ครูลิลลี่ ต้านแก้ศัพท์ 176 คำ บอกโกลาหล-เด็กสับสน

 ครูลิลลี่ ไม่เห็นด้วย ราชบัณฑิตเตรียมแก้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ 176 คำ บอกเป็นเรื่อง

 

โกลาหล และทำให้เด็กสับสน ชี้ควรสอนให้เด็กเข้าใจการออกเสียงภาษาอังกฤษ และแนะ

 

ให้อ่านอย่างถูกต้องมากกว่า

              กลายเป็นข่าวครึกโครมที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก เมื่อทางราช

 

บัณฑิตได้เตรียมเสนอแก้ไขคำศัพท์ภาษาอังกฤษจำนวน 176 คำ โดยเติม

 

วรรณยุกต์ให้ตรงกับเสียงการอ่าน อาทิ คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนเป็น ค็อมพิ้วเต้อร์,

 

เทคโนโลยี เปลี่ยนเป็น เท็คโนโลยี่, คลินิก เปลี่ยนเป็น คลิหนิก, ไนต์คลับ เปลี่ยน

 

เป็น ไน้ต์ขลับ เป็นต้น

              ล่าสุดวันนี้ (1 ตุลาคม) นายกิจมาโนจญ์ โรจนทรัพย์ หรือครู

 

ลิลลี่ ติวเตอร์วิชาภาษาไทยชื่อดัง ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยว

 

เรื่องนี้ว่า ตนไม่เห็นด้วยในการเปลี่ยนคำเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

 

ที่ทางราชบัณฑิตเตรียมเสนอแก้ เนื่องจากว่าเด็ก ๆ จะเกิดความสับสน

 

มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่าสาเหตุที่ราชบัณฑิตอยากให้เปลี่ยนนั้น เพราะเป็นคำที่เรา

 

ยืมมาจากภาษาอังกฤษ และการเขียนก็ยังออกเสียงไม่ตรงกับวรรณยุกต์ แต่ส่วนตัวตนคิด

 

ว่าไม่จำเป็นเลย เช่น คำว่า "คอมพิวเตอร์" ถึงแม้ว่าการออกเสียงจะต้องออกว่า คอม-พิ้ว-

 

เต้อ แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนคำเขียนให้เป็นคำอ่าน และคำที่ใช้เขียนกันนั้นคน

 

ยอมรับและเข้าใจกันอยู่แล้ว



              นอกจากนี้ ครูลิลลี่ ยังกล่าวต่อว่า ทุกวันนี้คำศัพท์แสลงใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเยอะ

 

มาก แทบจะทุกวันด้วยซ้ำ หากจะเปลี่ยนจริง ๆ แค่ 176 ตัว คงไม่ใช่ เพราะต้องเปลี่ยน

 

เป็นพัน ๆ คำ และเด็กนักเรียนก็จะเกิดความสับสนขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนในฐานะที่ตนเป็นครู

 

ภาษาไทย ตนคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดในการสอนเด็กก็คือการอ่านออกเสียงให้ถูกต้องมากกว่า

 

เช่น การออกเสียงแบบนี้เรียกว่าการออกเสียงแบบภาษาอังกฤษ การอ่านออกเสียงเช่นนี้

 

เรียกว่าการอ่านออกเสียงแบบภาษาไทย เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง สำหรับ

 

เรื่องการเปลี่ยนการเขียนนั้น คงจะต้องถามคนไทยทั่วประเทศ ไม่ใช่ถามคนแค่หลักร้อย

 

หลักพัน เพราะหากสมมติต่อไปอีก 50 ปี มีคณะกรรมการจากราชบัณฑิตมาเปลี่ยนให้กลับ

 

ไปใช้แบบเดิม ก็จะเกิดการสับสนโกลาหลอย่างแน่นอน


 
              ครูลิลลี่ ยังได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทางราชบัณฑิตบอกว่า ต้องการเปลี่ยนคำเขียนให้วรรณยุกต์ตรงกับการออกเสียงนั้น ตนไม่เข้าใจว่าจะไปห่วงนักเรียนชาวต่างชาติทำไม น่าจะมองคนในชาติเป็นหลักมากกว่า เพราะเวลาคนไทยไปเรียนภาษาต่างประเทศก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับภาษานั้น ๆ เช่นกัน

              ส่วนทางด้าน นายบุญส่ง อุษณรัสมี อนุกรรมการประเมินผลงานครูวิชาภาษาไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และอดีตครูเชี่ยวชาญภาษาไทย โรงเรียนสตรีวิทยา กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยเช่นกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนการเขียนใหม่ตามราชบัณฑิต เนื่องจากภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์เหมือนภาษาไทย ดังนั้นก็ไม่ควรนำการออกเสียงของไทยไปกำหนดรูปแบบบการเขียนทับศัพท์ในภาษาอังกฤษ และควรจะคงเขียนรูปแบบเดิมเอาไว้ ไม่เช่นนั้นจะดูเป็นเรื่องประหลาดจนกลายเป็นเรื่องตลก เช่น คำว่า โควตา ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าออกเสียงว่า โคว-ต้า เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเขียน ซึ่งแต่ละชาติก็ออกเสียงคำในภาษาอังกฤษไม่เหมือนกันอยู่แล้ว

              ขณะที่ นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า การเปลี่ยนคำศัพท์ครั้งนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเด็ก ๆ เพื่อให้อ่านออกเสียงได้ง่ายขึ้น และส่วนตัวคิดว่าคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากหนัก และคงไม่กระทบกับเนื้อหาหลักในตำราเรียนด้วย
 
              ด้าน นางสาววีณา อัครธรรม ผู้อำนวยการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาการเขียนทับศัพท์มักทำให้คนสับสนอยู่แล้ว ส่วนตัวการเปลี่ยนในครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องดี อาทิ คำว่า "แคลอรี" จริง ๆ อ่านออกเสียงว่า "แค-ลอ-รี่" แต่เขียนแคลอรี เด็ก ๆ ก็จะเกิดความสับสน แต่ถ้าเปลี่ยนก็น่าจะเข้าใจง่ายขึ้นกว่าเดิม

              ส่วนนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวเห็นด้วย โดยบอกว่าเป็นเรื่องที่น่าทำ เพราะจะทำให้ช่องว่างของภาษาลดลง เป็นประโยชน์แก่การสะกดคำให้ตรงตัวมากขึ้น ถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนจริง ช่วงแรกก็จะมีปัญหาในเรื่องพจนานุกรมเท่านั้น แต่หากประชาสัมพันธ์ทางด้านโซเชียลมีเดีย ตนคิดว่าจะเข้าถึงเด็ก ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะสมัยนี้การสื่อสารมีความรวดเร็วมาก ดังนั้นการเผยแพร่คำเหล่านี้ให้ใช้อย่างแพร่หลายจึงไม่ใช่เรื่องยาก และคงใช้เวลาไม่นาน

Credit: http://hilight.kapook.com/view/76727
1 ต.ค. 55 เวลา 13:58 2,508 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...