วัดพระศรีอุมาเทวี หรือที่หลายๆท่านนิยมเรียกกันสั้นๆ จนติดปากว่า จนเป็นที่รู้จักกันในนามว่า วัดแขกสีลม แห่งนี้ เป็นวัดฮินดูที่เก่าแก่ที่สุด ในประเทศไทย
ตั้งอยู่บนถนนสีลม สร้างตั้งแต่ในสมัย แผ่นดินของพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่5 เมื่อก่อนถนนสีลม ยังคงเป็นไร่อ้อย ยังไม่มีความเจริญ และเป็นถนนสายธุรกิจ เหมือนเช่นทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2422 ชาวทมิฬเริ่มทยอยสู่เมืองบางกอก เพื่อตั้งรกราก หาเลี้ยงชีพ ตามที่ตนถนัด
ในระยะแรกๆนั้น ยังไม่มีการตั้งรูปเคารพ มารีอามัน หรืออีกนัยหนึ่ง คือ พระศรีอุมาเทวี ซึ่งตอนนั้น มีความเชื่อกันว่า มารีอามัน คือ เทวดาผู้บำบัดปัดเป่า และรักษาไข้ทรพิษ และเป็นเทพ ที่ชาวทมิฬ ให้ความเคารพ และนับถือ มาแต่โบราณ
ถนนสายหนึ่งซึ่งชาวทมิฬเข้ามาตั้งรกราก คือ วินมิลด์โรด Windmill Road ชาวดัชน์ ซึ่งมาจาก ประเทศเนเธอแลนด์ หรือฮอนแลนด์ มาตั้งกังหันลม ขนาดใหญ่ไว้ที่หัวมุมถนน ฉะนั้น ในภายหลัง จึงมีการเรียกถนนสายนี้ว่าสีลม
ในย่านนั้น สมัยก่อนโน้น เป็นไร่อ้อย และที่บริเวณหัวลำโพงในทุกวันนี้ มีต้นสะเดาอยู่ต้นหนึ่ง ท่ามกลางไร่อ้อย รูปเคารพของพระมหาเทวี ตั้งอยู่ตรงบริเวณนี้ มีความชุ่มเย็น และเป็นธรรมชาติ ด้วยมีลำคลองเป็นเส้นทางสัญจร
ในสมัยรัชการที่5เสด็จประพาส ต่างประเทศพระองค์เคยเสด็จไปที่ประเทศ อินเดีย เมื่อ เสด็จกลับประเทศไทย ได้รับสั่งกับชาวทารวิฑนาดูว่าทางประเทศอินเดีย ได้ฝากฝังเอาไว้ มีสิ่งใดที่จะให้พระองค์ช่วยเหลือให้บอก แก่พระองค์
ชาวอินเดีย เชื้อสายทมิฬ ไม่ได้ขอสิ่งใด นอกจากขอสร้างเทวาลัย สำหรับบูชา ตามลัทธิ ประเพณีเท่านั้น
พระองค์จึงทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้จัดสร้าง ตามที่ขอได้ เทวาลัยแห่งแรก สำหรับประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาของชาวฮินดู เชื้อสายทมิฬสร้างขึ้นที่บริเวณหัวลำโพง เป็นศาลไม้ธรรมดาๆ ต่อมาเริ่มทรุดโทรมลงตามกาลเวลา
จึงได้ย้ายไปอยู่ที่บรเวณวัดพระศรีอุมาเทวี หรือวัดแขกสีลมอยู่ มาจนถึงทุกวันนี้
วัดพระศรีอุมาเทวี ได้จดทะเบียน เป็นมูลนิธิ วัดพระศรีอุมาเทวี ตั้งแต่เมื่อวันที่8พฤษภาคม พ.ศ.2458
งานประเพณี นวราตรีนั้น เป็นประเพณีที่สืบกันมาเป็นเวลา นับร้อยปี อาจหายไปบ้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่2
มีความเชื่อว่าช่วงเวลา ของประเพณี ดูซเซร่า หรือ นวราตรี จะเป็นช่วงที่พระแม่อุมาเทวี และขบวนเทพเสด็จลงมายังโลก เพื่อประทานพรให้กับมนษย์ทั้งหลาย
โดยเฉพาะในวันสุดท้าย เรียกกันว่า วันวิชัยทัสมิ (วันแห่งชัยชนะ) ซึ่งจะเป็นวันที่ฉลองชัย ของพระแม่อุมาฯ ที่มีต่ออสูร และหมู่มารร้าย
ซึ่งงานดังกล่าว ในแต่ละท้องถิ่นก็จะมีตำนาน ที่ต่างกันออกไป วัดแขกเดิมเป็นสถานที่เฉพาะของผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูเท่านั้น
ในตอนบ่ายจะมีการเปิดโบสถ์ เพื่ออ่านรามเกียรติ์ เพื่อสรรเสริญพระเป็นเจ้า
เทศกาลที่ชาวไทย มีโอกาส เข้าร่วมด้วยคือ เทศกาลแห่เจ้าแม่วัดแขก ประมาณเดือนตุลาคม ของทุกปี
เทศกาลนวราตรี หรือเทศกาล ดุซเซร่า มีการจัดขบวนอัญเชิญเจ้าแม่อุมาฯ พระพิฆเณศ พระขันธกุมาร แห่ไปตามถนน รอบชุมชนฮินดู จากถนนสีลม ไปเดโช แล้วย้อนกลับมาที่ถนนปั้น ไปออกถนนสาธร แล้ววกกลับ ที่ถนนสุรศักดิ์ เพื่อมายังหน้าวัด ที่ถนนสีลม อีกครั้งหนึ่ง
ในปัจจุบัน วัดแขกเปิดกว้าง ต้อนรับผู้คนมากขึ้น ทำให้มีทั้งผู้มีจิตศรัทธา องค์พระศรีอุมาเทวี และองค์เทพทางฮินดู ต่างๆ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่างเข้ามาสักการะบูชาเทพ และ เยี่ยมชม สถาปัตยกรรมแบบอินเดียตอนใต้ กันอย่างมากมายล้นหลาม เลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคปุระ หรือซุ้มประตูที่ตกแต่งเป็นรูปปูนปั้น เทพเจ้า องค์ต่างๆนั้น ช่างอย่างสวยงาม แปลกตา มากทีเดียว
ท่านที่ยังไม่เคยแวะไปมาก่อนก็ลองแวะเข้าไปชมความงาม และ ไปกราบขอพรเทพที่สำคัญทางฮินดู หลายๆองค์ ที่จัดไว้ที่นั่นเพื่อความเป็นศิริมงคลในชีวิตบ้างก็ได้