เนื้อหมูดำ (คูโรบูตะ)

 

 

 

 

 

เนื้อหมูดำ (คูโรบูตะ)

 

 

หมูพันธุ์ใหม่ 'ซีพีคูโรบูตะ' สายเลือดจาก 'เบิร์กเชียร์' 

 

          หลังจากบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้นำเข้าหมูสายพันธุ์หมูเบิร์กเชียร์ระดับปู่ย่าทวดมาจากสหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับประเทศไทยเมื่อ 8 ปีก่อน ล่าสุดประสบผลสำเร็จ ได้หมูพันธุ์ใหม่ "ซีพีคูโรบูตะ" หรือ "หมูดำซีพี" มีคุณสมบัติเนื้อนุ่ม ฉ่ำ เหมาะที่จะนำไปปรุงเป็นอาหารหลากหลาย ขณะนี้บุกเบิกตลาดเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์อาหารจากหมูคูโรบูตะ เพื่อสนองความต้องการของตลาดหลายรายการ

 

    ดร.สัจจา ระหว่างสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นการพัฒนาสายพันธุ์หมู จนมีหมูสายพันธุ์เป็นของตัวเองหลายสายพันธุ์ ล่าสุดได้สายพันธุ์ใหม่ "ซีพีคูโรบูตะ" ที่เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์ระหว่างพันธุ์เบิร์กเชียร์ เลือดแท้ระดับปู่ย่าทวด กับหมูของซีพีที่พัฒนามาก่อนหน้านี้หลายสายเลือด ทั้ง ซีพี21, ซีพี23, ซีพี 31 และซีพี73  โดยคู่ผสมที่ให้ผลตอบแทนเนื้อสูงสุดคือ ซีพี31

          หมูซีพีคูโรบูตะ หรือหมูดำซีพีนี้ เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะพิเศษภายนอกคือ สีของเนื้อจะมีสีที่เข้มกว่าและเนื้อจะมีลวดลายมากกว่าหมูทั่วไป เนื่องจากมีไขมันแทรกในชั้นกล้ามเนื้อมากขึ้น ส่งผลให้เนื้อมีความนุ่มกว่าเนื้อหมูปกติกว่า 30% และรสชาติของเนื้อจะมีความฉ่ำ นุ่ม เนื่องจากมีอัตราการระเหยของน้ำจากเนื้อน้อยกว่า แม้ว่าเนื้อหมูคูโรบูตะจะมีไขมันแทรกในชั้นกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ แต่ไขมันดังกล่าวเป็นไขมันดี ที่ให้พลังงานและสารอาหารแก่ร่างกาย พร้อมทั้งช่วยในการย่อยสลายคอเลสเตอรอล ทั้งยังมีวิตามินบี 1 มากกว่าเนื้อวัว 10 เท่า และวิตามินจะไม่สลายไป เมื่อโดนความร้อนจากการปรุงอาหาร 

          "หมูสายพันธุ์เบิร์กเชียร์ที่ว่านี้ ที่กลายเป็นหมูคูโรบูตะ หรือหมูดำที่นิยมเลี้ยงกันมากใน จ.คาโกชิมะ ของญี่ปุ่น ซึ่งทาง ซีพีเอฟ ได้พัฒนาสายพันธุ์มา 8 ปีแล้ว ตอนนี้เราเน้นที่การลดปริมาณไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่ต้องการบริโภคไขมันในเนื้อสัตว์ แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงเอกลักษณ์ความนุ่มของหมูคูโรบูตะอยู่” ดร.สัจจา กล่าว

          รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ บอกว่า ปัจจุบันซีพีเอฟมีกำลังการผลิตหมูดำซีพีคูโรบูตะเดือนละ 2 หมื่นตัว ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจะจำหน่ายในรูปหมูชำแหละสดจำหน่ายในราคา กก.ละ 180 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาเนื้อหมูขุน แต่ผลผลิตส่วนใหญ่จะถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารตราซีพีมากกว่า นอกจากนี้ยังเหมาะที่จะนำไปปรุงเป็นอาหารหลากหลาย อาทิ ชาบู ชาบู, เทปปันยากิและ สเต๊ก เป็นต้น

          สำหรับการเลี้ยงหมูดำซีพี เลี้ยงในฟาร์มที่มีการจัดระบบการจัดการที่ดีตามแนวทางของมาตรฐานฟาร์มที่กรมปศุสัตว์กำหนด เป็นโรงเรือนระบบระบบปิดปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสุกรในทุกช่วงอายุ นอกจากนี้ยังนำระบบควบคุมอุณหภูมิโดยใช้คอมพิวเตอร์มาใช้ด้วย เน้นที่ระบบการป้องกันโรค เพื่อให้สามารถผลิตสุกรที่สุขภาพดีและลดการใช้ยาปฏิชีวนะ 

          "เราให้ความสำคัญกับการควบคุมและการป้องกันโรคในสุกรเป็นอย่างมาก โดยมีระบบติดตามสุขภาพสุกรอย่างสม่ำเสมอเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคร้ายแรง เพราะเมื่อสุกรถูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดจากเชื้อโรค โดยเฉพาะโรค พีอาร์อาร์เอส หรือโรคทางระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ เพราะหากเกิดการระบาดขึ้นจะนำความเสียหายต่ออุตสาหกรรมสุกรเป็นอย่างมาก" ดร.สัจจา กล่าว


          ก็นับเป็นการเพิ่มทางเลือกสำหรับผู้ที่นิยมบริโภคเนื้อหมู ที่จะนำไปทำอาหารในครัวตามที่ใจชอบ

 

 

Credit: http://www.komchadluek.net/index.php
17 ก.ย. 55 เวลา 14:28 12,807 2 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...