ขายซอฟท์แวร์มือสองในยุโรปไม่ผิดกฎหมาย

 

ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปอนุญาตให้ผู้บริโภคสามารถขายซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์มือสอง

ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

บริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์ได้ออกมาต่อต้านการขายซอฟท์แวร์มือสองมาอย่างยาวนาน

เพราะมันแตกต่างจากหนังสือ, ดีวีดี, แผ่นเกมตรงที่ลูกค้าไม่ได้เป็นเจ้าของซอพท์แวร์

จริงๆ แต่เป็นเพียงผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น ซึ่งกฎข้อนี้ก็รวมอยู่ในข้อตกลงการ

ใช้ ( End User License Agreement :EULA) ข้อความยาวๆที่คนมักจะไม่อ่านกันตอน

ติดตั้งโปรแกรมนั่นแหละ

ใน EULA ส่วนใหญ่ก็จะมีการแจ้งข้อมูลเรื่องการห้ามนำซอฟท์แวร์ไปขายต่อ แต่เมื่อศาล

ออกกฎมาขัดใจกับเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้ผลิตซอฟท์แวร์อย่าง Oracle ถึงกับออกมาตำหนิว่า

“ถึงแม้ว่าใน EULA จะห้ามขายต่อซอฟท์แวร์เอาไว้ แต่เจ้าของสิทธิก็ไม่มีสิทธิที่จะต่อต้าน

การขายซอฟท์แวร์ต่อได้เลย”

 

หนึ่งในข้อแตกต่างระหว่างซอฟท์แวร์และหนังสือ, ดีวีดีหรือวิดีโอเกม นั่นก็คือการทำซ้ำ

บนฮาร์ดไดรฟ์ทำได้ง่ายมาก เพียงแค่ copy แล้ว paste เท่านั้น แต่ศาลก็ยังให้ความ

สำคัญกับเรื่องนี้โดยกำหนดว่า “ผู้บริโภคเจ้าของซอฟท์แวร์เดิมจะต้องทำตัว copy

download บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองให้ใช้งานไม่ได้ในขณะที่ทำการขาย

ซอฟท์แวร์ต่อ” คุณไม่จำเป็นต้องถ่ายโอนซอฟท์แวร์จากเครื่องของคุณไปยังผู้ซื้อรายใหม่

ตามกฎใหม่นี้เมื่อตกลงขายสิทธิกันเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ทำการซื้อซอฟท์แวร์ต่อสามารถ

ดาวน์โหลดซอฟท์แวร์จากเว็บของผู้ผลิตได้โดยตรง

 

สิ่งที่ต้องดูกันต่อไปคือผลกระทบจากกฎใหม่นี้ว่าจะเป็นอย่างไร แน่นอนว่าผู้ที่ได้รับ

ผลกระทบโดยตรงก็คือผู้ผลิตซอฟท์แวร์นั่นเอง ถึงแม้ตอนนี้มันยังไม่ส่งผลต่อซอฟท์แวร์

บนแพลตฟอร์มของมือถืออย่าง App Store ,Google Play หรือบริการอย่าง Steam แต่ใน

อนาคตก็ไม่มีหลักประกันว่าจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้นกับแพลตฟอร์มเหล่านี้เช่นกัน

ที่มา Dailygizmo

Credit: http://www.igadgety.com
#ขาย #ซอฟท์แวร์ #มือสอง
Hoyjoke
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
10 ก.ย. 55 เวลา 14:53 1,614 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...