ประเด็นคือ สิทธิบัตรไม่ได้คุ้ครองแค่เรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของดี
ไซน์ด้วย ซึ่งกรณี Apple ที่ชนะ Samsung เรื่องของดีไซน์ที่ทำให้คนเข้าใจผิดก็เป็น
เหตุผลสำคัญของการชนะคดีครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม แม้ในทางเทคนิค สมาร์ทโฟนสามารถ
ตรวจจับการตบ หรือตีเบาๆ บนตัวเครื่องได้อยู่แล้ว แต่สำหรับสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์
ที่จดในสหรัฐฯ จะใช้หัวข้อว่า "การควบคุมเสียงของอุปกรณ์" โดยนำเสนอแนวคิดของ
การทำงานที่ตรงไปตรงมา กล่าวคือ เมื่อสมาร์ทโฟนได้รับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ตรวจจับ
ความเร่ง (accelerometer) มันจะนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากการตบเบาๆ ซึ่ง
หากว่าตรงกัน ระบบจะตัดสินใจปิดเสียงของลำโพงทันที
ข้อเท็จจริงก็คือ ไอเดียที่ปรากฎในสิทธิบัตรชิ้นนี้มีพื้นฐานการทำงานอยู่บนเซ็นเซอร์
accelerometer ที่พบได้ในสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่อยู่แล้ว โดยสามารถเพิ่มคุณสมบัติการ
ตบเพื่อปิดเสียงผ่านทางซอฟต์แวร์อัพเดทได้เลย ซึ่งสมาร์ทโฟน Nokia Mumia 920 ที่
ทำงานด้วย Windows Phone 8 ก็จะมีฟีเจอร์นี้ด้วย การจดสิทธิบัตรนี้ จึงนอกจากจะ
เป็นการป้องกันไอเดีย (ที่เหมือนว่ามันไม่ได้มีอะไรใหม่) แล้ว มันยังเป็นการต่อกรกับ
Google และ Apple ที่ขยันจดสิทธิบัตรไม่แพ้กัน เพราะหากใครละเมิดก็จะโดนฟ้องทันที
อย่างไรก็ตาม ในสิทธิบัตรมีการใช้คำว่า audio control module ซึ่งน่าจะหมายถึง มันไม่
ได้ใช้แค่ซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่อาจหมายถึงฮาร์ดแวร์เพิ่มเติม เพื่อให้การใช้งานในลักษณะ
ดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย