ประวัติของ มารี อองตัวเนต "กุหลาบแห่งแวร์ซาย"

ตุลาคม ค.ศ. 1793 (พ.ศ. 2336) ปิดฉากชีวิตในแวร์ซายส์ของ มารีอองตัวเนต (Marie Antoinette) ราชินีแห่งฝรั่งเศสที่ฝูงชนแสนเกลียดชัง

           มาเรีย แอนโทเนีย โจเซปปา โจฮันน่า (Maria Antonia Josepha Johanna)ประสูติเมื่อ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 (พ.ศ. 2298) ณ กรุงเวียนนา (Vienna) เป็นธิดาองค์ที่ 15 ของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1(Emperor Francis I) แห่งโรมัน ดยุคใหญ่แห่งแคว้นทัสคานี (แห่งราชสำนักลอเรนน์) กับสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทรีซา (Empress Maria Theresa)แห่งออสเตรีย มารี อองตัวเนตดำรงพระยศเป็น กษัตริย์ แห่งฮังการี และราชินีแห่งแคว้นโบฮีเมีย อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย (แห่งราชสำนักฮับสบูร์ก)

 


ภาพ  at the Palace of the Hofburg, Maria Antonia Josepha Johanna von Hapsburg-Lothringen, fifteenth child of the Holy Roman Emperor Francis I Stephen
ที่มา images.quickblogcast.com


 

           อาร์คดัชเชสมารี อองตัวเนต เติบโตขึ้นที่พระราชวังฮอฟบูร์ก (Hofburg Palace)ในกรุงเวียนนา และ ปราสาทชอนบรุนน์ พระนางใช้ชีวิตเจ้าหญิงแห่งฮังการีแบบอิสระ ถูกเลี้ยงดูมาแบบง่ายๆ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ไม่เข้มงวดดังเช่นราชนิกูลในราชสำนักฝรั่งเศส ในด้านการศึกษานั้น พระนางอ่านออกเขียนได้เมื่ออายุเกือบสิบชันษา เขียนภาษาเยอรมันได้บ้าง พูดภาษาฝรั่งเศสได้เพียงน้อยนิด แต่ยิ่งถ้าเป็นภาษาอิตาเลียนแล้วแทบจะไม่ได้เอาเสียเลย ส่วนทางด้านศิลปะ พระนางได้หัดเล่นฮาร์ปซิคอร์ด กับคีตกวีชื่อดัง คริสตอฟ วิลบัลด์ กลุค และเรียนนาฏศิลป์ฝรั่งเศสกับโนแวร์


 


ภาพ Hofburg palace
ที่มา travelpod.com


 

           เมื่อเจริญพระชนพรรษาขึ้น เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1769 (พ.ศ. 2312) มาร์กีแห่งดูร์ฟอร์ต ก็ได้มาสู่ขอพระนางเพื่ออภิเษกกับมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นหลานชายคนโตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15  แต่ทว่าการหมั้นในครั้งนั้นถูกต่อต้านจากกลุ่มคนจากฝ่ายฝรั่งเศส ถึงกับเรียกมารี อองตัวเนตว่า "ผู้หญิงออสเตรีย"


 


ภาพ Marie Antoinette at the spinet
ที่มา filipspagnoli.files.wordpress.com


 

           ภายหลังที่พระนางประกาศสละสิทธิ์ในการเป็นอาร์คดัชเชสของราชสำนักออสเตรีย ก็ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารฝรั่งเศส (พระเจ้าหลุยส์ที่ 16) ที่พระราชวังแวร์ซาย เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1770 (พ.ศ. 2313) ท่ามกลางบรรยากาศที่อึมครึมไปด้วยกระแสต่อต้าน "ผู้หญิงออสเตรีย" ผู้นี้

           ด้วยพระชันษาเพียง 16 ปี  วุฒิภาวะในความเป็นสาววัยรุ่นของพระนาง ที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมาอภิเษกเพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างฝรั่งเศส-ออสเตรีย การที่จะต้องปรับตัวจากการที่ถูกเข้มงวดในพระราชพิธี และขนบประเพณีแบบฝรั่งเศส การไม่ได้รับการยอมรับจากพสกนิกรและชนชั้นสูงในราชสำนัก รวมทั้งไม่ได้รับการเหลียวแลจากมกุฎราชกุมารเท่าใดนัก (กว่าทั้งคู่จะเริ่มมีสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาอย่างแท้จริง ก็ล่วงเข้าปี พ.ศ. 2316) และต้องยอมรับว่าแรงกดดันเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ ชีวิตซึ่งมีส่วนสำคัญที่ผลักดันให้พระนางเดินมาในเส้นทางที่กลายเป็นโศกนาตก รรมในเวลาต่อมา


 


ภาพ Marie Antoinette
ที่มา 1.bp.blogspot.com


 

           ในแวร์ซายส์พระนางใช้ชีวิต สะดวกสบาย หรูหรา แสนสิ้นเปลือง จัดงานเลี้ยงที่ฟุ้งเฟ้อบ่อยครั้ง ตั้งวงพนันกับราชนิกุลด้วยเงินเดิมพันจำนวนมหาศาล สร้างความอิจฉาริษยาให้แก่นางสนมและราชนิกูลพระองค์อื่นๆอย่างมาก


 


ภาพ Marie Antoinette, Queen of France
ที่มา johnfenzel.typepad.com


 

           แต่กับความเดียวดาย พระนางต้องพึ่งพาที่ปรึกษาเพียงจากจดหมายตอบโต้กับพระมารดา และท่านเค้าท์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโต ผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำกรุงปารีส ซึ่งจดหมายเหล่านี้เองที่กลายเป็นข้อมูลสำคัญที่จะอธิบายช่วงชีวิตของมารี อองตัวเนตภายหลังการก้าวเข้ามาสู่ราชสำนักฝรั่งเศส 

           ภายหลังจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1774 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองราชย์ และพระนางมารี อองตัวเนต ได้ทรงขึ้นเป็นราชินีแห่งฝรั่งเศส (Queen of France and Navarre ) พระนางยังคงใช้ชีวิตในแวร์ซายที่แวดล้อมไปด้วยพระสหายสนิทที่เป็นผู้ทรงศักดินาจำนวนหนึ่ง อย่างฟุ้งเฟ้อกับสิ่งบันเทิงเริงรมย์เช่นเคย นอกจากนี้ ยังกล่าวกันว่าพระนางพยายามมีอิทธิพลทางการเมืองเหนือพระมหากษัตริย์ เห็นได้จากการที่แต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีหลายคนตามพระทัย หรือไม่ก็จากคำแนะนำของพระสหายสนิท จึงไม่แปลกที่กระแสต่อต้านพระนางจะเริ่มก่อตัวขึ้น

           กลุ่มคนที่ต่อต้านพระนาง ได้ใช้วิธีโจมด้วยการแจกใบปลิวกล่าวหาว่า พระนางมีชายชู้ หรือแม้กระทั่งมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสตรีด้วยกัน ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ไม่ว่าพระนางจะพยายามทำทุกวิถีทางที่จะต่อสู้กับกลุ่มที่ต่อต้าน แต่ทว่าก็ไม่ประสบผลสำเร็จ

           ในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1778 (พ.ศ. 2321) พระนางได้มีประสูติกาลพระธิดาองค์แรก มีพระนามว่า มารี-เทเรสแห่งฝรั่งเศสและต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1781 (พ.ศ. 2324) ก็ได้ให้กำเนิดเจ้าชายหลุยส์-โจเซฟ มกุฎราชกุมาร และได้ได้ให้กำเนิดพระโอรสองค์ที่สองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1785 (พ.ศ. 2328) มีพระนามว่าเจ้าชายหลุยส์-ชาร์ล ดำรงตำแหน่งดยุคแห่นอร์มงดี แต่ทว่าการมีประสูติกาลเหล่านี้ กลับนำปัญหามาให้พระนางตามมาด้วยถูกกล่าวหาว่า โอรสธิดานั้นไม่ได้มีเชื้อสายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถึงขนาดว่ามีเสียงร่ำลือว่าจะมีการพิสูจน์สายเลือดของโอรสธิดา


 


ภาพ Queen Marie-Antoinette and Her Children
ที่มา www.mentalfloss.com 


 

           พระนางยังมีเรื่องราวให้ผู้ที่ต่อต้านกล่าวถึงมากมาย ไม่ว่าจะการถูกกล่าวหาว่า พัวพันกับคดีกีเนส เรื่องอื้อฉาวในคดีสร้อยพระศอที่แม้ว่าพระนางจะไม่มีความผิดแต่ก็เสียพระเกียรติเป็นอันมาก การใช้จ่ายจำนวนมากในยามที่บ้านเมืองแร้นเเค้น ทั้งการใช้เงินจำนวนมากปรับปรุงพระตำหนักของพระนาง รวมทั้งเสียงประชดที่พระนางหลบไปใช้ชีวิตเลียนแบบธรรมชาติอย่างไร้เดียงสาที่พระตำหนักเปอติ ทรีอานง ที่สร้างเป็นหมู่บ้านชนบท มีฟาร์มขนาดเล็กในพระราชวังแวร์ซายที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สร้างขึ้นเพื่อมอบให้กับพระนาง


 


ภาพ Louis XVI and Marie Antoinette with their Children at Versailles
October 6, 1789 by Gyula Benczur
ที่มา www.franceattraction.com 


 

           การต่อต้านทวีความรุนแรงขึ้น มีการแจกจ่ายหนังสือต่อต่านระบอบกษัตริย์  ตั้งราคาพระเศียรของมารี อองตัวเนต อีกทั้งกล่าวว่าพระนางต้องการลอบวางระเบิดรัฐสภาและต้องการส่งทหารเข้ามาในกรุงปารีส ประชาชนที่อดยากและไม่พอใจในการใช้จ่ายเงินทองที่ฟุ่มเฟือยในราสำนัก ประชาชนที่อดอยากจึงลุกฮือบุกเข้าไปในพระราชวัง และตามตามประกบระหว่างทางที่บรรดาเชื้อพระวงศ์เดินทางหนีภัยกลับกรุงปารีส พร้อมกับขู่พระนางมารี อองตัวเนต ว่า จะใช้เสาโคมในกรุงปารีสแขวนคอพระนาง


 


ภาพ Qu’ils mangent de la brioche (Let them eat cake)! Marie-Antoinette, Queen of France, when told that the poor had no bread
ที่มา filipspagnoli.files.wordpress.com


 

           ต่อมากลุ่มก่อการปฏิวัติบุกเข้าสู่ปารีส และสามารถจับกษัตริย์กับราชินีที่ได้หลบหนีไปได้ที่เมืองวาเรนน์-ออง-อาร์กอนน์ และได้นำตัวทั้งสองพระองค์กลับไปยังกรุงปารีส ในที่สุดพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ต้องยอมรับระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าทั้งสองพระองค์จะพยายามขอความช่วยเหลือจากราชวงศ์ต่างประเทศอย่างลับ ๆ ก็ไม่เป็นผล

           แต่ความวุ่นวายยังไม่สงบลงง่ายๆ ประชาชนชาวฝรั่งเศสได้ลุกขึ้นต่อต้านอำนาจรัฐอีกครั้ง ความวุ่นวายเลวร้ายถึงขนาดมีการสังหารหมู่เชื้อพระวงศ์ ประชาชนกล่าวโทษว่าพระนางมารี อองตัวเนตเป็นผู้ทำให้เมืองหลวงนองไปด้วยเลือด และเรียกพระนางว่า "นางปิศาจ" หรือไม่ก็ "มาดามผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อกฎหมาย"

           และในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1793 (พ.ศ. 2336) สภาคณะปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสได้ลงมติให้ประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 

           และในเวลาต่อมา พระนางมารี อองตัวเนตก็ได้ถูกตั้งข้อหาโดยศาลปฏิวัติว่าขายชาติกับประเทศมหาอำนาจต่างชาติ พระนางถูกไต่สวนและถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาเป็นทรราชขั้นร้ายแรงและถูกบั่นพระเศียรด้วยกิโยติน(guillotine)  เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1793 (พ.ศ. 2336)โดยปฏิเสธจะสารภาพบาปกับบาทหลวงที่คณะปฏิวัติจัดหาให้ ศพของพระนางถูกฝังในหลุมฝังศพลา มาเดอเลน บนถนนอองจู-ซังต์-ตอนอเร และถูกย้ายไปฝังไว้ที่วิหารซังต์ เดอนีส์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มกราคมค.ศ. 1815 (พ.ศ. 2358)


 


ภาพ Marie Antoinette's execution on 16 October 1793
ที่มา upload.wikimedia.org


 

และแล้ว“กุหลาบแห่งแวร์ซาย” ดอกนี้ก็ถึงคราวต้องร่วงโรย

Credit: www.vcharkarn.com และ บัวอื่น
29 ม.ค. 53 เวลา 17:37 25,516 8 1,012
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...