ชมภาพสวยทางการแพทย์รางวัล "เวลล์คัม"

 

ชมภาพสวยทางการแพทย์ “รางวัลเวลล์คัมอิมเมจ” ที่ใช้เทคนิคอันน่าทึ่ง สร้างภาพที่ให้รายละเอียดงดงาม

และสะดุดตา 
       
       ทั้งนี้ “เวลล์คัมอิมเมจส์” (Wellcome Images) คือ แหล่งรวมภาพทางการแพทย์และประวัติทางการแพทย์ขนาด

ใหญ่ของโลก และรางวัลเวลล์คัมอิมเมจส์ (Wellcome Image Awards) คือรางวัลที่มอบให้แก่ผู้ที่สร้างสรรค์ภาพได้

สะดุดตา ใช้เทคนิคดีเลิศและเป็นภาพที่ให้ข้อมูลรายละเอียดอย่างดี
       
       ต่อไปนี้คือภาพส่วนหนึ่งที่ได้รับรางวัลประจำปี 2011
 

       ภาพนี้คือตัวต่อสีทับทิมตัวเต็มวัยที่ขดตัวเป็นวงกลม ใช้แสงแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ 2 ลำบันทึกเพื่อให้เห็นสีรุ้ง

อย่างเป็นธรรมชาติบนตัว
 

       ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning electron micrograph (SEM) แสดงเกล็ดบน

ปีกผีเสื้อแสงจันทร์มาดากัสกา พันธุ์ อาร์เจมา มิทไตร (Argema mittrei) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า “ผีเสื้อดาวหาง”

(Comet moth) เนื่องจากมีหางที่ยาวมาก โดยกางออกยาวถึง 15 เซนติเมตร และปีกกางได้ถึง 20 เซนติเมตร จึง

นับเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง
 

       ภาพผึ้งในสีผิดธรรมชาติ ที่บันทึกด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ซึ่งเผยให้เห็นแผงขนที่ช่วง

ทรวงอก ปีก 2 คู่ ขา 3 คู่ อวัยวะแต่ละส่วนนั้นเป็น “เครื่องมือ” ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการเก็บและลำเลียง

ละอองเกสรดอกไม้
 

       โครโมโซมมนุษย์หลากสี ซึ่งสีสันในภาพนี้บ่งชี้ถึงความหนาแน่นของโครมาติน (chromatin) ในโครโมโซม

โดยสีแดงหมายถึงมีความหนาแน่นสูง ส่วนสีน้ำเงินมีความหนาแน่นต่ำ ทั้งนี้ การมีโครมาตินหนาแน่นต่ำแสดงถึง

ระดับการแสดงออกทางยีนสูง ส่วนความหนาแน่นสูงหมายถึงการแสดงออกทางยีนถูกข่มไว้
 

       ตัวอ่อนของปลาเคฟฟิชอายุประมาณ 5 วันหลังปฏิสนธิ โดยตัวอ่อนถูกย้อมสีด้วยแอนตีบอดีที่ต้านโปรตีนรวม

ตัวกับแคลเซียม เพื่อแสดงให้เห็นชนิดของประสาทที่แตกต่างกันและกระบวนการทำงานของระบบประสาท โดยสีที่

ย้อมคือสีเขียว และยังแสดงให้เห็นประสาทในการรับรสบริเวณรอบๆ ปากและยาวตลอดลำตัว
 

       ภาพท่อดูดบริเวณขาหน้าของด้วงดิ่ง (diving beetle) ตัวผู้ ซึ่งดำน้ำได้เยี่ยมและเป็นด้วงดิ่งน้ำจืดขนาดใหญ่

ที่สุดของอังกฤษ พวกมันมีรูปร่างเพรียวลมที่มีน้ำตาลเข้ม มีท้องและขาสีเหลือง ภาพนี้ถ่ายผ่านฟิลเตอร์กรองแสง

ซึ่งเป็นเทคนิคที่เรียกว่า “ไรน์เบิร์ก” (Rheinberg)
 

       ภาพยุงตัวผู้ในสกุล (genus) คูเล็กซ์ (Culex) ซึ่งเป็นภาพที่บันทึกจากสไลด์ตัวอย่างสำหรับส่องกล้อง

โทรทรรศน์ ที่เก็บไว้ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20
 

       ภาพแบคทีเรียหลายชนิด ที่ทำให้เกิดคราบแบคทีเรียบนผิวฟัน (plaque) ในปาก โดยตัวแบคทีเรียเหล่านี้

ขูดมาจากช่องปากคนไข้ที่มีปัญหาโรคเหงือก
 

       ภาพการแบ่งเซลล์และการแสดงออกของยีนในเซลล์พืช ตรงกลางของภาพแสดงการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็ว

ซึ่งกระตุ้นการเติบโตและแตกหน่อของต้นอ่อน

3 ก.ย. 55 เวลา 13:14 1,532 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...