วันที่รุ่งโรจน์ และ ร่วงโรย ของวังบูรพาภิรมย์

 

วันที่รุ่งโรจน์ และ ร่วงโรย ของวังบูรพาภิรมย์

 ถ้าเอ่ยชื่อ วังบูรพา วัยรุ่นยุคนี้อย่างเก่งก็แค่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ไม่ได้ให้ความสนใจเหมือนวัยรุ่นยุค ๕๐ กว่าปีก่อน

 ที่มีแหล่งชุมนุมอยู่แห่งเดียวคือวังบูรพา ศูนย์การค้าแห่งแรกของกรุงเทพฯ และเป็นต้นกำเนินของตำนวน "โก๋หลังวัง"

         ย้อนไปถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ ๖ วังบูรพาก็ ถูกกล่าวขานกันว่าเป็นวังที่ไม่เคยหลับ เพราะมีการจัดงานรื่นเริงสังสรรค์เป็นประจำเป็นที่ชุมนุมของบรรดาพระบรมวงศา นุวงศ์ที่ทันสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯก็เสด็จฯ มางานเต้นรำของวังบูรพาเป็นประจำ

         เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พื้นที่ของวังบูรพาเป็นวังที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับมอบหมายให้ เป็นผู้รักษาพระนครด้านตะวันออก ซึ่งหน้าวังเป็นที่ตั้งของป้อมมหาไชย อยู่ริมคูเมืองด้านนอก และมีเจ้านายประทับอยู่ที่วังแห่งนี้สืบต่อกันมาหลายพระองค์
         ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดให้ใช้พื้นที่นี้สร้างวังขึ้นใหม่ในปี ๒๔๑๘ พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ

วงศ์วรเดช พระเจ้าน้องยาเธอองค์เล็กร่วมพระราชชนนี

 

โดยมีนายโจอาคิโน กราสซี สถาปนิกชาวอิตาเลียน เป็นผู้ออกแบบตามความนิยมในยุคนั้นเป็นศิลปะแบบตะวันตก พระราชทานนามว่า "วังบูรพาภิรมย์" ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวังด้านทิศตะวันออกเช่นเดิม

   เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ทรงนิยมความสนุกสนานและทันสมัย จึงทรงจัดงานรื่นเริงสังสรรค์ที่วังบูรพาภิรมย์เป็นประจำ มีทั้งดนตรีไทยที่ทรงโปรด และงานตามสไตล์ตะวันตก 

 ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงควงคู่ พระคู่หมั้น หม่อมเจ้าวัลลภาเทวีซึ่งทรงสถาปนาเป็นพระวรกัญญาปทาน เสด็จไปร่วมงานทำบุญวันประสูติครบ ๖๐ พรรษาของ "ท่านอา" สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์ฯ ที่วังบูรพาภิรมย์ ทรงถอดฉลองพระองค์

   พื้นที่ของวังบูรพาได้กลับมาสู่ความรุ่งเรืองไม่หลับอีก ครั้งหนึ่ง เมื่อ บัณฑูรย์ องค์วิศิษฐ์ นักธุรกิจบันเทิงคนสำคัญแห่งยุค ในวัย ๓๕ ปี ผู้ซึ่งเพิ่งปลุกศาลาเฉลิมไทยที่ถูกทิ้งร้างตั้งแต่สร้างเสร็จยังไม่ทันเปิด ให้เป็นโรงละครติดลมได้สำเร็จ แต่เกิดเบื่อหน่ายกับการมีหุ้นส่วน จึงขายหุ้นทิ้ง ให้กับพิสิฐ ตันสัจจา และอยากจะทำความฝันเมื่อตอนอายุ ๒๐ ให้เป็นความจริง จะสร้างศูนย์การค้าแหล่งช็อปปิ้งที่มีโรงหนังโรงละครอยู่ในนั้นพร้อมสรรพ แม้ยังไม่เต็มตามฝันที่จะให้มีทั้งโรงแรมและสวนสนุกอยู่ด้วยก็ตาม บัณฑูรย์ได้เล็งมาที่ พื้นที่ ๑๕ ไร่ของวังบูรพาภิรมย์ที่ถูกทิ้งร้างเช่นเดียวกับศาลาเฉลิมไทย และเปิดการเจรจากับเจ้าของกองมรดกทั้ง ๗ ขอซื้อวังบูรพามาได้ในปี๒๔๙๕ ด้วยราคา ๑๒ ล้านบาท โดยมีโมเดลของศูนย์การค้าพร้อมโรงภาพยนต์ ๓ โรงที่เขาออกแบบและมานะใช้ "ไม้แท่งไอติม" มาต่อด้วยมือตัวเอง จนเป็นศูนย์การค้าทั้งศูนย์ไปโชว์ เมื่อเจรจาสำเร็จแล้ว บัณฑูรย์ จึงดึงโอสถ โกศิน เพื่อนสนิท เข้ามาเป็นผูจัดซอยพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆและขายพื้นที่สำหรับโรงภาพยนต์โรงหนึ่งให้คนอื่นไปสร้าง ซึ่งก็คือโรงภาพยนต์แกรนต์ เหลือของตัวเองไว้เพียง ๒ โรง






บัณฑูรย์ลงมือสร้าง "โรงภาพยนต์คิงส์" เป็นโรงแรก เชิญ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ คนสำคัญแห่งยุคมาเป็นประธานบริษัทคิงส์ เซ็นสัญญากับบริษัทเมโทรโกลด์วินเมเยอร์ ให้ป้อนหนังเข้าฉาย ขึ้นตราสิงโตไว้หน้าโรงพร้อมตัวอักษร "The Home of MGM Pictures" กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรรอบปฐมฤกษ์ เรื่อง "สาวน้อยร้อยชั่ง" นำแสดงโดยดาราสาวสุดฮิต เอสเธอร์ วิลเลี่ยมจากนั้นก็เชิญ พล.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ คนดังคู่กับ พล.ต.อ. เผ่า มาเป็นประธานบริษัท ควีนส์ สร้างโรงที่ ๒ ขึ้นด้านหลังโรงภาพยนต์คิงส์ ทำพิธีเปิดในวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๙๗ จุดเด่นอย่างหนึ่งของโรงภาพยนต์ควีนส์ก็คือ พนังงานขายตั๋ว เดินตั๋ว เฝ้าประตู ล้วนแล้วแต่ใช้ผู้หญิงทั้งนั้น

     ศูนย์การค้าวังบูรพานับเป็นศูนย์การค้าทันสมัยของยุคใหม่ ต่อจากย่านการค้าและความบันเทิงของยุคเก่าคือ บางลำพู ต่อมาในปี ๒๔๙๙ ห้างเซ็นทรัล ซึ่งเป็นห้างขายนิตยสาร หนังสือ และเสื้อผ้าจากต่างประเทศ ที่ปากซอยโอเรียลเต็ล ถนนเจริญกรุง ก็มาเปิดสาขาแรกเป็นห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่วังบูรพาด้วย มีสินค้ามากมายหลายประเภท โดยมากเป็นของแปลกใหม่ที่สั่งมาจากต่างประเทศ และเป็นห้างแรกที่ติดราคาสินค้าไว้ตายตัวไม่มีการต่อรองกันได้เหมือนในร้าน ค้าปลีก และยังมีร้าน "ไอสครีมบูรพา" มา เปิดที่หน้าโรงภาพยนต์คิงส์ ซึ่งในยุตนั้นไอสครีมไม่ใช่ของที่หากินได้ง่ายเหมือนในยุคนี้ และถือเป็นของใหม่ วังบูรพาจึงเป็นแหล่งชุมนุมของวัยรุ่นคนทันสมัย จนเข้าขั้นแออัดไม่มีที่จอดรถ ห้างเซ็ลทรัลจึงนำระบบใหม่มาใช้ มีลิฟท์นำรถขึ้นไปจอดชั้นบน เพราะไม่อาจสร้างทางขึ้นใหม่ได้ ปัจจุบันลิฟท์นี้ก็ยังใช้อยู่

 


ส่วนคำว่า "โก๋หลังวัง" ไม่เกี่ยวกับวังบูรพาโดยตรง แต่เป็นแก๊งวัยรุ่นกลุ่ม ปุ๊ ระเบิดขวด




ดำ เอสโซ่ เป็นต้น ตอนนั้นเรียกวัยรุ่นประเภทนี้ว่า "จิ๊กโก๋" มั่วสุมกันอยู่ที่ร้านกาแฟชื่อ "ขนส่ง" ในเวิ้งข้างศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งอยู่ด้านหลังของวังบูรพาออกไป เลยเรียกว่า "โก๋หลังวัง"ต่อมาในปี ๒๕๐๗ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เริ่มพัฒนาที่ดิน ๖๓ ไร่ของมหาวิทยาลัยด้านถนนพระราม ๑ ตรงข้ามวังสระปทุม จากถนนพญาไทไปจนจดถนนอังรีดูนังต์ ซึ่งเป็นชุมชนแออัดที่ถูกไฟไหม้ ให้เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีร้านค้ามากมายซึ่งหลายแห่งได้ย้ายหรือขยายสาขามาจากย่านอื่นรวมทั้งจากวัง บูรพาด้วย  และยังมีโรงภาพยนต์ ๓ โรงเช่นเดียวกับวังบูรพา โดยโรงภาพยนต์สยามเริ่มเปิดก่อนในปลายปี ๒๕๐๙ ตามมาด้วยโรงภาพยนต์ลิโด้ และสกาล่าในปีต่อมาตามลำดับ และยังมีโรงโบว์ลิ่งของทันสมัยในยุคนั้นย่านสยามสแควร์จึงกลายเป็นแหล่ง ชุมนุมแห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯ ทอดทิ้งให้ย่านวังบูรพา

 หลุดไปจากกงล้อของยุคสมัย

      ปัจจุบันศูนย์การค้าวังบูรพาก็ยังเปิดค้าขายอยู่ และเป็นเขตติดต่อกับแหล่งการค้าที่สำคัญทั้งสำเพ็ง สะพานหัน พาหุรัด คลองถม แต่ก็เปลี่ยนแปลงไปมากจนเกือบไม่เหลือร่องรอยอดีตที่เคยรุ่งเรื่อง โรงภาพยนต์คิงส์และโรงภาพยนต์แกรนด์ถูกทะลุให้ติดกัน เปลี่ยนเป็นห้างสรรพสินค้ามอรี่คิงส์ แต่ก็เพิ่งปิดสาขานี้ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ มานี่เอง

 ส่วนควีนส์ รื้อจอ รื้อเก้าอี้ดูหนังออก กลายเป็นที่จอดรถ ห้งเซ้ลทรัลปิดสาขาแรกไปในปี ๒๕๕๑

      มี "ไชน่าเวิร์ลด์" มาแทนแต่เข้าไปเจอแต่อินตะระเดียขายทั้งนั้น ส่วนที่ยังยืนหยัดอยู่ได้เหมือนเดิมกลับเป็นร้านขายหนังสือ ทั้งผดุงศึกษา แพร่พิทยา รวมสาร์น โอเดียนสโตร์ ยังอยู่ครบ รวมทั้ง





ภัตตาคาร ส.บ.ล. หรือสมบูรณ์ลาภ ที่เปิดมาตั้งแต่ยุครุ่งเรือง กับร้านอาหารกวางตุ้งเล็ก ๆ ขายก๋วยเตี๋ยว ราดหน้า บะหมี่เป็ดตุ๋น ตรงข้ามโรงภาพยนต์ควีนส์ ที่มีแฟนประทับใจ รสชาติอยู่ ไม่น้อย ยังคงรสเดิมจนถึงปัจจุบัน

    คลุ้มพระองค์วัลลภาฯ ซึ่งเป็นภาพใหม่ของราชสำนักสยามที่ให้เกียรติสตรีตามแบบอย่างตะวันตก เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชเสด็จทิวงคตในเดือนมิถุนายน ๒๔๗๑วังบูรพาภิรมย์ก็ร่วงโรยลง ขอเล่าเสียหน่อยว่า ในตอนก่อนวังบูรพาภิรมย์ จะเป็นวังร้างนั้น มีเด็กชายท่าทางคล่องแคล่วคนหนึ่งอยู่ในวัง ท่านหญิง ท่านชายเรียกใช้สอยกันเป็นประจำว่า "จิ๋ว ๆ"ตอนนี้คนทั่วไปรู้จักกันในนาม "พ่อใหญ่จิ๋ว"

 

Credit: โพสต์จังดอดคอม
7 ก.ย. 55 เวลา 08:52 2,890 2 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...