# PMS (Premenstrual Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นก่อนการมีประจำเดือน อย่างเช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน เป็นตะคริว อ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย เป็นต้น เมื่อใกล้ถึงวันนั้นของเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีอาการดังกล่าวมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้ป้องกันหรืออย่างน้อยที่ก็บรรเทาได้หาก "เลือก" หรือ "เลี่ยง" การรับประทานอาหารบางประเภทในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน เลือก แมงกานีส นักวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่าแมงกานีสช่วยให้การมีประจำเดือนดำเนินไปอย่าง ปกติ ช่วงที่มีประจำเดือนจึงควรรับประทานอาหารที่มีแมงกานีสได้แก่ ธัญพืช ถั่ว ผัก และผลไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสับปะรด ชาแม้จะเป็นอาหารที่มีแมงกานีสเช่นกัน แต่ก็มีกาเฟอีนซึ่งอาจทำให้เกิดอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวได้ แคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากที่เคยรับประทาน อยู่เป็นประจำ เช่น ตับ ปลาตัวเล็กตัวน้อย กะปิ กุ้ง ผักใบเขียวเช่นคะน้า เพราะผลวิจัยพบว่า แคลเซียมช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการมีประจำเดือน เช่น ปวดท้อง ปวดหลัง หงุดหงิด วิตกกังวล ซึมเศร้าอย่างเห็นได้ชัด คาร์โบไฮเดรต เวลาปกติผู้หญิงอาจไม่สนใจอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากนัก แต่ช่วงมีประจำเดือน คาร์โบไฮเดรตคืออาหารที่ช่วยลดผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอารมณ์ลงอย่าง ได้ผล ผลการวิจัยจากศูนย์ศึกษาวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานคาร์โบไฮเดรตในช่วงดังกล่าวช่วยลดอาการหงุดหงิด เครียด อารมณ์สีย รวมถึงอาการอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัด เพราะคาร์โบไฮเดรตช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเซอโรโทนินซึ่งทำให้อารมณ์ดี มีจิตใจแจ่มใสขึ้น ถ้ากลัวว่าการรับประทานคาร์โบไฮเดรตในช่วงเวลามีประจำเดือนจะทำให้น้ำหนัก ตัวเพิ่มขึ้นก็ควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮดรตที่มีคุณภาพ เช่น ธัญพืชหรือข้าวกล้อง เป็นต้น หลีกเลี่ยง กาเฟอีน ผลการวิจัยพบว่าผู้หญิงจีนที่ดื่มกาแฟวันละหนึ่งถ้วยครึ่งถึงสี่ถ้วย มีอาการต่างๆ ทั้งทางร่างกายและอารมณ์ก่อนการมีประจำเดือนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มเครื่อง ดื่มเหล่านี้ถึง 2 เท่า จึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนในช่วงเวลาดังกล่าวโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งคนที่ร่างกายอ่อนไหวต่อการบริโภคกาเฟอีนอยู่แล้ว # อาหารลดอาการก่อนมีประจำเดือน การมีรอบเดือนนั้นเป็นลักษณะทางธรรมชาติของผู้หญิงทุกคน สิ่งที่ไหลออก มาเป็นรอบเดือนคือ เลือดซึ่งทำหน้าที่เสมือนเบาะนุ่มๆสำหรับรองรับเด็กเมื่อมีการ ปฏิสนธิเกิดขึ้น แต่หากไม่มีการปฏิสนธิเบาะนุ่มนั้นก็จะพลัดเปลี่ยนทุกเดือน เหมือน การเปลี่ยนผ้าปูที่นอน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้องอย่างทรมานในทุกๆครั้งที่มีรอบเดือน สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการปวดท้องก็อาจปวดหัว หรือไม่ก็ปวดเมื่อยร่างกายมากกว่า ปรกติ บางรายก็รับลูกผสมคือ ปวดทั้ง 3 อย่างพร้อมกัน บางรายปวดมากถึงกับต้อง หามเข้าโรงพยาบาลเลยทีเดียว ส่วนระยะเวลาในการมีรอบเดือนของแต่ละคนก็ ต่างกัน โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงมีรอบเดือนประมาณ 5- 7 วันในแต่ละเดือนแล้วแต่ ความสมบูรณ์ของร่างกาย และจะเริ่มหมดประจำเดือนเมื่ออายุอย่างเข้า 48 ปี เรา เรียกผู้หญิงในวัยนี้ว่าวัยทอง อาการปวดท้องเป็นอาการพื้นฐานที่เกิดขึ้นสำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือน จึงเกิดยาชนิดต่างๆขึ้นเพื่อใช้ในการบรรเทาอาการปวดให้น้อยลง แต่ไม่มียาชนิด ไหนรักษาอาการปวดให้หายขาดได้ วิธืแก้ที่จะเป็นผลดีต่อร่างกายมากกว่าการกินยา ได้แก่ การรับประทานอาหารจำพวกผัก ผลจากการศึกษาวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ของ Physicians Committee for Responsible Medicine และมหาวิทยาลัย จอร์จทาวน์ ในวอชิงตัน ดี ซี พบว่าผู้หญิงที่รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ โดยที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ นม และ เนยแข็ง เป็นเวลา 2 เดือน จะมีอาการปวดท้องลดลงประมาณ 1 ถึง ครึ่งวัน อาการ บวมน้ำ และอารมณ์หงุดหงิดก็น้อยลงด้วย ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าอาหารที่มีเส้นใยสูง แคลอรี่ต่ำจะช่วยลดปริมาณฮอร์โมน เอสโตรเจน ซึ่งช่วยลดอาการฮอร์โมนแปร ปรวนในช่วงปลายของรอบวงจรประจำเดือนลง และเพราะฮอร์โมน เอสโตรเจน กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนพรอสตาแกรนดิน สารเคมีที่ทำให้มดลูกบีบรัดตัว อาหาร เหล่านี้จึงทำให้คุณปวดท้องน้อยลง เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการรับประทานผักนั้นมีประโยชน์ สำหรับผู้ที่มีอาการปวดรอบเดือนจึงไม่ควรทานยามากจนเกินไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบไม่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว เมื่อใกล้มีรอบเดือน ผู้หญิงกว่า 80% ทั่วโลกมักเกิดความไม่สบาย ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นอาการป่วยชนิดหนึ่งที่เรียกว่า PMS หรือ Premenstrual Syndrome หลายคนต้องสูญเสียสัมพันธภาพกับคนรัก บางคนตัดสินใจด้านธุรกิจผิดพลาดไปในช่วงนี้ Premenstrual Syndrome คือ อาการปวดเกร็งอย่างผิดปกติของมดลูก ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อเรียบ พบว่าการหดตัวอย่างผิดปกตินี้มีความสัมพันธ์กับปริมาณของ Calcium ที่ผิดปกติด้วย ทุกรอบเดือน ผู้หญิงในวัยที่ทางวิชาการ เรียกว่า “วัยเจริญพันธุ์” จะมีเลือดหลั่งออกมาจากช่องคลอด ภาษาอังกฤษใช้คำว่า menses คนไทยหลายคนเรียกกันติดปากว่า เมนส์ มากกว่าที่จะเรียกว่า ประจำเดือน หรือ ระดู ก่อนมีประจำเดือนสักสองสามวัน หรือหากยาวหน่อยอาจเป็นสัปดาห์ ผู้หญิงส่วนใหญ่ซึ่งอาจถึงร้อยละ 90 จะมีอาการไม่สบายทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์ ภาษาทางการแพทย์เรียกอาการกลุ่มนี้ว่า พรีเมนสทรูอัล ซินโดรม (premenstrual syndrome) หรือ พีเอ็มเอส (PMS) แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า อาการก่อนมีประจำเดือน อาการในกลุ่มนี้มีตั้งแต่อาการเบาๆ เช่น อารมณ์หงุดหงิด ขี้โมโห ปวดศีรษะ ปวดท้อง ที่เรียกกันว่าปวดท้องเมนส์ หรือปวดประจำเดือน จ นกระทั่งรุนแรงถึงระดับพยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งอาการในลักษณะหลังนี้เกิดขึ้นได้น้อยราย อาการก่อนมีประจำเดือน อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มแรก อาการป่วยทางอารมณ์ ได้แก่ หงุดหงิด ขี้โมโห เครียด คิดมาก กังวล ท้อแท้ หลงลืม บางคนอาจมีอารมณ์แปรปรวนมากกว่านี้ เช่น ซึมเศร้า เพ้อ คลุ้มคลั่ง หรืออาจทำร้ายตัวเอง กลุ่มอาการที่สอง คืออาการป่วยทางร่างกาย ได้แก่ อาการปวดหรือเจ็บตามบริเวณต่างๆ เช่น เจ็บทรวงอก ต่อมน้ำนม หรือหัวนม เรียกอาการนี้ว่าแมสทัลเจีย (mastalgia) นอกจากนี้ยังมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง บวม ท้องอืด วิงเวียนศีรษะ เป็นสิว อ่อนเพลีย กลุ่มอาการที่สาม คืออาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น หน้าท้องขยาย ร่างกายสะสมน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ผู้หญิงบางคนอาจมีน้ำหนักเพิ่มได้ถึง 1-2 กิโลกรัมในช่วงก่อนมีประจำเดือน หลังจากนั้นน้ำหนักจะลดลงได้เอง อาการไม่สบายขณะมีรอบเดือนพบได้หลากหลายกว่า 150 ชนิด แบ่งเป็น 5 กลุ่มใหญ่ รายละเอียดมีอะไรบ้าง มาลองดูกันค่ะ ***** เจ้าน้ำตา****** ลักษณะอาการ หดหู่ ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ ตัดสินใจอะไรยาก สับสนและหลงลืมบ่อย ๆ นอนไม่พอ เหนื่อยง่าย รู้สึกเหมือนไม่ได้พักผ่อน **วิธีบำบัด ** ดูแลโภชนาการให้ดี บริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำให้มากขึ้น เพราะเกลือและไขมันที่สูงจะไปเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ทำให้เกิดอาการ เช่นนี้ นอกจากนี้ควรหาเวลางีบเมื่อรู้สึกเหนื่อย ทำสมาธิหรือเล่นโยคะ บริโภคแร่ธาตุที่จำเป็นให้มากขึ้นในช่วงนี้ คือ สังกะสี (Zinc) เนื่องจากสังกะสีจะช่วยลดอาการเศร้า หดหู่ได้ ******* ขี้โมโห ******* ลักษณะอาการ หมดความอดกลั้นจนระเบิดอารมณ์บ่อย ๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อารมณ์แปรปรวนจนตามไม่ทัน วิตกกังวลกว่าปกติที่เคยเป็น หุนหัน ทำอะไรโดยไม่ยั้งคิดบ่อย ๆ รู้สึกสูญเสียโดยไม่มีสาเหตุ **วิธีบำบัด** บริโภคอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น อาการนี้เกิดขึ้นเพราะขาดน้ำตาลในเลือดทำให้หงุดหงิดง่าย การออกกำลังกาย เช่น การเดิน หรือ การปั่นจักรยาน จะช่วยให้ร่างกายปล่อยเอ็นดอร์ฟินทำให้อารมณ์ดีขึ้น รวมทั้งควรบริโภควิตามินบี 6 และอย่าลืมบอกกล่าวคนใกล้ตัวด้วย เขาจะได้พร้อมที่จะให้อภัย ****** ท้องอืด ****** ลักษณะอาการ อาจมีความรู้สึกว่าเต้านมบวมและนุ่มกว่าเดิม เหมือนเนื้อเหลวเช่นเดียวกับหน้าท้อง บางรายอาจมีอาการเต้านมคัด ตึง น้ำหนักขึ้น มือเท้าบวมจนสังเกตได้ มีอาการบวมน้ำตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หน้าท้องป่องออกมากกว่าปกติ **วิธีบำบัด *** ควรลดการบริโภคเกลือลง ออกกำลังกายให้ได้สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 20 นาที เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย อาหารที่มีโปรตีนและไฟเบอร์สูงจะช่วยให้หน้าอกกระชับขึ้น เช่นเดียวกับวิตามินบี 6 และน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสที่ช่วยแก้ปัญหาหน้าอกนุ่มเหลวได้ แต่ก่อนบริโภคน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส ต้องแน่ใจก่อนนะคะว่าคุณไม่มีก้อนเนื้อผิดปกติอยู่ภายในร่างกายเพราะน้ำมัน อีฟนิ่งพริมโรสจะกระตุ้นให้ก้อนเนื้อมีขนาดโตขึ้นได้ และหากมีอาการท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อย ควรงดการดื่มกาแฟและแอลกอฮอล์ก่อนมีรอบเดือนไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ ****** ไม่มีแรง ******* ลักษณะอาการ ไม่มีแรง ใจสั่น อารมณ์อ่อนไหวง่าย ร่างกายเจ็บปวดบ่อยโดยไม่มีสาเหตุ ขาดความกระตือรือร้นทางเพศ มีปัญหาเกี่ยวกับผิวในช่วงที่มีรอบเดือน เช่น สิว ฝ้า ปวดศีรษะ ปวดหลัง ** วิธีบำบัด ** การที่ผิวมีปัญหา ร่างกายเจ็บปวด หรือเป็นตะคริว เกิดจากการผันแปรของฮอร์โมนเพศ ดังนั้นควรงดอาหารหวานจัด แอลกอฮอล์ บุหรี่ และสารกระตุ้นทุกชนิด ควรเดินออกกำลังอย่างน้อยวันละ 30 นาที รวมทั้งบริโภควิตามินเอ เพื่อช่วยรักษาสภาพผิว หรือน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส ซึ่งมีกรดแกมมาไลโนเลอิก ที่ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนได้ แต่อย่าลืมเรื่องของเนื้องอกที่กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้นะคะ ****** หิวบ่อย ******* ลักษณะอาการ จะรับประทานมากกว่าปกติ อยากอาหารหวานจัด เช่น เค้ก หรือ ช๊อกโกแลต อาหารเค็ม เช่น พิซซ่า หรือ พวกถั่วอบเกลือ และมีอาการเวียนศีรษะบ่อย ๆ ** วิธีบำบัด ** สาเหตุของอาการหิวบ่อยเกิดจากการที่สารเซโรโทนินลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงก่อน มีรอบเดือน ทำให้ต้องการคาร์โบไฮเดรตมากกว่าปกติ เพื่อให้ร่างกายใช้ของหวานไปเพิ่มสารนี้ ควรควบคุมโภชนาการให้ถูกต้องและหากิจกรรมอื่นทำบ้าง จะได้ไม่คิดถึงแต่เรื่องกินตลอดเวลา หรือไม่ก็รับประทานเป็นผลไม้แทน บางคนอาจมีอาการปนเปกันมากกว่า 1 กลุ่ม ซึ่งไม่ถือว่าผิดปกติ และหากพบว่าตนเองมีอาการอยู่ในกลุ่มใดก็บำบัดให้ถูกต้อง จะไม่ได้ต้องทรมานกันทุก ๆ เดือน แต่อาการเหล่านี้เป็นอาการเพียงชั่วคราว หากคนรอบข้างเข้าใจ ให้กำลังใจ เชื่อว่าสาว ๆ ทุกคนคงผ่านช่วงเวลาดังกล่าวไปได้ไม่ยากเลยค่ะ หากได้ลองสอบถามแพทย์ว่าเพราะอะไรผู้หญิงจึงได้มีอาการก่อนมีประจำเดือน แพทย์หลายคนจะตอบว่าเป็นเพราะสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ โดยเชื่อกันว่ามีฮอร์โมนอยู่สองชนิดที่น่าจะเกี่ยวข้องกับอาการนี้ นั่นคือ ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (Progesterone) และ โพรแลกติน (prolactin) ก่อนมีประจำเดือน ฮอร์โมนของเพศหญิงทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีระดับสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายเช่นนี้มีผลทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด ขี้โมโห รวมทั้งอีกสารพัดอาการ หลายต่อหลายคนจึงทึกทักเอาว่าลักษณะอารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของผู้หญิง ซึ่งไม่ยุติธรรมต่อเพศหญิงนัก แต่ก็มีแพทย์อยู่บางส่วนที่ไม่เชื่อว่าอาการก่อนมีประจำเดือนเกี่ยวข้องกับ สมดุลของฮอร์โมน ทั้งนี้ก็เพราะหากทดลองฉีดฮอร์โมนกลุ่มนี้เข้าร่างกายของผู้หญิงในยามที่เธอ ไม่มีประจำเดือน จะพบว่ามีไม่กี่คนที่เกิดอาการก่อนมีประจำเดือน ดังนั้นอาการก่อนมีประจำเดือนจึงน่าจะเกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน มากกว่าที่จะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงของอาการก่อนมีประจำเดือนจึงยังไม่มีใครรู้แน่ชัด แพทย์บางส่วนเชื่อว่าอาการก่อนมีประจำเดือนเป็นอาการทางจิตเกิดขึ้นจากความ กังวลในเรื่องการมีประจำเดือนมากกว่า ผู้หญิงหลายคนห่วงเรื่องความปกติและไม่ปกติของการมีรอบเดือนค่อนข้างมาก ความกังวลนี่เองที่มีผลทำให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือนขึ้น แต่ความเห็นเช่นนี้ก็ยังไม่มีข้อยุติ