฟที่แรงขึ้น ลองศึกษาคู่มือ หรือค้นหาวิธีเปลี่ยนช่องสัญญาณ (Channel) ทีมีให้เลือก 1 - 11 แชนเนล จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตเราท์เตอร์

4. ลดสัญญาณรบกวน นอกจากการอัพเดทเทคโนโลยีทีใช้ ค้นหาฮวงจุ้ยของเราท์เตอร์ที่เหมาะสม เปลี่ยนแชนเนลสัญญาณที่ไม่ไปชนกับใครแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความแรง และระยะในการส่งสัญญาณไวไฟให้กับเราท์เตอร์ของเราก็คือ การลดสัญญาณรบกวนการทำงานจากอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ความถี่ในย่าน 2.4GHz อย่างเช่น โทรศัพท์ไร้สายภายในบ้าน เครื่องส่งสัญญาณเตือนเด็กตื่น และอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ตลอดจนเตาอบไมโครเวฟ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งคลื่น 2.4GHz ที่แรงมาก จนรบกวนให้สัญญาณ Wi-Fi ของคุณสู้ไม่ได้ แนะนำให้วางเราท์เตอร์ห่างไกลจากอุปกรณ์เหล่านี้จะดีกว่า

5. ดูแลเน็ตเวิร์กให้ปลอดภัย สำหรับวิธีสุดท้ายที่จะช่วยให้สัญญาณไวไฟของคุณไม่ถูกแอบใช้โดยชาวบ้านจนอืดยืดยาดไปหมด เนื่องจากการ Home Wi-Fi จะมีการปล่อยสัญญาณออกไปนอกบ้าน หากคุณไม่ทำการตั้งค่าระบบรักษาความปลอดภัยเอาไว้ อย่างเช่น การเข้ารหัส ซึ่งเราท์เตอร์ใหม่ๆ วันนี้จะได้รับผลกระทบต่อประสิทธิภาพความเร็วน้อยมาก แต่มันย่อมดีกว่า การโดนข้างบ้านแอบบใช้สัญญาณไวไฟของคุณ ท่องเน็ต โหลดบิต ดูยูทูบ ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ แฮคเกอร์สามารถใช้เน็ตเวิร์กที่ไม้ได้รับการดูแลเรื่องความปลอดภัยขโมยข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อได้ ในที่นี้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ได้ตั้งค่าการเข้ารหัสด้วย WPA2 และใช้พาสเวิร์ดที่แข็งแรง

หวังว่า คำแนะนำง่ายๆ เหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์ และทำให้คุณผู้อ่านได้ประสบการณ์ในการใช้โฮมไวไฟทีครอบคลุม และแรงเต็มประสิทธิภาพ เพื่อการอ่านข่าวบนไอแพดจะได้คล่องคอเหมือนกับกาแฟที่กำลังดื่มนะ

Credit: http://www.arip.co.th/articles.php?id=407343&page=1
2 ต.ค. 55 เวลา 11:22 7,056 2 130
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...