เปิดตำนาน...เจ้าพ่อหอกลอง

ใน การสถาปนากรุงเทพมหานครฯ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรม จักรีวงศ์นั้น พระองค์ทรงสร้างศาลหลักเมือง ขึ้นเพื่อเป็นมหามงคล และเพื่อความยืนยงค์ ของมหานครแห่งนี้ นอกจากจะสร้างศาลหลักเมืองแล้ว พระองค์ยังทรงสร้างเทวสถานอย่าง อื่นอีก รวม5แห่ง เพื่อเป็นที่สิงสถิตย์ ขององค์เทพ เทพารักษ์ผู้ดูแลพระนคร และเทวสถาน  ทั้ง5แห่งนั้น ประกอบด้วย


1พระเสื้อเมือง


2พระทรงเมือง


3พระกาฬชัยศรี


4เจ้าพ่อเจตคุปต์


5เจ้าพ่อหอกลอง


เทพเทพารักษ์ ทั้ง5ล้วนเป็นเทพที่สักการะของคนไทยทุกชนชั้น ในอดีต หลายครั้งหลาย  หน ที่แม่ทัพ ผู้กล้าหาญ ก่อนอาสา ออกไปรบกับศัตรูของบ้านเมืองได้พากันมาประกอบพิธีบูชาเทพารักษณ์ ทั้ง5แห่งนี้ก่อนที่จะไปออกรบทุกคราโดยเฉพาะเทวสถานที่สถิตย์ ของเจ้าพ่อหอกลอง จะมีเสียงกลองดังสนั่น มิได้ขาดเลย แสดงถึงความเคารพศรัทธา ของคนไทย ที่มีต่อเจ้าพ่อหอกลอง


ทุกครั้งที่มีผู้เข้ามาในเทวสถานแห่งนี้ ก็จะทำการลั่นกลอง เพื่อเป็นการบูชาเทพารักษณ์ ที่สถิตย์อยู่นะที่นั้น เทวสถานเจ้าพ่อหอกลอง หรือที่ชาวบ้าน เรียกกันง่ายๆว่า ศาลเจ้าพ่อหอกลองนั้นพระบาทสมเด็จพระพพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างขึ้นไว้ ในบริเวณสวนเจ้าเชตุ ตัวเทวสถานเป็นสถาปัตยกรรมแบบจตุรมุข ทรงมณฑป สวยงามมาก


ภายในศาลได้ประดิษฐาน พระรูปเทพารักษ์ ประจำอยู่องค์หนึ่งเป็นรูปท่ายืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างมีพญานาครัดที่พระหัตถ์ขวาไพรล่ไปข้างหลัง หางนาครัดที่พระหัตถ์ซ้าย ประทับ ยืน อยู่บนพระแท่นแปดเหลี่ยม  นอกจากนี้ยังมีหอกลองสร้างขึ้นเป็นสามชั้น มีกลองประจำอยู่สามลูก แต่ละลูกล้วนมีนามที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้


ลูกที่หนึ่งมีนามว่าพระ ย่ำสุรสีห์


ลูกที่สอง มีนามว่าอัคคีพินาส


ลูกที่สามมีนามว่า พิฆาตไพรี


ในสมัยก่อนเมื่อมีงานราชพิธีสำคัญๆ ก็จะมีการอัญเชิญเทพเทพารักษ์ มาร่วมบูชาอยู่ด้วยเสมอ ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3ศาลเจ้าพ่อหอกลองทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา พระองค์จึงทรงแก้ไขปรบปรุงศาลเทพารักษ์ เจ้าพ่อหอกลอง เปลีายนจากมณฑปมาเป็นพระเกี้ยว


ครั้นต่อมาในรัชการที่4พระองค์ทรงมีประสงค์จะรักษาสภาพศาลนี้ให้คงอยู่ใน สภาพดั้งเดิม จึงทรงเปลี่ยนจากพระเกี้ยว มาเป็นมณฑป เช่นเดิม แต่ได้ทรงแก้ไขบางส่วนให้เป็นมณฑปแบบศาลหลักเมือง ในสมัยนั้น


ต่อมาในสมัยรัชการที่5 ได้มีการอัญเชิญเทพเทพารักษ์คุ้มบ้านคุ้มเมืองในสมัยนั้นทั้ง5องค์มาประ ดิษฐาบนรวมกันที่ศาลหลักเมือง เพื่อสะดวกต่อการราชพิธี และการดูแลรักษาด้วย  ดังนั้นศาลเจ้าพ่อหอกลองจึงได้ถูกรื้อถอนลงและได้นำที่ดินแปลงนั้นไปทำ ประโยชน์ใน  ทางราชการ เรียกว่าสวนเจ้าเชตุ 


จนกระทั่งปีพ.ศ. 2498 กรมการที่ดินได้ย้ายมาอยู่ณ สวนเจ้าเชตุนี้ โดยย้ายมาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สวนเจ้าเชตุในสมัยนั้นก็เป็นที่ตั้งของ กองพันทหารอยู่แล้วคือร.1พัน4รอ.


ในการย้ายกรมการที่ดินมาตั้งณ ที่แห่งใหม่นี้ ได้มีการพูดกันว่า สถานที่ ที่กรมการรักษาดินแดน ย้ายมาตั้งนี้ คือที่ตั้งเดิม ของศาลเทพารักษ์เจ้าพ่อหอกลอง อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธฺ์โดยเฉพาะ


ต่อมาในปีพ.ศง 2509 ท่านเจ้ากรมรัษาดินแดน พลโท ยุทธ สมบูรณ์ จึงได้มอบหมายให้   พ.ต.ฟื้น แสงรักษ์ เป็นผู้ดำเนินการในการจัดสร้างศาลเจ้าพ่อหอกลองขึ้น โดยได้สร้าง แบบจตุรมุข และมีมณฑป แบบของเดิม ส่วนองค์เจ้าพ่อหอกลองนั้น ไม่ได้อันเชิญองค์เดิม มาจากศาลหลักเมือง เพราะเกรงจะผิดพระราชประสงค์ขององค์รัชการที่5 จึงได้สร้างองค์เจ้าพ่อหอกลองขึ้นมาใหม่ โดยคณาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิวิทยาคมหลายท่าน ช่วยตรวจดูพระรูปลักษณะของเจ้าพ่อหอกลอง


พระคณาจารย์ ได้เห็นพ้องต้องกันให้สร้างพระรูปเจ้าพ่อหอกลองเป็นแบบคนโบราณนุ่งผ้ากระโถง ผ้าขาวม้าพาดไหล่ซ้าย นั่งขัดสมาธิ มือทั้งสองข้างวางบนเข่า ทั้งซ้ายและขวา องค์หล่อด้วยทองเหลือง หน้าตักกว้าง29นิ้วประทับนั่งบนแท่นแปดเหลี่ยม


นอกจากนั้นยังได้อันเชิญกลองโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากวัดสุวรรณดาราราม  อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาประดิษฐานไว้ ณ ที่นี่ด้วย กลองใบนี้มีชื่อว่ากลองหาญชาญชัยศึก ครั้นเมื่อศาลเจ้าพ่อหอกลองใหม่ได้สร้างเสร็จลง ประชาชนจากทั่วสารทิศ ก็พากันแห่เข้ามาร่วมเฉลิมฉลองงาน ฉลองที่ได้จัดขึ้นอย่างใหญ่โตมโหฬาร 


และนับตั้งแต่นั้นมา ศาลเจ้าพ่อหอกลองจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีประชาชนเคารพบูชากันมาโดยตลอด ตราบจนทุกวันนี้ สถานที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหอกลองตั้งอยู่ที่แถวคลองหลอด เริ้มต้นกันที่โรงแรมรัตนโกสินทร์  หรือโรงแรมรอยัล ข้างสนามหลวง นั่นล่ะเรื่อยไป จนเกือบถึงปากคลองตลาด แต่ยังไม่ถึงนะคะ เลยกระทรวงมหาดไทยไป ก็จะเป็นวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามเลยไปอีกช่วงเดียวก็จะถึงศาลเจ้าพ่อ หอกลอง แต่อยู่คนล่ะฝั่งกับวัดนะ ใกล้กับปากคลองตลาด แค่นิดเดียวเท่านั่น หาไม่ยากหรอก

Credit: sakchaipong
28 ส.ค. 55 เวลา 21:43 5,222 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...